ฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อที่มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลักๆ คือการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก ที่เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากมีผื่นหรือตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือตามร่างกาย ให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลทันที โดยแจ้งอาการ และประวัติเสี่ยงประกอบการวินิจฉัย
ฝีดาษวานรสาเหตุเกิดจากอะไร ?
โรคฝีดาษวานร เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย เลือด อุจจาระ เป็นต้น ซึ่งพบได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น ลิง หนู กระรอก กระต่าย ฝีดาษวานรยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ การสัมผัสกับแผลพุพอง หรือสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
ระยะฟักตัว
หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อฝีดาษวานร จะเริ่มมีอาการแสดงให้เห็นภายใน 5 – 21 วัน
ฝีดาษวานร อาการเป็นอย่างไร ?
อาการของฝีดาษวานร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ฝีดาษวานรระยะแรก
- มีไข้
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ่อนเพลีย
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- หนาวสั่น ไม่มีแรง
ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่มีไข้ อาจมีการแพร่เชื้อผ่านระยะนี้ได้เล็กน้อย
ฝีดาษวานร ระยะออกผื่น
- มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
- ผื่นจะมีขอบเขตชัดเจน ลักษณะฝังลึก อาจมีรอยบุ๋มตรงกลาง
- มีประวัติไข้นำมาก่อนการเกิดผื่น
- มักพบต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
- รู้สึกเจ็บบริเวณที่เป็นผื่น ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนอง
ฝีดาษวานรติดต่อกันได้อย่างไร ?
จากสัตว์สู่คน
- สัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- การโดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือขีดข่วน
- การกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงไม่สุก
จากคนสู่คน
- การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
- การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
- การสัมผัสกับแผลพุพองจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
- การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
การวินิจฉัย ฝีดาษวานร
- ซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ และประวัติการเดินทาง หรือสัมผัสกับสัตว์ หรือบุคคลที่อาจติดเชื้อ
- ตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อดูลักษณะของผื่น
- เก็บตัวอย่างตุ่มแผล หรือเลือด ไปตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ
หากผลการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโรคเป็นบวก จะถือว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคฝีดาษวานi
ภาวะแทรกซ้อนฝีดาษวานร
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคฝีดาษวานร คือการติดเชื้อแบคทีเรียในตุ่มแผล ซึ่งอาจทำให้ตุ่มแผลอักเสบและบวมขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ ปวด บวม แดง และอาจมีหนองไหลจากตุ่มแผล
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคฝีดาษวานร ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักพบในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วย HIV/AIDS ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
วิธีป้องกันฝีดาษวานร
- ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ตระกูลฟันแทะที่อาจติดเชื้อ
- หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นขึ้นตามร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การรักษา ฝีดาษวานร
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับฝีดาษวานร ใช้การรักษาประคับประคองตามอาการ และยังไม่มียามาตรฐานที่ใช้รักษาอย่างจำเพาะเจาะจง แต่มียาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น
- Tecovirimat
- Cidofovir
- Brincidofovir
อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ถาม-ตอบ เกี่ยวกับฝีดาษลิง (Monkeypox)
- ทำความรู้จักกับ “ฝีดาษลิง”
- ฝีดาษลิง (Monkeypox) ในประเทศไทย – โลก
ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้นควรระมัดระวังและป้องกันตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ตระกูลลิง สัตว์ตระกูลฟันแทะ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หมั่นสังเกตุอาการเบื้องต้น หากมีอาการไข้ ปวดศีรษ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที