หูด คืออะไร อาการ สาเหตุของการติดเชื้อ

หูด (Warts) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย และสามารถพบได้ในทุกเพศ และทุกช่วงของอายุ โดยอัตราการพบสูงสุดจะอยู่ในช่วงอายุ 12-16 ปี ส่วนในผู้ใหญ่ก็อาจพบได้เช่นกัน และจะพบได้น้อยในคนอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป โรคนี้ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นเท่ากัน แต่คนผิวดำและคนเอเชียจะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนผิวขาวประมาณ 2 เท่า  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อันตรายมาก แต่เมื่อตรวจพบแล้วก็ต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุดและถูกต้อง หากไม่อาจเป็นแผลติดเชื้อที่หนักกว่าเดิม รักษายากกว่าเดิม

โรคหูด คืออะไร

โรคหูด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human papilllomavirus (HPV) ที่ภายในชั้นผิวหนังกำพร้า โดยหูดสามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการจูบ การสัมผัส พบบ่อยในเด็กหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะไปกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างมากมายจนเกิดเป็นตุ่มแข็งที่ผิวหนัง

เหตุเพราะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยหูดจึงอาจหายไปเองโดยไม่ได้รับการรักษา แต่อาจอยู่นานหลายปีก็ได้ การติดต่อเกิดได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย (หูดที่ผิวหนัง) และทางเพศสัมพันธ์ (หูดหงอนไก่) เชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่ผิวหนังใช้เวลาฟักตัว 1-6 เดือน 

สาเหตุโรคหูด

สาเหตุของโรคหูดเกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัส HPV และเชื้อไวรัส HPV นี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่ทำให้เกิดหูดได้ และโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย ในลักษณะทั่วไปหูดจะเกิดขึ้นบนมือหรือเท้า แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ​

ในคนบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะติดหูดได้ง่ายกว่าปกติ ได้แก่ คนผิวดำและคนเอเชียซึ่งจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนผิวขาวถึง 2 เท่า, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน), บุคคลบางอาชีพ (เช่น ผู้ที่มีอาชีพแล่เนื้อสัตว์) เป็นต้น

อาการหูด

  1. หูดชนิดทั่วไป (Common warts) เป็นหูดที่พบได้บ่อยที่สุด มักจะพบในบริเวณ นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า โดยลักษณะนูนเป็นตุ่มกลมแข็ง ผิวหยาบ ขรุขระ ออกเป็นสีเทา ๆ เหลือง ๆ หรือสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 มิลลิเมตร 
  2. หูดคนตัดเนื้อ (Butcher’s warts) โดยจะพบที่มือ เป็นหูดที่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน จึงมักพบได้ในผู้ที่มีอาชีพแล่เนื้อดิบ ลักษณะของหูดจะเหมือนกับหูดทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีผิวขรุขระมากกว่า 
  3. หูดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar warts and Plantar warts) มีลักษณะเป็นตุ่มกลม นูนเล็กน้อย ผิวขรุขระ อาจเกิดรวมกันเป็นกลุ่มจนทำให้ดูเป็นหูดที่มีขนาดใหญ่ได้ อาจจะเรียบหรือมีลักษณะนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามาก มีผิวขรุขระ หยาบแข็งกว่าหนังธรรมดา 
  4. หูดชนิดแบนราบ (Plane warts, Flat warts) มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวเพียงเล็กน้อย ผิวจึงค่อนข้างเรียบ ซึ่งต่างจากหูดทั่วไปที่มีผิวขรุขระ มักพบขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าผาก หลังมือ และหน้าแข้ง 
  5. หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) เป็นหูดที่พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง มักติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ลักษณะของหูดจะขึ้นเป็นติ่งเนื้องอกอ่อน ๆ มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ ซึ่งจะเริ่มจากรอยโรคเล็ก ๆ แล้วขยายตัวลุกลามใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ 
  6. หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) หูดชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มกลม ผิวเรียบเป็นมัน ตรงกลางมีรอยบุ๋ม ซึ่งเป็นหูดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอมซีวี (Molluscum contagiosum virus)

วิธีรักษาหูด

ตามปกติผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรคนี้ จะหายไปได้เอง หรือ หายาทาแก้หูดมารักษาเองก่อนเบื้องต้น(ประมาณ 90% ทายาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก หากทายาอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน แต่เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ต้องเจ็บตัว แต่ควรรับยาหลังตรวจจากแพทย์ ให้แพทย์เลือกตัวยา และบอกวิธีใช้อย่างละเอียดให้ ไม่ควรซื้อยามาทาเอง​

นอกจากนี้ การใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวจี้หูด เป็นวิธีกำจัดหูดได้แต่อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อจะกำจัดหูดออกไป ใครที่เป็นหูดที่นิ้วมือ มักจะใช้วิธีนี้รักษา

วิธีป้องกันโรคหูด

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด แนะนำควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า ถุงมือ กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเท้าเปล่าในสระว่ายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหูดที่เท้า โดยการสวมใส่รองเท้าในขณะอาบน้ำหรือรองเท้าแตะแบบหนีบอยู่เสมอ
  • ห้ามใช้ที่ตัดเล็ก หรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการทำเล็บในร้านที่ไม่สะอาด หรือตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ต้องใช้ร่วมกัน
  • มีการป้องกันโดยใช้ถุงยา เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดกับผู้ที่เป็นหูดโดยตรง

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหูด

วิธีรักษาหูดด้วยสมุนไพร

  • ใบโหระพา มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ HPV ได้ เพียงนำใบโหระพาสดมาบดให้ละเอียดแล้วพอกตรงบริเวณที่เป็นหูด จากนั้นแปะด้วยพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำ เปลี่ยนโหระพาทุกวัน จะเห็นผลภายในหนึ่งอาทิตย์ 
  • น้ำมันละหุ่ง  หากเป็นหูดเรียบ ที่มีขนาดเล็ก เพียงทาน้ำมันละหุ่ง 2-3 ครั้ง เพราะน้ำมันละหุ่งมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยกัดเนื้อหูดให้หลุดออกไปได้  
  • กระเทียม ฝานบางๆ นำมาแปะทับบนหูด และปิดด้วยพลาสเตอร์ยาแน่นๆ ทำเช่นนี้ทุกวัน หูดจะหลุดในที่สุด แต่อาจจะใช้เวลาค่อนข้างนาน 

โดยสรุปแล้ว หูดแม้เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่เชื้อไวรัสเอชพีวี Human Papilloma ( HPV ) บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก หากคุณสงสัยว่าเป็นหูดหรือไม่ควรสังเกตลักษณะของหูดที่เกิดขึ้น สามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่บทความนี้แนะนำข้างต้น