Hepatitis B

In other articles on this website, we have talked about human immunodeficiency virus or HIV and AIDS (acquired immunodeficiency syndrome) including its treatment and prevention such as condoms, pre-exposure prophylaxis (PrEP), and post-exposure prophylaxis (PEP). HIV, however, is not the only sexually transmitted infection that you should be aware of.​

One of these is Hepatitis B, a liver disease that is infectious. Healthcare providers note thatHepatitis B is 50 to 100 times more contagious than HIV. The good news is there are vaccines available to prevent Hepatitis B transmission. In this article, we will discuss this disease, its symptoms, transmissions, as well as prevention and treatment.

ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ?

An infectious liver disease, Hepatitis B is caused by a virus that is called the Hepatitis B virus (HBV). For some people, Hepatitis B can be “acute”, which means that they will experience a mild to severe illness within the first six months of exposure to the virus. Some people may recover from the acute infection, which means that they will become immune (and not get Hepatitis B again)  and not spread the virus to others.​

For other people, Hepatitis B can develop into a chronic infection. In this case, Hepatitis B will stay in their body and the virus can spread to other people. Hepatitis B may cause further complications such as cirrhosis and liver cancer.

อาการของไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ

  1. ไวรัสตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน มีอาการเป็นเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า
  2. ไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง มีอาการนานกว่า 6 เดือน

อาการที่อาจพบได้ในแต่ละระยะ

ตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน

  • ไข้
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ปัสสาวะเหลืองเข้ม
  • ตาเหลือง
  • ดีซ่าน
  • ตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง
  • น้ำหนักลด
  • ดีซ่าน

หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ

ตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร ?

  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการติดเชื้อขณะลูกคลอดจากแม่ที่มีเชื้อนี้อยู่ (มีโอกาสได้รับเชื้อมากถึง 90%) หากไม่ได้รับการตรวจรักษาก่อนวางแผนมีบุตร
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มเจาะ สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหูที่ไม่ได้ทำจากอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างมีมาตรฐาน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการถูกเข็มทิ่มตำจากการทำงาน ในกรณีของบุคลากรทางการแพทย์
  • ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล

สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ ตับอักเสบบี

  • ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการกอด
  • ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการรัปทานอาหาร และใช้ช้อนส้อมร่วมกัน

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี

ตรวจเลือดประเมินดู HBeAg และ HBeAb ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกว่าโรคอยู่ในระยะที่ไวรัสกำลังแบ่งตัว หรือผ่านระยะที่ไวรัสแบ่งตัวไปแล้ว ตรวจ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในเซลล์ตับ ถ้าค่าอยู่ในระดับปกติให้ติดตาม ALT ทุก 3 – 6 เดือน ในกรณีที่ HBeAg เป็นลบแต่ผู้ป่วยมี ALT ผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ

เช่น ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับในครอบครัว ตรวจร่างกายพบลักษณะของการมีโรคตับเรื้อรัง ALT อยู่ในเกณฑ์มากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าปกติ อัลตราซาวนด์มีลักษณะผิดปกติของตับ ควรตรวจดูปริมาณไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test)

เจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัส ตับอักเสบบี
  • Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และหายจากโรคแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจึงไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอีก

การวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 6 เดือนหลังจากวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน หากพบว่าร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงจะวินิจฉัยว่าเป็น “โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

การตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ แพทย์จะใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเพื่อเก็บชิ้นเนื้อจากตับ การตรวจนี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย ทำเฉพาะในผู้ป่วย ตับอักเสบเรื้อรัง ที่ต้องการติดตามการดำเนินไปของโรค เช่น ต้องการทราบภาวะพังผืดในตับ และการอักเสบของเซลล์ตับ ซึ่งจะมีผลในการเริ่มต้นการรักษา หรือสงสัยมะเร็งตับ เป็นต้น

การรักษาไวรัส ตับอักเสบบี

ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาไวรัส ตับอักเสบบี มี 2 กลุ่มได้แก่ ยาฉีด pegylated-interferon alpha และยารับประทาน (oral nucleoside/nucleotide analogs) โดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของการรักษาด้วย 2 วิธีมีดังต่อไปนี้

ยาฉีด pegylated-interferon alph

  • ออกฤทธิ์เป็น immunomodulator โดนหวังผลให้เกิด long-term immunological control จึงไม่มีปัญหาเรื่อง HBV resistance
  • มีระยะเวลาการรักษาที่แน่นอน
  • พบผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น flu-like symptoms, fatigue, mood disturbances, cytopenias, autoimmune disorder
  • ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย decompensated cirrhosis
  • การตัดสินใจรักษาด้วยยากลุ่มนี้ ควรใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ เช่น HBV DNA, HBeAg หรือ HBsAg titer เพื่อช่วยในการประเมินโอกาสการตอนสนองต่อการรักษา

ยารับประทานชนิด oral nucleoside/nucleotide analogs

  • ออกฤทธิ์ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงอาจทำให้เกิด HBV resistance เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง โดยยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่มตามโอกาสในการเกิด HBV
  • resistance คือ low barrier to resistance (ได้แก่ lamivudine, adefovir และ telbivudine) และ high barrier to resistance (ได้แก่ entecavir, tenofovir disoproxil
  • fumarate (TDF) และ tenofovir alafenamide (TAF)
  • ไม่มีระยะเวลาการรักษาแน่นอน คือรับประทานยาไปจนกว่าจะถึง treatment endpoint คือ HBeAg seroconversion ใน HBeAg positive หรือ HBsAg
  • loss/seroconversion ใน HBeAg negative
  • พบผลข้างเคียงได้แต่มักไม่รุนแรง เช่น lamivudine (เกิด pancreatitis, lactic acidosis) หรือ TDF (nephropathy, Fanconi syndrome, osteomalacia, lacticacidosis)

วิธีป้องกันไวรัส ตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน กลุ่มคนที่เข้าข่ายควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีมากที่สุด ได้แก่ เด็กทารกแรกเกิด แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือไม่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ตอนเด็ก หากต้องการฉีดควรทำการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน

กลุ่มเสี่ยงจริงๆ ที่แพทย์เน้นย้ำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน คือ บุคคลที่อยู่ในครอบครัวของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่มีความเสี่ยงบ่อย ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันบ่อยครั้ง โดยการฉีดจะต้องฉีดให้ครบจำนวน 3 เข็ม จึงจะสามารถป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้

อาการของไวรัสตับอักเสบบี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ผู้ป่วยระยะเฉียบพลันส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยระยะเรื้อรังอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง น้ำหนักลด และดีซ่าน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ โรคตับแข็ง มะเร็งตับ และภาวะตับวาย การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งจากผู้อื่น