นฤมิตวิวาห์ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศ

นฤมิตวิวาห์ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศ

จากกิจกรรมนฤมิตรไพรด์ ครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากผู้คนทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน นฤมิตวิวาห์ ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่ของความหลากหลายทางเพศ และก่อนที่จะเวียนไปถึงงานนฤมิตรไพรด์ในปีนี้นั้น ทางผู้จัดได้มีการจัดกิจกรรมในเดือนของความรักอย่างกิจกรรมนฤมิตวิวาห์ขึ้นมา เพื่อต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์ที่จะมาถึง โดยคาดการณ์ว่าจะมีคู่รักหลากหลายเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าพันคนทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ

นฤมิตวิวาห์ มาจากความฝัน

วาดดาว ชุมาพร ผู้ร่วมก่อตั้งและจัดงานนฤมิตวิวาห์ กล่าวว่า นฤมิตวิวาห์ เป็นภาพความฝัน ที่เราต้องการจัดงานแต่งงาน 100 คู่ 100 ความรัก ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 “นี่คือเปิดศักราชใหม่ของการจัดตั้งครอบครัว ที่มีเพศหลากหลาย เป็นการยืนยันว่าสิทธิของครอบครัวเพศหลากหลายมีความหมายและได้รับการโอบอุ้ม”

งานวิวาห์ที่ยืนยันสิทธิก่อตั้งครอบครัวและสมรสเท่าเทียม ภายใต้แนวคิด Love Liberate and Festival จะจัดขึ้น ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยและสร้างพื้นที่วัฒนธรรมสาหรับชุมชน LGBTQIA+ ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ผ่านกิจกรรม Event การเฉลิมฉลอง Festival ด้วยแฟชั่น ดนตรี ศิลปะ แบ่งเป็น 3 โซน

  • เวทีหลัก บริเวณสนามกีฬาที่จะถูกเนรมิตเป็นงานเลี้ยงเฉลิมฉลองให้กับผู้ร่วมสมรสโดยเชฟ LGBTQIA+ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ และคอนเสิร์ตที่จะขับกล่อมเรื่องราวความรักอันหลากหลาย
  • ลานพิธีวิวาห์ บริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาที่จะจัดขึ้นตามความเชื่อของผู้ร่วมสมรส เช่น พิธีทราย พิธีสาบาน พิธีสวมแหวน ร่วมกับขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่เพื่อยืนยันให้กับความรักที่มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมของผู้ร่วมสมรส
  • ลานกิจกรรม Love and Art บริเวณพื้นที่รอบสนามกีฬาที่จะถูกรังสรรค์โดยศิลปิน LGBTQIA+ ให้กลายเป็นนิทรรศการศิลปะ แกลเลอรีรูปภาพ และดนตรีกลางสวน
นฤมิตวิวาห์ มาจากความฝัน

แถลงข่าวงาน นฤมิตวิวาห์

“ทีมงานนฤมิตไพรด์เชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเปิดประตูให้สังคมเอเชียโอบรับความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการผลักดันให้ LGBTQIA+ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และมีพื้นที่เติบโตในหลากหลายอาชีพอย่างมีศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตที่ดี งานวิวาห์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพฯ สำนักงานเขตดินแดง ภาคธุรกิจ สื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

สำหรับการแถลงข่าววันนี้มี ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมในงานแถลงข่าว และมีคู่รัก LGBTQIA+ ที่เป็นคู่แรกที่กดลงทะเบียนร่วมกิจกรรมนฤมิตรวิวาห์บนเวที ได้เซอร์ไพรส์ในการขอคู่รักแต่งงาน รวมถึงมี ส.ส. จากหลากหลายพรรคการเมือง และนักกิจกรรมที่มาร่วมในงานแถลงข่าววันนี้อีกด้วย

เรื่องที่น่าสนใจไปพร้อม ๆ กับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น คือ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศที่มีได้รับการสนับสนุนมากพอรึยังจากผู้มีอำนาจ หรือเรื่องที่ใกล้ตัวมากกว่านั้นอย่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ล้วนแล้วแต่ยังเป็นเครื่องหมายคำถามว่าภาครัฐสามารถที่จะทำอะไรเพื่อซัพพอร์ตกับพื้นที่ตรงนี้ได้มากกว่านี้ไหม เพราะไม่ใช่แค่เพื่อคนหลากหลายทางเพศ แต่เพื่อทุกคนในสังคม เพราะความหลากหลายทางเพศก็ร่วมทุกคนเข้าด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งในตัวอักษร LGBTQAN+

หากดูจากสถานการณ์ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ณ ปัจจุบันแล้วยังถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะแม้จะผ่านร่างพรบ.รอบแรกเข้าไปในสภาแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสอีกมากที่จะถูกตีตกหรือดึงพรบ.คู่ชีวิตที่มีสิทธิน้อยกว่าผ่านเข้าไปแทน โดยความวิตกกังวลนี้เกิดมาจากคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญที่เคยตัดสินใจว่าการใช้คำนำหน้านายหรือนางนั้นไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

นอกเหนือจากเรื่องทางกฎหมายแล้ว การสนับสนุนจากภาครัฐต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้ในการสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ของความหลากหลาย เพราะพื้นที่ของการยอมรับความหลากหลาย เริ่มต้นจากความเข้าใจในความแตกต่างที่มนุษย์มีให้กันได้ จากปัจจุบันยังมีการพบว่าหลักสูตรการเรียนการสอนหรือหนังสือตำราเรียนบางประเภทยังมีค่านิยมที่ผิดหรือการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของภาครัฐที่จำเป็นจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องช่วยส่งเสริมให้เกิดค่านิยมที่ถูกต้องขึ้นมาแทน

เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว ภาครัฐถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดค่านิยมแบบใดเกิดขึ้นกับสังคม มีอิทธิทางอ้อมมากมายที่บ่มเพาะขึ้นจากชีวิตประจำวันของเราที่ภาครัฐเองก็มีส่วนทำให้มันเป็นไปในทางที่เข้าใจมากขึ้นหรือลดลงก็ได้ อย่างเช่น หากเรามีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสอนให้ผู้คนที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาเข้าใจถึงความแตกต่างและความหลากหลายของผู้คนในสังคม ปัญหาของการเลือกปฏิบัติจะลดลง และผู้คนในสังคมเองก็จะมีความเข้าใจกันที่มากขึ้น

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สมรสเท่าเทียม เป็นไปได้จริงแค่ไหน?

วงการบันเทิงวาย แบบฉบับมีนะ

ในปี 2023 นี้ ก็นับว่ามีกิจกรรมอีกมากมายตลอดทั้งปีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นงานเนรมิตไพรด์ครั้งที่สองที่จะเกิดขึ้น และนวราตรีเดินขบวน ผู้เขียนเองก็ได้แต่หวังว่าเราจะมีข่าวดีเกี่ยวกับกฎหมายที่สนับสนุนให้ทุกคนได้เท่าเทียมกันอย่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม รวมไปถึงกิจกรรมอีกมากมายที่ละลายอคติในใจของคนที่ไม่สามารถยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายทางเพศได้ต่อไปเรื่อย ๆ จนทั้งหมดกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” ได้นั้นเอง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า