ซิฟิลิส โรคใกล้ตัวที่ต้องระวัง

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส จัดเป็นอีกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema Pallidum ซึ่งอาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของร่างกาย เนื่องจากมีขนาดที่เล็กมากๆ แม้โรค ซิฟิลิส นี้อาจรู้สึกว่าไม่ได้ร้ายแรงหากเทียบกับโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ แต่มันก็ทำให้ผู้ป่วยเองรู้สึกได้ถึงความทรมานได้ไม่น้อยเหมือนกัน ยิ่งสถิติที่ผ่านมาระบุชัดเจนว่าเริ่มมีคนป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขนาดใช้คำว่าในเมืองไทยโรคซิฟิลิสกำลังระบาดอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักให้มากขึ้น

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส

สำหรับคนที่ติดเชื้อซิฟิลิสส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองป่วยโดยจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อตั้งแต่ 10 วัน ไปจนถึง 3 เดือน แต่ถ้าช่วงเวลาที่เริ่มรู้สึกว่าร่างกายแปลก ๆ คือผ่านไปประมาณ 20 วัน อันเป็นช่วงที่เข้าสู่การติดเชื้อในระยะแรก สำหรับอาการของโรคนี้จะถูกแบ่งเอาไว้ทั้งสิ้น 3+1 ระยะ ประกอบไปด้วย

  • ระยะที่ 1 บริเวณทวารหนัก, ช่องคลอด, องคชาติ หรือตรงริมฝีปากจะเริ่มมีแผลริมแข็ง ลักษณะขอบนูนสีแดง โดยแผลที่ว่าเป็นได้ทั้งหลายแผลหรือแผลเดียวบริเวณที่คน ๆ นั้นได้รับเชื้อผ่านเข้าไป ไม่ได้รู้สึกเจ็บ แล้วค่อย ๆ หายไปประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องไม่ได้หมายถึงหายแต่เชื้อได้แฝงตัวเข้าไปในร่างกายแล้วจะพัฒนาสู่ขั้นต่อไปแต่ถ้าบางรายอาการหนักหน่อยอาจต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ระยะที่ 2 เมื่อไม่ผ่านการรักษาอย่างถูกวิธีอาการจะค่อย ๆ แสดงออกมากขึ้น ตามฝ่ามือฝ่าเท้ามีตุ่มลักษณะเหมือนผื่นจาง ๆ ขึ้นมา แต่ไม่คัน มีไข้ เพลีย ปวดเมื่อยตัว บางรายผมร่วง มักเกิดหลังมีแผลริมแข็งมาแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจมีแผลเกิดขึ้นด้านในลำคอ, ริมฝีปาก, ช่องปาก, ทวารหนัก หากยังไม่รู้สึกตัวเองแล้วไปหาหมดอาการจะรุนแรงขึ้น
  • ระยะแฝงเชื้อ จะเกิดขึ้นเมื่อป่วยมา 2 ระยะแล้วไม่มีการรักษา อาการนี้จะเหมือนเชื่อสงบลง ไม่ได้มีความน่ากลัวแต่จริง ๆ แล้วเชื้อยังคงแฝงตัวในร่างายและโอกาสป่วยในระยะ 3 ก็สูขึ้น
  • ระยะที่ 3 15% ของคนไม่ได้รับการรักษาเลยทั้ง 2 ระยะ เชื้อจะกระจายไปจนทั่วร่างกายจนเข้าทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ไขสันหลัง, สมอง, หัวใจ, เส้นประสาท, ตับ, ดวงตา, กระดูก, เส้นประสาท ส่งผลให้คนที่เป็นซิฟิลิสระยะนี้ซึ่งเรียกว่าระยะสุดท้ายจะมีอาการสมองเสื่อม กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติ ไม่สมดุล ตัวชา ขยับร่างกายลำบาก, ตาค่อย ๆ บอดและเสียชีวิตในที่สุด

การติดต่อของโรคซิฟิลิส

พื้นฐานของโรคซิฟิลิสก็ไม่ได้ต่างกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่น หรือสัมผัสกับแผลโดยตรง (ซึ่งก็เกิดจากมีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัยเป็นหลัก) โดยแผลที่เกิดขึ้นก็มีหลายจุด เช่น ทวารหนัก, อวัยวะเพศ, ช่องปาก นั่นเท่ากับว่าใครที่ไม่ได้ป้องกันแล้วมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก, ช่องปาก หรืออวัยวะเพศยังไงก็มีสิทธิ์ติดเชื้อสูง ขณะเดียวกันสตรีมีครรภ์ที่มีเชื้อโรคนี้อยู่จะทำให้ลูกเองกลายเป็นผู้ป่วยซิฟิลิสตั้งแต่เกิด แต่ที่ไม่ต้องห่วงก็คือคุณสามารถใช้ชีวิตกับคนป่วยซิฟิลิสได้ตามปกติ เช่น จูบ, ทานอาหารร่วมกัน, ในสระน้ำ หรือแม้แต่สัมผัสของกับของใช้ผู้ป่วยก็ไม่มีปัญหา

ความร้ายแรงของโรคซิฟิลิส

อย่างที่กล่าวไปว่าฟังดูเผินๆ อาจไม่ได้น่ากลัวเท่าไหร่นัก แต่จริงแล้วโรคนี้สามารถทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้เลยเนื่องจากเชื้อเองได้กระจายสู่ทุกส่วนของร่างกายเรียบร้อยแล้ว นั่นเท่ากับว่าใครก็ตามที่ปล่อยให้เชื้อลุกลามโดยไม่รักษาจะหมดสิทธิ์ทันที อีกทั้งเมื่อร่างกายอ่อนแอลงแต่ยังไม่สนใจก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อเอชไอวี ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยระยะ 3 ถือว่าอันตรายต่อทารกในครรภ์มาก ขนาดว่าอาจเสียชีวิตหลังคลอดหรือแท้งระหว่างตั้งครรภ์ได้เลย

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคซิฟิลิส

วิธีง่ายที่สุดของการป้องกันโรคนี้คือมีต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งหากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช่แฟน, ภรรยา, สามี ของตนเอง อย่างไรก็ตามหากรู้สึกสุ่มเสี่ยงว่าคู่นอนคุณจะมีโอกาสติดเชื้อก็ควรใช้ถุงยางอนามัยด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากรู้สึกว่าตนเองเริ่มมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายแม้สวมถุงยางอนามัยก็ควรไปให้แพทย์ตรวจพร้อมทำการรักษาทันที เพราะการใช้ปากก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน

แนวทางการรักษาโรคซิฟิลิส

หากเริ่มรู้ว่าตนเองมีอาการดังที่กล่าวมา แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจทันทีอย่านิ่งนอนใจ คิดว่าโรคจะหายไปได้เองเด็ดขาด โดยแพทย์จะดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไป

  • ทำการวินิจฉัยระยะของโรค การวินิจฉัยมักต้องอาศัยอาการของผู้ป่วยและการตรวจเลือด ผู้ที่ควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแผลริมแข็งบริเวณอวัยวะเพศหรือริมฝีปาก ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อซิฟิลิสหรือมีอาการของโรคซิฟิลิสอยู่แล้ว และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ซึ่งในปัจจุบันการตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส ก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจฝากครรภ์ในประเทศไทย ที่คุณแม่ทุกคนจำเป็นต้องตรวจเสมอ
  • การรักษาด้วยการรับประทานยา โดยถ้าป่วยในระยะแรกยังสามารถรักษาได้ง่าย
  • การรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ ที่อยู่ในกลุ่มเพนิซิลลิน (benzathine penicillin G) โดยฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้งในรายที่ติดเชื้อซิฟิลิสน้อยกว่า 1 ปี ในรายที่มีการติดเชื้อมานานอาจต้องฉีดยาหลายครั้ง ในกรณีที่แพ้ยา penicillin อาจต้องใช้ยา doxycycline หรือ tetracycline แทนได้ กรณีที่ผู้ป่วยซิฟิลิสอยู่ในระยะอาการเชื้อเข้าระบบประสาทแล้ว แนะนำให้ใช้ benzylpenicillin ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือใช้ ceftriaxone แทน โดยระหว่างการรักษาผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาเล็กน้อย

อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยซิฟิลิสทำการรักษาจนหายจากโรคแล้ว ควรมีการติดตามโดยการตรวจเลือดเป็นประจำทุกๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี และควรปฏิบัติคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ควรบอกกับคู่นอนหรือแฟนของคุณในปัจจุบัน และคู่นอนในอดีตให้รับการตรวจซิฟิลิสด้วยเช่นกัน เพราะหากติดเชื้อก็จะสามารถรักษาได้ทันถ้วงที เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรค ผู้ป่วยซิฟิลิสควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งได้รับการรักษาให้หายขาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดี หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ควรป้องกันด้วยถุงยางอนามัยทุกครั้ง

การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นแบบไม่ได้ป้องกัน ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคซิฟิลิสและโรคทางเพศสัมพันธ์อีกมากมาย ทางที่ดี คือ เมื่อคุณรู้ว่าตนเองติดเชื้อ หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงก็ให้รีบไปพบแพทย์โดยตรง โรคเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องน่าอายแถมถ้ารู้ตั้งแต่เนิ่นๆ ยังมีการรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยเอาไว้อาจเกิดผลเสียต่างๆ ตามมาและมีผลต่อการเสียชีวิตที่สูงมากเลยทีเดียว

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า