สมรส เท่าเทียม 22 ปีที่รอคอย

LGBTQ 1

ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “ร่าง พ.ร.บ. สมรส เท่าเทียม” และเสนอเข้าสภา ผู้แทนราษฎร พิจารณา 21 ธ.ค. 66 ซึ่งแม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการที่จะผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวให้เป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริงในประเทศไทย แต่ก็ต้องถือว่านี่เป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของความเท่าเทียมที่บรรดาคู่สมรสซึ่งมีความหลากหลายทางเพศรอคอยมานานกว่า 22 ปี โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถหมั้น สมรส มีสิทธิ หน้าที่และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงที่สมรสกัน

สำหรับประเทศไทย อาจจะช้าไปสักนิดเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่มีการประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่มีการอนุมัติให้มีการบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นฉบับแรกของโลก เมื่อปี 2001 หรือ 22 ปีก่อน และยังเป็นแม่แบบให้อีกหลายประเทศประกาศกฎหมายฉบับเดียวกันนี้ในประเทศของตัวเอง

LGBTQ 2

กว่าสองทศวรรษนับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ คู่รัก LGBTQ+ ชาวเนเธอร์แลนด์หลายพันคู่แต่งงานกัน คิดเป็น 1.7% ของการแต่งงานทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นคู่รักเลสเบี้ยนประมาณ 750 คู่ และคู่รักเกย์ 620 คู่ ปัจจุบันมีคู่รักเพศหลากหลายที่แต่งงานกันแล้วประมาณ 20,000 คู่ อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการ

ปรากฏการณ์เนเธอร์ แลนด์เอฟเฟกต์เป็นเสมือนพลุไฟที่จุดประกายให้ประเทศ อื่นๆทั่วโลกมากกว่า 34 ประเทศ เริ่มทยอยประกาศให้การสมรสเท่าเทียมเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย

ปี 2003 เบลเยียม เป็นประเทศที่สองที่ทำให้สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายต่อจากเนเธอร์แลนด์ ตามด้วยสเปนในปี 2005

ปี 2009 นอร์เวย์ และสวีเดนประกาศใช้สมรสเท่าเทียมมาแทนที่กฎหมายคู่ชีวิตที่ประกาศใช้ในนอร์เวย์มาตั้งแต่ปี 1973 และปี 1995 ในสวีเดน

ปี 2010 ไอซ์แลนด์ประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียม และบุคคลที่ทำการสมรสเป็นคู่แรกที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็คืออดีตนายก รัฐมนตรี โจฮานนา ซิกูร์ดาร์โดตีร์ ซึ่งแต่งงานกับโยนีนา เลโอซดอตตีร์ โดยทั้งคู่เป็นคู่รัก LGBTQ+ ซึ่งรักกันมาอย่างยาวนาน

LGBTQ 3

ปี 2012 โปรตุเกสประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ตามด้วย เดนมาร์กที่ประกาศใช้กฎหมาย หลังจากได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ในขณะที่กรีนแลนด์ ประเทศอาณานิคมของเดนมาร์ก ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั่วประเทศในปี 2016

ปี 2013 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม และอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ด้วย

ปี 2014 สหราชอาณาจักรประกาศให้การสมรสของคู่รัก LGBTQ+ ถูกกฎหมายก่อนอังกฤษและเวลส์ ขณะที่ไอร์แลนด์เหนือประกาศให้การสมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายในปี 2020

นอกจากนี้ยังมีประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศที่ทยอยประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียม ติดต่อกันมาตลอดช่วง 2 ทศวรรษ อาทิ ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก โดยหลังจากสภาผู้แทนราษฎรลักเซม เบิร์กผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยคะแนน 56 ต่อ 4 นายซาวีเยร์ เบตแตล นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก ก็ประกาศแต่งงานกับคู่รักของเขา ทันที โดยเป็นคู่รัก LGBTQ+ คู่แรกของประเทศสมาชิก EU

ฟินแลนด์ เยอรมนี มอลตา ออสเตรีย สโล วีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ ทยอยผ่านกฎหมายดังกล่าวตามลำดับและล่าสุด อันดอร์รา ดินแดนในอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศล่าสุดของยุโรป

ส่วนในอเมริกาเหนือก็มีทั้งแคนาดา สหรัฐ อเมริกา ใน 36 รัฐ รวมทั้งวอชิงตัน ดี.ซี.นำร่อง กฎหมายสมรสเท่าเทียม ก่อนศาลสูงสุดสหรัฐฯ จะตัดสินในการรับรองการแต่งงานของกลุ่ม LGBTQ+ ทั่วประเทศ

ในอเมริกาใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่อนุญาต ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้โดยถูกกฎหมาย ตามด้วยบราซิลเป็นประเทศที่สองในอเมริกาใต้ที่ประกาศผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมและหลังจากนั้นอุรุกวัยก็ประกาศกฎหมายดังกล่าวเป็นประเทศแรกในละตินอเมริกาก่อนโคลอมเบีย เอกวาดอร์ คอสตาริกา ชิลี คิวบา และเม็กซิโก

LGBTQ 4

ส่วนใน เอเชียและออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ประกาศใช้กฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ หรือแม้แต่ไต้หวันซึ่งเป็นประเทศเล็กๆก็อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2019

สำหรับประเทศไทย ต้องถือว่าเริ่มใกล้ความจริงเข้ามาทุกขณะสำหรับกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่รอคอยมานานแสนนาน ซึ่งคาดว่านับจากนี้อาจใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6 เดือนในการทำให้ พ.ร.บ.สมรส เท่าเทียม ผ่านสภาและประกาศใช้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ก็เชื่อว่าแสงสีรุ้งในเมืองไทยคงจะเบ่งบาน เติมเต็มความสุขในหัวใจให้ผู้คนได้อีกมากทีเดียว.

ขอบคุณข้อมูล : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2749663

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า