Tag Archives: สมรสเท่าเทียม

คู่รักเพศเดียวกัน อีกก้าวของประเทศญี่ปุ่นที่จะเกิดกฎหมายสมรสเท่าเทียม

คู่รักเพศเดียวกัน

รัฐบาลเมืองโตเกียว  ประเทศญี่ปุ่น ได้ผ่านร่างกฎหมาย “การรับรองสถานะคู่ชีวิตแก่คู่รักเพศเดียวกัน” หรือ same-sex partnerships ซึ่งเป็นการขยายสิทธิบางอย่างแก่คู่รักกลุ่ม LGBTQ+ ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศที่แต่งงานกัน และจะช่วยให้คู่รักเพศเดียวกันในสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมที่มีความอนุรักษ์นิยมสูงนั้น สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ในที่สาธารณะและไม่ต้องเผชิญปัญหาการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ในที่ทำงาน แม้จะไม่ใช่การสมรสตามกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของการเรียกร้องให้เกิดสิทธิและเสรีภาพในการสมรสเท่าเทียมอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

ออสเตรเลีย ฉลองครบรอบ 5 ปีกฎหมายการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน

ฉลองครบรอบ-5-ปีกฎหมายการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน

เป็นเวลาห้าปีแล้วที่ออสเตรเลียออกกฎหมายให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากผลการสำรวจทางไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2017 พระราชบัญญัติการแต่งงานได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีความเท่าเทียมกันในคู่รักเพศเดียวกันในปี  2010 ออสเตรียอนุญาตให้คู่รัก Gay และ Lesbian สามารถจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตหรือ Civil Partnership ได้ก่อนที่ในปี. 2019 จะประกาศกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันมีสถานภาพสมรสได้ 

เพศทางเลือกในเอเชีย สถานการณ์ความเคลื่อนไหว

เพศทางเลือกในเอเชีย สถานการณ์ความเคลื่อนไหว

ปัจจุบันนี้ แม้สิทธิมนุษยชนและความก้าวหน้าของความหลากหลายทางเพศจะค่อย ๆ ได้รับการทำความเข้าใจและตระหนักรู้แล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายพื้นที่ยังคงมีอคติโดยเฉพาะ เพศทางเลือกในเอเชีย ที่จะมีการแสดงออกที่สื่อถึงการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเพศทางเลือกอยู่บ่อยครั้ง และนี้คือสถานการณ์ปัจจุบันรอบเอเชียเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

นฤมิตวิวาห์ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศ

นฤมิตวิวาห์ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศ

จากกิจกรรมนฤมิตรไพรด์ ครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากผู้คนทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน นฤมิตวิวาห์ ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่ของความหลากหลายทางเพศ และก่อนที่จะเวียนไปถึงงานนฤมิตรไพรด์ในปีนี้นั้น ทางผู้จัดได้มีการจัดกิจกรรมในเดือนของความรักอย่างกิจกรรมนฤมิตวิวาห์ขึ้นมา เพื่อต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์ที่จะมาถึง โดยคาดการณ์ว่าจะมีคู่รักหลากหลายเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าพันคนทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ

สมรสเท่าเทียม เป็นไปได้จริงแค่ไหน?

สมรสเท่าเทียม เป็นไปได้จริงแค่ไหน

ว่าด้วยเรื่องของสิทธิการ สมรสเท่าเทียม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 นที ธีระโรจนพงษ์ และอรรถพล จันทวี เดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่เพื่อขอจดทะเบียนสมรส โดยแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียนว่า ตนและอรรถพลเป็นคู่ชีวิตแบบชายรักชาย ที่อยู่กินด้วยกันมา 19 ปีแล้ว แต่นายทะเบียนแจ้งว่าไม่สามารถทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่คู่รักทั้งสองได้ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1458 ความว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อ ‘ชายหญิง’ ยินยอมเป็นสามี ภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้า นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย” ส่งผลให้นทีกับคู่รักไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เนื่องจากไม่ใช่คู่รักชายและหญิงตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1458

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า