เริมที่จมูก ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่หากติดแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต ซึ่งจะมีอาการเป็นแผลขึ้นบริเวณรอบปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ และรอยแผลอาจแตกจนกลายเป็นฝีได้ แต่ถึงแม้จะรักษาไม่หายก็ตาม อาการของโรคเริมส่วนมากจะเป็นแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และจะมีอาการก็ต่อเมื่อภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ เครียด โดนแสงแดดเป็นเวลานาน หรือ ทำงานหนักเกินไป
เริมที่จมูก เกิดจากอะไร?
เริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ Herpes simplex virus หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Herpes ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ Herpes simplex virus ชนิด 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus ชนิด 2 (HSV-2) ซึ่งสามารถอยู่ได้ในหลายๆ บริเวณของร่างกาย ทำให้เกิดการสับสนได้ว่า จะต้องเรียกการติดเชื้อนั้นว่า เป็นเริมประเภทไหน ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
- HSV-1 พบมากบริเวณริมฝีปาก จมูก ลำคอ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเครียด พักผ่อนน้อย ก็สามารถป่วยด้วยโรคนี้ได้ เช่น อาการเริมที่ปาก อาการเริมที่จมูก
- HSV-2 เป็นการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะเพศ ทหารหนัก ถุงอัณฑะ
เมื่อเรานำจมูกไปสัมผัสกับเชื้อเริมครั้งแรก จากการสัมผัสโดยตรง จากผู้ที่เป็นโรคผ่านทางน้ำลาย หรือรอยโรค หรืออาจจะเอามือที่สัมผัสเชื้อมาเกาที่จมูก อาจแสดงอาการ หรือไม่ก็ได้ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าทางผิวหนังและไปสะสมอยู่ที่ปมประสาท เมื่อมีปัจจัยมา กระตุ้น เชื้อไวรัสก็จะออกมาตามเส้นประสาท ไปถึงปลายประสาท ทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง หรือเยื่อบุ
คุณจะติดเชื้อเริมที่จมูกได้อย่างไร?
เริม ติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับรอยโรคที่ผิวหนัง โดยผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ ปาก จมูก และตา เป็นบริเวณที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย ส่วนบริเวณอื่นๆ ของร่างกายก็อาจติดเชื้อได้ ถ้ามีช่องทางให้เชื้อเข้าไปได้ เช่น รอยบาดแผลที่ผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง เป็นต้น
การติดเชื้อเริมไม่จำเป็นต้องผ่านการมี เพศสัมพันธ์ เท่านั้น บางครั้งคุณสามารถติดเชื้อเริมผ่านวิธีอื่นได้ เช่น ผู้ปกครองที่มีรอยโรคเริมจูบลูกที่ปาก เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ผู้คนจำนวนมากที่เคยเป็นเริมที่ปากมักจะเคยเป็นตั้งแต่วัยเด็ก สำหรับหญิงตั้งครรภ์ก็มีโอกาสแพร่เชื้อเริมไปสู่ลูกขณะคลอดลูกได้ แต่ก็พบได้น้อย
นอกจากนี้คุณยัง สามารถแพร่เชื้อเริมไปที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ ถ้าหากมีการสัมผัสกับแผลตุ่มพอง ตุ่มน้ำ แล้วนำไปสัมผัสที่บริเวณอื่นต่อโดยไม่ได้ล้างมือก่อน เช่น ปาก อวัยวะเพศ ตา จมูก วิธีนี้ยังเป็นช่องทางในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นด้วย
เริมที่จมูกมีอาการอย่างไร?
อาการของเริมสามารถเป็นได้หลายแบบขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเกิดโรคครั้งแรก หรือว่าเคยเป็นมาก่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเริ่มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยเด็ก หรือวัยรุ่น โรคเริมที่เป็นครั้งแรกจะมีระยะเวลาฟักตัว ประมาณ 3 – 7 วัน หลังได้รับเชื้อ ซึ่งส่วนมากมักไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะมีอาการดังนี้
- พบกลุ่มตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้นๆ
- มีอาการเจ็บ ปวด แสบร้อนบริเวณรอยโรค
- มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต
โดยแผลจะค่อยๆ แห้ง ตกสะเก็ด และหายในระยะเวลาประมาณ 2 – 6 สัปดาห์ เริมที่จมูก สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ แต่จะมีอาการน้อยกว่าเป็นครั้งแรก ขนาดตุ่มจะเล็กกว่า จำนวนเม็ดก็น้อยกว่าและไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ ผู้ป่วยอาจมีอาการนำ เช่น คัน ปวดแสบร้อน บริเวณที่จะเป็น หลังจากนั้นก็จะเกิดตุ่มน้ำขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม
การรักษา เริมที่จมูก
แม้ว่าจะไม่มียารักษาเริมให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่ยังมีวิธีในการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น ยารักษาโรคเริมจะช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้น และ ช่วยลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ แพทย์จะเป็นผู้แนะนำยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ ในขณะที่กำลังมีอาการแผลตุ่มพอง ตุ่มน้ำ แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาให้คุณเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเริม
โรคเริมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการและลดความรุนแรงของโรคได้โดยใช้ ยาต้านไวรัส ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการคัน ระคายเคือง และอาการปวดบริเวณที่ติดเชื้อ ยาที่มักใช้ในการรักษาโรคเริมมีดังนี้:
1. อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)
- เป็นยาต้านไวรัสรุ่นแรกที่ใช้ในการรักษาโรคเริม
- มีรูปแบบยาหลายชนิด เช่น ยาเม็ด ยาครีม และยาฉีด
- มีประสิทธิภาพในการลดระยะเวลาของอาการและช่วยป้องกันการแพร่เชื้อ
- มักใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงถึงปานกลาง
2. วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)
- เป็นยารุ่นใหม่ที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นอะไซโคลเวียร์ได้
- มีข้อดีคือออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า ทำให้รับประทานยาน้อยครั้งกว่าวันละ 1-2 ครั้ง
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อซ้ำ
3. ฟามไซโคลเวียร์ (Famciclovir)
- ยานี้มีความสามารถในการยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสคล้ายกับวาลาไซโคลเวียร์
- ใช้ได้ทั้งในกรณีที่เป็นครั้งแรกหรือการติดเชื้อซ้ำ
- มีประสิทธิภาพสูงในการลดระยะเวลาที่เกิดอาการและป้องกันการลุกลามของเชื้อ
วิธีการใช้ยารักษา เริมที่จมูก
- ยาต้านไวรัสเหล่านี้ควรรับประทานตามที่แพทย์แนะนำ
- ยิ่งเริ่มรับประทานเร็วหลังจากมีอาการแรกเริ่ม เช่น รู้สึกแสบ คัน หรือเกิดตุ่มน้ำ ยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดอาการ
หมายเหตุ
- ยาต้านไวรัสไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสเริมที่อยู่ในร่างกายทั้งหมด แต่ช่วยควบคุมไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายและลดการเกิดซ้ำ
- การดูแลสุขภาพ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียดหรือตากแดดจัด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำได้
หากคุณสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อคำแนะนำที่เหมาะสม
การป้องกันโรค เริมที่จมูก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผลเริมโดยตรง
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน เสื้อผ้า เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเริม
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นเริมที่จมูก
คุณสามารถบรรเทาอาการ เริมที่จมูก ได้โดยวิธีดังนี้
- อาบน้ำอุ่น
- ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นแผลเริม
- พยายามดูแลให้บริเวณแผลแห้ง ไม่อับชื้น เพราะความชื้นจะทำให้แผลหายช้า
- หลีกเลี่ยงการแกะ หรือเกาตุ่มน้ำ เพราะอาจทำให้แผลหายช้าลง และติดเชื้อซ้ำ
- ประคบเย็นบริเวณแผล (เช่น ใช้ถุงเจลประคบเย็น)
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล
โรคนี้อาจมีอาการค่อนข้างรุนแรง สำหรับคนที่มีอาการครั้งแรก แต่อาการจะเบาลงเรื่อยๆ หากเกิดขึ้นในครั้งถัดๆ ไป ปกติ เริมสามารถหายเองได้อยู่ ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้าอยากให้แผลหายไว ก็สามารถเอายามาทาได้ เมื่อหายแล้วก็ควรระวังไม่ให้ร่างกายภูมิคุ้มกันตกลง ไม่งั้นอาการของเริมจะกลับมาเป็นซ้ำได้
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- เข้าใจโรคเริม: วิธีการแพร่กระจายและวิธีป้องกัน
- ป้องกันโรคเริมได้ง่ายๆ เคล็ดลับ และวิธีปฏิบัติ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัยจากเริม
เริมที่จมูกเป็นการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยและเกิดจากไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (HSV) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด คัน และระคายเคืองบริเวณจมูก แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการและลดความรุนแรงของโรคได้ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ วาลาไซโคลเวียร์ หรือฟามไซโคลเวียร์ ฯลฯ การดูแลตนเอง เช่น การรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล และลดปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียดหรือการตากแดด จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดซ้ำ หากมีอาการรุนแรงหรือเป็นซ้ำบ่อยครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติม โรคเริมที่จมูกอาจเป็นเรื่องที่สร้างความรำคาญและไม่สบายตัว แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการใช้ยาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น