วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2022 รัฐบาลเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมาย การรับรองสถานะคู่ชีวิตแก่ “คู่รักเพศเดียวกัน” หรือ same-sex partnerships ซึ่งเป็นการขยายสิทธิบางอย่างแก่คู่รักกลุ่ม LGBTQ+ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศที่แต่งงานกัน และจะช่วยให้คู่รักเพศเดียวกันในสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมที่มีความอนุรักษ์นิยมสูงนั้น สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ในที่สาธารณะและไม่ต้องเผชิญปัญหาการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ในที่ทำงาน แม้จะไม่ใช่การสมรสตามกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของการเรียกร้องให้เกิดสิทธิและเสรีภาพในการสมรสเท่าเทียมอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
แม้จะมีการขยายสิทธิบางประการให้ครอบคลุมในสังคมเพิ่มขึ้น สิทธิบางอย่างก็อาจไม่อาจครอบคลุมตามกฎหมาย
แม้การรับรองสถานะคู่ชีวิตนั้น จะมีการขยายสิทธิบางประการให้ครอบคลุมผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้น เช่น สิทธิการเยี่ยมคู่ชีวิตหรือตัดสินใจแทนกันได้หากอีกฝ่ายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สิทธิการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน เช่นเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก เพราะยังคงไม่ใช่การสมรสเท่าเทียม ทำให้สิทธิบางอย่างไม่อาจครอบคลุมตามกฎหมายเช่น การเก็บภาษีที่ไม่เท่าเทียมกันของบุคคล การรับมรดก และข้อจำกัดอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจุดประสงค์การสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดยกลุ่ม LGBTQ+แท้จริงแล้ว ก็เพื่อเรียกร้องความเสมอภาคในสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายที่ครอบคลุมบุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ศาลญี่ปุ่นระบุว่า การห้ามการแต่งงานของเพศเดียวกันถือเป็นรัฐธรรมนูญ แต่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นคำตัดสินที่ทำให้นักเคลื่อนไหวผิดหวัง แต่ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในญี่ปุ่น
เทศบาลญี่ปุ่นอนุญาตให้ คู่รักเพศเดียวกัน ทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนได้
เทศบาลมากกว่า 300 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ครอบคลุมประมาณ 65% ของประชากรอนุญาตให้ คู่รักเพศเดียวกัน ทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนได้ แต่สิทธิของพวกเขามีจำกัดคู่ค้าไม่สามารถสืบทอดทรัพย์สินของกันและกันหรือมีสิทธิ์ของผู้ปกครองในบุตรหลานของกันและกัน และไม่รับประกันการไปโรงพยาบาล ดังที่กล่าวข้างต้น
รัฐบาลของคิชิดะสัญญาว่าจะผ่านกฎหมายที่ส่งเสริมความเข้าใจของกลุ่ม LGBTQ ก่อนการประชุมสุดยอด G7 แต่การต่อต้านจากพรรคอนุรักษ์นิยมทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไป
ร่างเริ่มแรกระบุว่าการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศไม่ควร ได้รับการยอมรับ แต่เปลี่ยนเป็น ไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม และมีผลสำรวจความคิดเห็นระบุว่า ประชาชนประมาณ 70% สนับสนุนการแต่งงานของเพศเดียวกัน แต่พรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ คัดค้าน
เส้นทางการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมใน คู่รักเพศเดียวกัน ที่เกิดขึ้นในดินแดนแถบเอเชีย มีดังนี้
- ไต้หวัน ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ได้มีการเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน ด้วยคะแนน 66 ต่อ 27 เสียงจากรัฐสภา ซึ่งเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ทำให้ไต้หวันเป็นดินแดนเดียวและแห่งแรกในทวีปเอเชียที่มีการรับรองการสมรสเท่าเทียม
- ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ.2558 ได้มีการเริ่มใช้ระบบคู่ชีวิต ในเขตชิบูยะของโตเกียวเป็นท้องที่แรกในการรับรองสิทธิให้จดทะเบียนครอบครัวในพื้นที่ของตนเองได้ แต่การรับรองสิทธินี้ไม่มีผลผูกพันอื่นใดในทางกฎหมาย ทำให้ในปี พ.ศ.2562 นักเคลื่อนไหวและคู่รักเพศเดียวกัน จึงมีการฟ้องร้องเพื่อให้ได้สิทธิในการสมรสเท่าเทียมตามกฎหมาย ซึ่งจากการสำรวจในปีที่แล้ว พบว่า 65% ของกลุ่มตัวอย่างสนับสนุนการสมรสเท่าเทียมคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจในปี พ.ศ.2558 ถึง 24% สะท้อนถึงทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คน กระทั่งในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2565 ประเทศญี่ปุ่นจึงมีการรับรองสถานะคู่รักเพศเดียวกันในฐานะ “คู่ชีวิต” ซึ่งคู่รักที่ขอใบรับรองต้องเป็นบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และอย่างน้อยหนึ่งคนต้องอาศัย เดินทางไปทำงาน หรือศึกษาอยู่ในกรุงโตเกียว โดยสามารถขอรับรองสถานะได้ผ่านระบบออนไลน์ การรับรองดังกล่าวแม้ไม่ใช่การสมรสตามหลักกฎหมาย แต่ก็นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการผลักดันให้เกิดการสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นในญี่ปุ่น
- ประเทศไทย ได้เริ่มมีการเรียกร้องการสมรสเท่าเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 และในปี พ.ศ.2556 จึงเกิดร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตร่างแรกในยุครัฐบาลของ “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ซึ่งจนบัดนี้ผ่านมาแล้ว 9 ปีเต็ม ก็มีการปรับแก้ร่างกฎหมายมาเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการสมรสเท่าเทียม
สภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยได้มีการรับหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยได้มีการรับหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศถึง 2 ร่าง คือ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตและร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งทั้งสองร่างมีหลักการแตกต่างกันกล่าวคือ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตนั้น บุคคลผู้มีคุณสมบัติจะมีสิทธิในการจดทะเบียนและได้รับสถานะทางกฎหมายเป็น “คู่ชีวิต” แต่จะไม่ได้รับผลประโยชน์ทางกฎหมายในบางประการเมื่อเทียบกับการสมรส ขณะที่ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะได้รับสถานะทางกฎหมายเป็น “คู่สมรส” และได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิงทุกประการ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าการเดินทางของกฎหมายเพื่อการสมรสที่เท่าเทียมจะออกมาเป็นเช่นไร
สุดท้ายนี้ ถึงปัจจุบันจะมีการเปิดรับแนวคิดความหลากหลายทางเพศเพิ่มมากขึ้นในสังคม ปัจจุบันมีเพียง 33 ประเทศและดินแดนทั่วโลกเท่านั้นที่มีกฎหมายรับรองการสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังว่าจะมีการขยายผลเรื่องนี้ให้เกิดมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยและประเทศหรือดินแดนอื่น ๆ เพราะสิทธิการสมรสกันได้ตามกฎหมายนั้น ถือเป็นสิทธิที่พึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกันทุกคน