ตรวจเอชไอวี เป็นสิ่งจำเป็นไหม?

ตรวจเอชไอวี มักจะต้องรอให้ร่างกายผลิตและปล่อยสารแอนติบอดีออกมาก่อนที่ผลตรวจจะเป็นไปได้ ระยะนี้เรียกว่า “ระยะแฝง” หรือระยะที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อ (Window Period) โดยทั่วไป ระยะฟักตัว ของเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 21 วัน ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมในการ ตรวจ hiv จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของร่างกายของแต่ละคน ในระยะแฝงนี้ หากคุณต้องการ ตรวจhiv หลังจากเสี่ยง ควรพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของคุณ

การ ตรวจเลือด hiv ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การแนะนำสำหรับบุคคลที่อาจมีความเสี่ยงที่สูงในการติดเชื้อ ให้ทำ การ ตรวจ hiv เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตรวจเอชไอวี รู้ก่อน รักษาได้
เนื้อหาที่น่าสนใจ ซ่อน

ใจความสำคัญของการ ตรวจเอชไอวี (HIV)

คำถามที่คนไทยมักจะถามกัน คือตรวจ hiv กี่วันถึงจะรู้ผล แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีการคาดประมาณว่ามีคนไทยติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ต้นทั้งสิ้นหนึ่งล้านสองแสนคน เสียชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่ง คาดประมาณว่ามีคนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งมีชีวิตอยู่ขณะนี้ประมาณ 6 แสนคน มีคนไทยติดเชื้อรายใหม่ ขณะนี้ประมาณปีละ 16,000 คน และเสียชีวิตจากเอชไอวีประมาณปีละน้อยกว่า 10,000 คน โดยแนวโน้มการเสียชีวิตจะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐจัดบริการดูแลรักษาทั่วถึงมากขึ้น พร้อมทั้งรณรงค์ ให้ประชาชนตรวจเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา และการที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ เป็น ก้าวแรกที่สำคัญจะนำไปสู่การป้องกันและดูแลรักษาที่ถูกต้องและจริงจัง

การจะรู้ว่าติดเชื้อ หรือไม่ ต้องอาศัยวิธีการตรวจเชื่อเอชไอวีเพียงอย่างเดียว ซึ่งคนไทยจำนวนมากยังเข้าใจว่าถ้าร่างกายแข็งแรง แสดงว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้หลายคนไม่คิดว่าตัวเองอาจมีโอกาสติดเอดส์ได้ทั้งๆ ที่มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอชไอวี เพราะคิดว่ามีโอกาสน้อย หรือตัวเองไม่น่าจะมีความเสี่ยง การรณรงค์จึงทำให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญของการตรวจเอชไอวี เช่นเดียวกับการตรวจเช็คสุขภาพ ประจำปี กับการตรวจเอชไอวีฟรี จึงเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐควรนำขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้ทุกคนปฎิบัติอย่างจริงจัง ถ้าจะทำการป้องกัน การแพร่ระบาดของเอชไอวีที่ให้ได้ผล รวมทั้งการยอมรับว่าการตรวจเอชไอวี เป็นหน้าที่ และยังมีประโยชน์ ซึ่งควจะทำการตรวจป็นประจำกันทุกคน (Routine Voluntary Testing)

ตรวจเอชไอวี มีกี่รูปแบบ?

การตรวจเอชไอวีควรพิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงมากี่วันแล้ว โดยปัจจุบันที่นิยมตรวจกันจะมีทั้งหมด  4 รูปแบบ คือ​

การตรวจแบบ Anti-HIV​​​​

การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody) ของร่างกาย ที่สร้างขึ้นเพื่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อเอชไอวี คือวิธีการที่ได้รับความนิยมในการคัดกรองการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบัน ผลตรวจปรากฏได้ในระยะเวลาเร็วภายหลังการตรวจเพียง 1-2 ชั่วโมง แต่ควรระวังว่าผลตรวจนี้จะต้องรอประมาณ 1 เดือนหลังจากเกิดความเสี่ยงเพื่อให้ผลมีความเป็นประจำ ยกตัวอย่าง, หากคุณมีความเสี่ยงในคืนก่อนหน้าแล้วไปตรวจ Anti-HIV ผลการตรวจจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้มาตรการป้องกันในคืนนั้นเป็นเหตุทำให้ติดเชื้อหรือไม่ แม้ผลการตรวจเลือดจะแสดงเป็นลบ (Negative = ไม่พบเชื้อเอชไอวี) โดยทั่วไป แพทย์จะอธิบายว่าเชื้ออาจยังอยู่ในระยะฟักตัวและการตรวจอาจยังไม่พบเชื้อ (Non-reactive) ในช่วงเวลานั้น นี่คือวิธีการตรวจชนิด Anti-HIV

การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Testing)

การตรวจเอชไอวีแบบ NAT (Nucleic Acid Testing) คือการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี หรือแกนในของเชื้อ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า NAT เป็นวิธีที่มีความไวมากที่สุด การตรวจในรูปแบบนี้ จะมีข้อแตกต่าง จากการตรวจแบบ Anti-HIV คือจะสามารถชี้วัดผล จากร่างกายย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับความเสี่ยง เช่น  การไปมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ป้องกันมาเมื่อ 7 วันก่อน แล้ววิตกกังวลว่าอาจได้รับความเสี่ยง จากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการตรวจในรูปแบบ NAT จะทราบผลเลือดว่าเป็นบวก หรือเป็นลบได้แน่ชัด กว่าการตรวจแบบ Anti-HIV ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการตรวจคัดกรองเลือดผู้บริจาคโลหิตแต่ยังไม่นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานพยาบาล

การตรวจแบบ Rapid HIV Test

การตรวจในรูปแบบ Rapid HIV Test  เป็นการตรวจเอชไอวี ชนิดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันจะใช้เวลาในการรอผลเพียง 20 นาทีเท่านั้น ถึงแม้ว่า จะได้ผลตรวจที่เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ก็เป็นเพียงการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ข้อดี คือ สามารถตรวจได้ไว รู้ผลภายในไม่กี่นาที แต่ข้อเสีย คือ หากว่าการตรวจแบบ Rapid HIV Test ให้ผลเป็นบวก (พบเชื้อ HIV) ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่า ติดเชื้อจริง ๆ ด้วยวิธีการตรวจด้วยขั้นตอน Anti-HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลา ที่ได้รับเชื้อมา

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี

การตรวจโปรตีนของเชื้อที่ชื่อว่า p24 (HIV p24 antigen testing) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ตรวจการติดเชื้อในระยะแรกที่ผู้ได้รับเชื้อยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) หรือมีระดับแอนติบอดีที่ต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้ โดยสามารถตรวจได้ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 14-15 วัน ทุกวันนี้สถานพยาบาลหรือศูนย์วิจัยบางแห่งมีบริการตรวจสารพันธุกรรมของเอชไอวีเพื่อหาการติดเชื้อในช่วงแรก สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ตั้งแต่วันที่ 5 – 7 นับจากวันที่รับเชื้อ (เช่น รับเชื้อวันเสาร์ ก็ตรวจหาการติดเชื้อได้ตั้งแต่วันศุกร์) การตรวจแบบนี้เรียกสั้น ๆ ว่าแนต (NAAT – Nucleic Acid Amplification Testing) ซึ่งมีบริการฟรี เฉพาะบางที่ เช่น คลินิกนิรนาม (ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย) แต่ถ้าเป็นที่อื่น ค่า ตรวจเอดส์ จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท​

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง HIV Self Testing

เป็นการทดสอบตัวเองสำหรับเอชไอวีเป็นวิธีที่ดีในการทราบสถานะของคุณ การทดสอบทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่มีบางสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำการทดสอบ การตรวจเอชไอวีมี 2 ประเภท คือ การตรวจเลือดและการตรวจเชื้อเอชไอวีในช่องปาก การตรวจเลือดมักจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ แต่ก็มีชุดอุปกรณ์ที่คุณสามารถซื้อได้เองที่บ้าน ตรวจสอบว่าคุณติดเชื้อ HIV หรือไม่ และรับการรักษาทันที คุณสามารถขอรับการทดสอบเอชไอวีในช่องปากได้ที่สำนักงานแพทย์หรือคลินิกของคุณ การทดสอบเอชไอวีในช่องปากคล้ายกับการทดสอบความทนทานต่อกลูโคสในช่องปากเพราะจะตรวจสอบน้ำลายของคุณเพื่อหาไวรัสเพื่อดูว่าคุณติดเชื้อหรือไม่ ปัจจุบัน ชุดตรวจ hiv ด้วยตัวเองที่ผ่าน อย. คือ Insti อินสติ

ทำไมต้อง ตรวจเอชไอวี?

  • สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้แสดงอาการออกมา
  • สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้ 
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง          
  • สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองจากการติดเชื้อ และควรชวนคู่ของตนไปตรวจเลือดหาเชื้อด้วย
  • สามารถป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หรือแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้
  • ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ
รับคำแนะนำจากแพทย์ในการ ตรวจเอชไอวี

ขั้นตอนการ ตรวจเอชไอวี

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทุกคน ควรได้รับการตรวจทุกคน
  • การเตียมตัวในการตรวจ การเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ไม่ต้องอดข้าวหรือน้ำ เพียงแค่เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน แล้วไปขอตรวจที่โรงพยาบาล คลินิกนิรนาม หรือคลินิกเอกชนเฉพาะทาง หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือประมาณ 14-30 วัน
  • ยื่นบัตรประชาชนแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมแจ้งว่าจะมาตรวจเชื้อ HIV
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับคำปรึกษา คำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุย ประเมินความเสี่ยง และเซ็นชื่อในใบยินยอมเพื่อตรวจ HIV โดยส่วนมากแล้วมักใช้เวลา ไม่เกิน 30 นาที
  • เข้ารับการตรวจเลือด เจาะเลือด หลังจากได้รับคำปรึกษาแล้ว จึงจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ทั้งนี้ระยะเวลาแจ้งผลขึ้นอยู่กับนโยบาย /หรือข้อกำหนดของการบริการของสถานบริการนั้นๆ กรุณาสอบถามข้อมูลก่อนเข้ารับบริการจากสถานบริการนั้นๆ)
  • ฟังผลการตรวจเลือด (ภายในวันเดียวหรือขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล)
  • แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะให้คำแนะนำเพื่อการดูแลตนเอง และการวางแผนในการใช้ชีวิต หากพบว่ามีเชื้อเอชไอวี พร้อมตอบคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเอชไอวี

ผลการตรวจ HIV มีอะไรบ้าง

ผลเลือดเป็นลบ หรือ non-reactive

ผู้เข้ารับการตรวจไม่มีเชื้อ หรืออาจยังไม่พบเชื้อ เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว เรียกว่าผลลบลวง ซึ่งหากมีการติดเชื้อ จะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ ดังนั้นจึงควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะ 3-6 เดือน หรือ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะเน้นย้ำเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป (การใช้ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับทุกคน) พร้อมแนะนำให้มาตรวจเอชไอวีเป็นระยะ

หาก ตรวจเอชไอวี ผลเลือดเป็นบวก

ผลเลือดเป็นบวก หรือ reactive เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง และส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา และรับยาต่อไป ซึ่งสามารถใช้สิทธิการรักษา และรับยาได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนตามสิทธิ (ประกันสังคมหรือหลักประกันสุขภาพ)

เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลรักษาสุขภาพที่จำเป็น

  • ตรวจ CD4 เพื่อประเมินความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย เชื้อ HIV จะทำลายเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ เมื่อระดับเซลล์ CD4 ในร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลง และมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
  • รักษาโรคฉวยโอกาส เมื่อมีการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส (คือ โรคติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โรคปอดอักเสบพีซีพี ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยโรคเอดส์ มีสาเหตุจากเชื้อรา ปกติเชื้อรานี้มีอยู่ในปอดของคนเป็นจำนวนมาก แต่ตราบใดที่ยังมีภูมิคุ้มกันอยู่ก็จะไม่เกิดโรคปอดอักเสบ)
  • ตรวจร่างกาย เพื่อประเมินความพร้อม เมื่อถึงเกณฑ์กินยาต้านไวรัส​เอชไอวี

หากผลเลือดเป็น Invalid 

ผู้ที่มีผลเอชไอวีเป็นบวกแต่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ คือ ผู้ที่ทานยาอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้เชื้อไวรัสถูกระงับไว้ภายในร่างกาย กล่าวคือ เชื้อไวรัสถูกระงับไว้จนกระทั่งการตรวจเลือดไม่สามารถค้นพบเชื้อไวรัสในตัวอย่างเลือดได้

ผู้ที่มีสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวี ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้ ถึงแม้ว่าจะยังมีผลการตรวจเอชไอวีเป็นบวก แต่ก็จำเป็นต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวีนี้เอาไว้

ตรวจเอดส์ ตรวจเอชไอวี HIV status

ใครบ้างที่ควรไปตรวจ hiv

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้เข็มฉีดยาสารเสพติดร่วมกันกับผู้อื่น
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • การเตรียมพร้อม ก่อนสมรส และก่อนวางแผนตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ทารกที่ติดเชื้อ HIV จากแม่
  • ผู้ป่วยวัณโรค
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติหน้าที่

ตรวจ hiv ราคาเท่าไหร่

สถานบริการรายการ/ราคา
คลินิกนิรนามตรวจแบบรู้ผลทันทีจะเริ่มต้นที่ 200 บาท
ตรวจด้วยวิธี PCR เริ่มต้นที่ 1,500 บาท (รู้ผล 1 สัปดาห์)
ตรวจที่ LABค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 500-2,500 บาท ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ
รงพยาบาลเอกชนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 600-3,000 บาท
โรงพยาบาลรัฐโรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประชาชน และทั้งนี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถ ตรวจ HIV ฟรี ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต จากผู้ปกครอง ไม่ต้องอดข้าว อดน้ำ ก่อนไปตรวจ

ตรวจเอชไอวี ที่ไหนได้บ้าง

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในไทยนั้น สามารถตรวจได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ในปัจจุบันนี้เพียงถือบัตรประชาชน และเดินทางไปที่โรงพยาบาลรัฐ ศูนย์อนามัย หรือคลินิกที่ร่วมรายการ แต่ทั้งนี้ควรโทรสอบถามก่อนล่วงหน้า เพื่อความมั่นใจว่าสามารถตรวจได้ฟรีจริงหรือไม่

หากท่านไม่ประสงค์ไปตรวจตามสถานพยาบาลของรัฐ เนื่องจากอาจจะต้องรอคิวนาน รอฟังผลนาน ด้วยจำนวนผู้เข้าใช้บริการที่มาก ท่านสามารถไปตรวจได้ตามโรงพยาบาลเอกชน และคลินิก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายซึ่งจะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับที่ ๆ ท่านเลือกไป แต่รับรองว่าไม่ต้องรอคิวนาน ๆ และรู้ผลได้เร็ว แน่นอน

หรือคลินิกพิเศษต่างๆ เช่น คลีนิคนิรนาม หรือคลินิกพิเศษของศูนย์ดรอปอินต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานบริการที่เข้ารับบริการ เพื่อดูวัน เวลา และสถานที่ให้บริการ บริการที่มี และเงื่อนไขการให้บริการต่าง เช่น ต้องแจ้งหมายเลขบัตรประชาชน บริการเฉพาะกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นต้น

แต่ทางเลือกอีกทางสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลเลย แค่เพียงไม่มั่นใจว่าได้รับความเสี่ยงมา จริงหรือไม่ ท่านสามารถซื้อ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี ด้วยตนเองมาตรวจก่อนได้ เนื่องจากเป็นการตรวจคัดกรองซึ่งการแปลผล จะสามารถบอกได้ว่าเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง โดยหากผลเป็นบวก ก็จะหมายความว่า ท่านมีความเสี่ยง ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้เดินทางไปตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล แต่ถ้าหากตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจดังกล่าวแล้ว ผลเป็นลบก็จะหมายความว่า ท่านไม่ได้รับความเสี่ยง ซึ่งก็จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงแสดงผลได้แค่ว่าเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง เนื่องจากตามสถานพยาบาลมักจะให้ท่านตรวจคัดกรองก่อนอยู่แล้ว ด้วยการตรวจนั้นไม่ยาก และรู้ผลได้เร็วกว่า อีกทั้งเป็นวิธีที่ค่าใช้จ่ายไม่สูง หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงก็จะดำเนินการตรวจยืนยันด้วยวิธีที่ละเอียดขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากตรวจคัดกรองและพบว่าไม่มีความเสี่ยงตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าคุณมากขึ้น

ดังนั้น การที่คุณเลือกซื้อ ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง มาใช้ตรวจก่อน จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะช่วยให้คุณทราบความเสี่ยงได้เร็วขึ้น ทำให้คุณสามารถตัดสินใจเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลได้เร็วขึ้น ส่งผลต่อการรักษาได้เร็วขึ้น

ตรวจเลือด hiv ที่ไหนได้บ้าง

แนะนำสถานพยาบาล ที่ ตรวจ hiv ฟรี

  • เขตกรุงเทพมหานคร
    • โรงพยาบาลบางรัก
    • คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย
    • คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด
    • คลินิกพิเศษของศูนย์ดรอปอิน
    • คลินิกพิเศษฟ้าสีรุ้ง ซอยรามคำแหง 87
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลกลาง
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลตากสิน
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลสิรินธร
    • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ
    • มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร
    • ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี​

ตรวจ HIV ฟรี ในต่างจังหวัด

สำหรับต่างจังหวัด การตรวจเอชไอวีฟรี อาจจะยังไม่ครอบคลุม ทุกพื้นที่ ดังนั้น ประชาชน ที่ต้องการตรวจเอชไอวี ควรโทร ไปสอบถามสถานพยาบาลนั้นๆ ว่าได้เข้าร่วมโครงการ ตรวจเอชไอวีฟรีหรือไม่

สถาน ที่ตรวจ hiv จังหวัดเชียงใหม่

ฮักษา กลางเวียง เชียงใหม่ ที่อยู่ 77/7 ถ.คชสาร ต.ช้างคลาน อ.เมือง เชียงใหม่ ประเทศไทย
อีเมล์ hugsamedical@gmail.com เบอร์โทร 0933099988

สรุป

การตรวจ hiv เป็นวิธีเดียวที่จะทราบว่าคุณมีเชื้อเอชไอวีหรือไม่ การทดสอบสามารถทำได้ทุกเมื่อระหว่างการติดเชื้อ แต่แนะนำให้คนไปตรวจทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขามีเพศสัมพันธ์ มีเหตุผลหลายประการที่ผู้คนควรได้รับการทดสอบเอชไอวี การทดสอบสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคร้ายแรงนี้ได้ ผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพของตนเอง ซึ่งอาจช่วยให้พวกเขาควบคุมสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการ ตรวจเอชไอวี

  • แนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ – แพทยสภา https://tmc.or.th
  • คู่มืออ่านประกอบการให้การปรึกษาเพื่อการ ตรวจเอชไอวี https://www.fhi360.org