โรคเริม ติดต่อง่ายกว่าที่คิด เรียนรู้วิธีป้องกัน และรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

เริม

เริม คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) หรือ HSV เป็นโรคเรื้อรัง บางคนเป็น เริมที่ปาก เริมที่อวัยเพศ เริมที่ตา เริมที่แขน เริมที่ขา ผู้ติดเชื้อเริมส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการของโรค และอาจมีการกำเริบกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบบ่อยมากกว่า โรคเริมพบมากในวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ​

เริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • HSV-1 : พบมากบริเวณปาก และผิวหนังเหนือสะดือ
  • HSV-2 : พบมากบริเวณอวัยวะเพศ และสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

อาการของโรคเริมเป็นอย่างไร?

เริม อาการ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก หรือเคยเป็นมาก่อน หลายคนมักเรียกว่าเริม งูสวัด ผู้ที่ติดเชื้อเริมครั้งแรกนั้นจะมีอาการ หรือไม่ก็ได้ โดยรวมแล้ว อาการเริม จะค่อนข้างคล้ายกัน หากมีอาการจะมีความรุนแรง อาทิเช่น มีตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้น ปวดแสบร้อน อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรืออาจมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

ผู้ที่ได้รับเชื้อเริมครั้งแรก และได้รับการรักษาจนดีขึ้นแล้ว เชื้อไวรัสเริมจะยังคงก่อตัวสะสมในปมเส้นประสาท หากมีปัจจัยกระตุ้นเชื้อเริมจะเคลื่อนตัวตามเส้นประสาทไปจนถึงปลายประสาททำให้เกิดโรคเริมกำเริบขึ้นอีกได้ โดยจะมีอาการน้อยกว่าครั้งแรก คือ มีตุ่มน้ำขนาดเล็กกว่า จำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่า อาจมีอาการคัน และแสบร้อนบริเวณที่จะเป็นก่อน แล้วจึงเกิดกลุ่มตุ่มน้ำขึ้นในตำแหน่งเดิมจากครั้งก่อน หรือบริเวณใกล้เคียง

เริม เกิดจากอะไร

เริมเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเริม หรือ HSV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดตุ่มน้ำบริเวณผิวหนังทั่วไป ช่องปาก อวัยวะเพศ รวมถึงบริเวณเยื่อเมือกต่างๆ คล้ายกับโรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด

โดยโรคเริมสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ที่มีเชื้อไวรัสเริม แล้วนำมาสัมผัสบริเวณที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย เช่น ผิวหนัง ปาก ตา และบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงส่วนบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น รอยบาดแผล บริเวณผื่นที่ผิวหนัง ก็สามารถรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคเริม

  • แพทย์วินิจฉัยโรคจากการซักประวัติอาการ อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่า เริม เกิดจาก อะไร และดำเนินการตรวจลักษณะตุ่มน้ำ
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการเริมที่ชัดเจน แพทย์อาจวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การขูดผิวหนังบริเวณแผลเพื่อตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์ การตรวจเลือด การเพาะเชื้อ การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน
  • หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคเริม เริม ที่แขน เริมที่ตา เริมที่จมูก แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อควบคุมเชื้อไวรัส และบรรเทาอาการต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเริม

โดยส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเริม มักเกิดจากการไม่ดูแลทำความสะอาดบริเวณแผลเริมอย่างถูกวิธี จึงทำให้บริเวณแผลเกิดการติดเชื้อ และการอักเสบได้ง่าย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเริมที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • ตุ่มน้ำกลายเป็นแผลพุพอง และเป็นหนอง ที่เกิดจากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย
  • การติดเชื้อที่บริเวณดวงตาจากการติดเชื้อซ้ำ อาจทำให้กระจกตาอักเสบ และส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้
  • กรณีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังอักเสบอยู่แล้ว หากมีการติดเชื้อเริมที่ปากร่วมด้วย จะทำให้มีโอกาสสูงที่เชื้อไวรัสเริมจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้
  • เริมบริเวณอวัยวะเพศที่พบในเพศหญิง มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก
  • เริมบริเวณอวัยวะเพศ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ุอื่นๆ มากขึ้น
  • เชื้อไวรัสเริมที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ นอกเหนือจาก ปาก ผิวหนัง และอวัยวะเพศ อาทิ สมอง ไขสันหลัง
  • อาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุบริเวณทวารหนัก
  • หากไม่รับการรักษา อาจทำให้เกิด แผลเป็นเริม

ภาวะแทรกซ้อน เริม ที่พบในหญิงตั้งครรภ์

  • กรณีมารดาติดเชื้อเริมช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือ คลอดก่อนกำหนด
  • กรณีมารดาเป็นโรคเริมบริเวณปากมดลูก หรือ ช่องคลอด ในช่วงใกล้คลอด อาจทำให้ทารกติดเชื้อเริมในขณะคลอด และมีความเสี่ยงเป็นโรคเริมชนิดรุนแรงได้
  • ทารกเป็นโรคเริมตั้งแต่กำเนิด ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ตาเล็ก ศีรษะเล็ก ปอดอักเสบ ตับโต ต้อกระจก เนื้อเยื่อคอรอยด์ และจอตาอักเสบ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง หรือนิ้วมือ

ภาวะแทรกซ้อน เริม ที่พบในเด็ก

  • โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ที่อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือ Eczema herpeticum
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบในทารกแรกเกิด
  • การติดเชื้อเริมชนิดแพร่กระจาย หรือ Disseminated infection ที่สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ ปอด สมอง ระบบทางเดินอาหาร ตับ ไต ไขกระดูก เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • หลอดอาหารอักเสบ
  • ตับอักเสบ

การรักษาเริม

เริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาอาการให้ทุเลาลงได้ โดยแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัส หรือยาแก้ปวด เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเกิดอาการ และความรุนแรง โดยยาต้านไวรัสเหล่านี้จะทำงานโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ทำให้แผลเริมหายเร็วขึ้น และลดโอกาสที่เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายไปยังผู้อื่น นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวด และแสบร้อนบริเวณที่เป็นแผลเริม

ยาสำหรับรักษา เริม

ยาต้านไวรัส

มีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดทาผิวหนัง มีคุณสรรพคุณในการช่วยต้านไวรัสเริม ทำให้แผลเริมหายเร็วขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะต้องเป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น ได้แก่

  • Zovirax (acyclovir)
  • Famvir (famciclovir)
  • Abreva (docosanol)
  • Valtrex (valacyclovir)

ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดชนิดรับประทาน และชนิดเจล หรือขี้ผึ้ง มีคุณสรรพคุณช่วยบรรเทา อาการปวดที่เกิดจากเริม ซึ่งส่วนมากสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ได้แก่

ชนิดรับประทาน ชนิดชนิดที่ใช้ทา
Aspirin Benzoyl alcohol
Tylenol (acetaminophen) Benzocaine
Motrin (ibuprofen) Dibucaine
Advil Lidocaine

การดูแลรักษาโรคเริม ด้วยตัวเอง

โรคเริมสามารถบรรเทาอาการลงได้ โดยวิธีหลักๆ ได้แก่ ใช้ยาต้านไวรัส และยาแก้ปวด นอกจากนี้ การดูแลตนเองอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้อาการบรรเทาลงได้ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้มากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผลโดยตรง
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และถูกสุขลักษณะ
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารร้อน อาหารรสเผ็ด หรือเค็ม หากเป็นแผลที่ปาก

วิธีป้องกันเริม

เมื่อคุณรู้แล้วว่า เริมเกิดจากอะไร ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคเริมให้หายขาดได้ ผู้ที่ติดเชื้อเริมจึงต้องป้องกันโรคเริมโดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ รวมถึงป้องกันไม่ให้เชื้อเริมแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัย หรือสิ่งที่กระตุ้นให้สามารถเป็นเริมซ้ำ
  • กรณีเป็นเริมซ้ำมากกว่า 6 ครั้งต่อปี หรือ เป็นเริมซ้ำ และมีอาการที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  • ผู้ที่ไม่ติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • ผู้ที่มีรอยโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเริ่มมีอาการไปจนกว่าแผลเริมที่อวัยวะเพศจะหายสนิท เพราะเชื้อสามารถแพร่สู่คู่นอนได้
  • ผู้ที่มีรอยโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศที่ไม่แสดงอาการ ควรใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ระยะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น คือ ตั้งแต่เริ่มมีอาการนำจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด
  • ผู้ป่วยต้องงดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อนส้อม เครื่องสำอาง แก้ว ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ฯลฯ เพราะอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสได้ง่าย
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสเริม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการส่งผลต่อทารกในครรภ์

รักษาเริมที่ไหน

รักษา เริม กรุงเทพมหานคร ​

  • สามารถเข้าการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ของรัฐ และเอกชน
  • คลินิคเอกชน

รักษา เริม ต่างจังหวัด

  • รักษาได้ที่โรงพยาบาล ของรัฐ และเอกชน ฟรี

ถามตอบเกี่ยวกับเริม

1. เป็นเริม และแผลแห้งแล้ว จะมีโอกาสถ่ายทอดไปให้อีกคน หรือไม่

  • ตอบ หากแผลแห้งสนิดแล้ว โอกาสการถ่ายทอดเชื้อก็จะลดลง แต่อย่างไรก็ตามควรจะลดการลดการสัมผัสแผลโดยตรงในช่วงนี้

2. พบว่าตัวเองเป็นเริมบ่อยมาก มีอาการแสบ ควรมีการรักษาอย่างไร

  • ตอบ แสดงว่าร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง แนะนำลดปัจจัยการกระตุ้นต่างๆ เช่นความเครียด การตากแดด ควรมีการออกกำลังกาย และพักผ่อนให้มาก และพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา

บทความที่เกียวข้องกับเริม

​เริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถป้องกันได้ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคเริม หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว หรือสบู่ และที่สำคัญคือ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรคเริม ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า