ฝีที่ทวารหนักจากเพศสัมพันธ์ เรื่องจริงที่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกัน และรักษา

ฝีทวารหนัก

โรคฝีคัณฑสูตร หรือฝีทวารหนัก คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู สาเหตุการเกิดฝีที่ทวารหนัก คือ การติดเชื้อโรคที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยอาการของโรคฝีทวารหนัก จะรู้สึกปวด และบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆ รูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรู มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆ รูฝี โดยการรักษาอาจจะต้องใช้การผ่าตัด หรือดูดหนอง

ฝีคัณฑสูตร โรคนี้ถือเป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง ซึ่งโรคฝีที่ทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อของต่อมชนิดหนึ่ง บริเวณทวารหนัก ต่อมนี้ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น เพื่อช่วยการขับถ่าย เมื่อต่อมชนิดนี้อับเสบ และติดเชื้อ จะเกิดฝีที่ทวารหนักได้ ฝีที่ทวารหนัก มักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด และการติดเชื้อนั้นจะขยายไปรอบๆ ของทวารหนัก การอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู สาเหตุหลักของการเกิดฝีที่ทวารหนัก พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทุกเพศ และทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง 2 เท่าตัว และเกิดมากในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป

Love2Test

สาเหตุของโรคฝีทวารหนัก

สำหรับโรคฝีคัณฑสูตร มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมภายในทวารหนัก เช่น เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นของเสียที่อุจาระ และของเสีย สาเหตุของการติดเชื้อนั้น สามารถแบ่งเป็นสาเหตุได้ ดังนี้

  • เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn Disease Ulcerative Colitis
  • มีแผลที่บริเวณขอบทวารหนัก
  • โรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • โรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซิฟิลิส
  • โรคแทรหซ้อนจากการติดเชื้อวัณโรค
  • โรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหนองใน
  • ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Actinomycosis Chlamydia
  • มีเนื้อร้าย มะเร็งทวารหนัก หรือโรคมะเร็งผิวหนัง
  • มีประวัติเคยเข้ารับการรักษา โดยการฉายรังสีรักษาบริเวณท้องน้อย และทวารหนัก
  • มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณทวารหนัก หรือเคยเข้ารับการผ่าตัดที่ทวารหนัก

อาการของผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ทวารหนักนั้น จะมีอาการปวด และบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆ รูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆ รูฝี ในกรณีเกิดการติดเชื้อ และเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น รวมถึงมีไข้ ฝีจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นจนเห็นผิวหนังบวมอย่างชัดเจนมากขึ้นตามการอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับการรักษาฝีที่ทวารหนักนั้น หรือการรักษาโรคฝีคัณฑสูตร ใช้การผ่าฝี เพื่อระบายหนองออกจากแผล และให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการปวด และอักเสบ รวมถึงดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีหลายเทคนิค และวิธีในการรักษา ประกอบด้วย ไขสันหลัง หรือการดมยาสลบ

ทำโดยการใส่ตัวนำทาง Probe เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนัง จนกระทั่งไปโผล่ออกที่รูเปิดภายในทวารหนัก แล้วใช้มีดกรีดเปิดเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอก แล้วจี้ทำลายตลอดความยาวของ tract เปิดแผลไว้ โดยปกติแล้วจะหายเองภายใน 5 สัปดาห์ วิธีนี้ใช้กับฝีคัณฑสูตรชนิด intersphincteric fistula แต่อาจมีปัญหาด้านกลั้นผายลมได้ไม่ดี

  • Seton ligation วิธีนี้ทำเหมือนวิธี Fistulotomy แต่เนื่องจากมีการ involve external sphincter ด้วยจึงต้องใช้วิธีรัดส่วนของ external sphincter แล้วค่อยๆ ตัดให้ขาด วิธีนี้ฝีที่ทวารหนักจะหายในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีชนิด Complex fistulas
  • Fistulectomy วิธีนี้การรักษาใช้วิธีการรักษาคล้ายกับ Fistulotomy แต่จะตัดส่วนของเส้นทางเชื่อมต่อ Fistula tract ออกไปด้วย แล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนของลำไส้มาปิดแผล และเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด ในกรณีที่เกิดฝีหนองกำเริบ ให้รักษาฝีหนองให้หายก่อน ด้วยการกรีบหนองออก และใช้ยาปฏิชีวนะช่วย เมื่อหายอักเสบแล้วจึงค่อยผ่าตัดเอาฝีออก

การป้องกันโรคฝีทวารหนัก หรือโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร นั้นสามารถป้องกันการเกิดฝีได้ดังต่อไปนี้

  • ระมัดระวัง และป้องกันการเกิดแผลที่ทวารหนัก โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์
  • รับประทานอาหารจำพวกผัก และผลไม้ ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อป้องกันการเกิดท้องผูก
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย
  • ทำความสะอาดก้น หลังจากการถ่ายอุจจาระให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันสิ่งสกปรกที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือหากมีแผลที่ปากทวารหนัก ให้รักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า