ปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วย ไวรัสตับอักเสบบี มากถึง 350 ล้านคน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย หลายคนมักสงสัยว่าไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม ซึ่งจากสถิติของประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีมากกว่า 3 ล้านคน อีกทั้งยังติดอันดับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม
ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร?
ไวรัสตับอักเสบบี คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B: HBV) ซึ่งในทางการแพทย์ได้แบ่งชนิดของเชื้อไวรัสตับอักเสบไว้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นชนิด เอ บี ซี ดี อี โดยไวรัสชนิดบีนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอักเสบของเซลล์ตับ มีโอกาสที่จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง จนส่งผลให้เกิดพังผืด ตับแข็ง และลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดนี้จำนวน 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถหายได้เอง และผู้ป่วยอีก 5 เปอร์เซ็นต์ อาจมีอาการลุกลามจนกลายเป็นการติดเชื้อชนิดเรื้อรังได้ในที่สุด
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อบุผิวต่างๆ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ จากร่างกายผู้ที่มีเชื้อไวรัส เช่น
- การติดเชื้อจากมารดาในระหว่างการคลอด
- การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีเชื้อ
- การติดเชื้อทางเลือด เช่น สัมผัสกับเลือดผู้ที่ติดเชื้อเข้าสู่บริเวณเยื่อบุต่างๆ การฝังเข็ม การสัก การเจาะหู การใช้เข็มฉีดยา และกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- การใช้แปรงสีฟัน ตัดเล็บ ก็มีโอกาสติดเช่นกัน
ไวรัสตับอักเสบบีมีกี่ประเภท
ไวรัสตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกายในช่วง 1-3 เดือน ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการที่รุนแรง แต่จะมีแค่อาการคล้ายอาการไข้ อาการหวัด รวมถึงปวดเมื่อยครั่นเนื้อครั่นตัว ตาเหลือง ตัวซีดเหลือง และมีค่าการทำงานตับสูงผิดปกติ หลังจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้ด้วยตัวเองภายในระยะเวลา 6 เดือน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำอาการอาจลุกลามสู่ไวรัสตับอักเสบระยะเรื้อรังได้
ไวรัสตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง
ผลมาจากผู้ป่วยได้รับเชื้อในร่างกายนานกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในระยะนี้มักติดเชื้อจากมารดาระหว่างการคลอด หรือได้รับเชื้อตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งหากมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ จะส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเกิดภาวะตับอักเสบทำให้เป็นระยะเรื้อรัง โดยระยะเรื้อรังนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น มะเร็งตับ ตับแข็ง เป็นต้น
อาการของไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน และบางรายอาจแสดงอาการที่ไม่รุนแรง สามารถสังเกตอาการโดยทั่วไปได้จากมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน มีอาการคล้ายหวัด น้ำหนักตัวลด ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม และจุกแน่นชายโครงขวา โดยที่อาการดังกล่าวจะเริ่มดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสได้ดีขึ้น และจะมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบภายในร่างกายได้ จึงส่งผลให้โรคเข้าสู่ระยะของการติดเชื้อเรื้อรัง
การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี
ขั้นตอน และวิธีการวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี แพทย์จะเลือกใช้วิธีการตรวจดังต่อไปนี้
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจวัดค่าการทำงานของตับ หรือ Liver function test
- การตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HbsAg
- การตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี Anti-HBS
- การตรวจหาพังผืดในตับ หรือ Fibro scan
- การตรวจชิ้นเนื้อตับ Liver Biopsy
การรักษาไวรัสตับอักเสบบี
การรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีนั้น แพทย์จะทำการแบ่งระยะของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย และทำการรักษาให้เหมาะสมกับอาการอย่างถูกต้อง เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายจะแสดงความรุนแรงที่แตกต่างกัน ดังนั้นแพทย์จะพิจารณารักษาตามความเหมาะสมของผู้ป่วย เช่น รักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส การใช้ยาฉีด Pegylated interferon หรือการผ่าตัดเปลี่ยนตับ
เพื่อลดปริมาณเชื้อไวรัส และยับยั้งไม่ให้ไวรัสทำลายเซลล์ตับให้ได้มากที่สุด จนตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในร่างกายอีก
โดยแพทย์จะเลือกทำการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มีผลตรวจวินิจฉัย HBsAg เป็นผลบวกเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยที่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีการแบ่งตัวอย่างมาก หรือผู้ป่วยที่ค่าเอนไซม์ตับสูงเกินกว่าค่าปกติมากถึง 1.5-2 เท่า และผู้ป่วยที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงภายในเนื้อตับอยู่ในระยะที่สมควรให้การรักษา
ไวรัสตับอักเสบบีตรวจที่ไหน ?
จังหวัด | สถานที่ตรวจ | ราคา |
---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | คลินิกนิรนาม | คนไทยตรวจฟรี |
กรุงเทพมหานคร | เซฟ คลินิค | 200-500 บาท |
เชียงใหม่ | โรงพยาบาลนครพิงค์ | ฟรี |
ลำปาง | โรงพยาบาลลำปาง | ฟรี |
น่าน | โรงพยาบาลน่าน | ฟรี |
พิษณุโลก | โรงพยาบาลพุทธชินราช | ฟรี |
นนทบุรี | โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า | ฟรี |
ปทุมธานี | โรงพยาบาลปทุมธานี | ฟรี |
สมุทรปราการ | โรงพยาบาลสมุทรปราการ | ฟรี |
ขอนแก่น | โรงพยาบาลขอนแก่น | ฟรี |
บุรีรัมย์ | โรงพยาบาลบุรีรัมย์ | ฟรี |
อุบลราชธานี | โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ | ฟรี |
กระบี่ | โรงพยาบาลกระบี่ | ฟรี |
ภูเก็ต | โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต | ฟรี |
ต่างจังหวัด | โรงพยาบาลของรัฐ | ฟรี |
คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี
ถ้าแม่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบี ลูกจะเป็นไหม ?
- แม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ทารกจะมีโอกาสติดโรคจากมารดาได้ประมาณร้อยละ 40-90 เพศชายที่ติดเชื้อ เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มีโอกาสเป็นโรคตับสูงกว่า เพศหญิงที่ติดเชื้อ แต่ในทารกเพศหญิงที่ติดเชื้อก็จะเติบโตเป็นมารดาที่เป็นพาหะต่อไป การติดเชื้อของทารกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างการคลอด
จะทราบได้อย่างไร? ว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- มีวิธีเดียวคือการตรวจเลือด สะดวก และรวดเร็ว
พาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ?
- คือผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อยู่ในร่างกายแต่ไม่มีอาการตับอักเสบ บุคคลที่เป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ไวรัสตับอักเสบบีมีกี่ระยะ ?
- มี 2 ระยะ คือ ระเฉียบพลับ และระยะเรื้อรัง
วิธีการป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายตับ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้อื่น
- ไม่ใช้เข็มฉีดยา หรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน
- ฉีดวัคซีนป้องกันในเด็กแรกเกิด
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ดูแลตัวเองอย่างไร ? เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบี
- งดบริจาคโลหิต
- ออกกำลังกายแบบเบาๆ ไม่ควรหักโหม
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- พักผ่อนให้พอเพียง ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
- ก่อนรับประทานยาทุกชนิด ควรแจ้ง และปรึกษาแพทย์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นการกระตุ้นการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส
- ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อตรวจเลือด เช็คประสิทธิภาพการทำงานของตับเป็นระยะๆ
- แนะนำให้คนในครอบครัว หรือผู้ที่อยู่บ้านเดียวกัน ให้ตรวจเลือด และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
บทความเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี
สรุป
โรคตับอักเสบจากไวรัสบี รักษายากแต่ปัจจุบันสามารถป้องกันได้ ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสบีซึ่งได้ผล และสามารถฉีดได้ง่ายจาก โรงพยาบาล และคลินิคทั่วไป
อ้างอิงข้อมูลจาก
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี bumrungrad.com