ติดหนองในต้องทำอย่างไร คำแนะนำการดูแลตัวเองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ติดหนองใน

โอกาสในการ ติดหนองใน มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โรคนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงานที่มีพฤติกรรมทางเพศไม่ปลอดภัย ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงความสะดวกสบายที่เอื้ออำนวยให้คนพบเจอกันได้ง่าย จึงมีความเสี่ยงง่ายด้วยเช่นกัน

อะไรคือหนองใน?

หนองในนั้น แบ่งออกตามชนิดของแบคทีเรียที่ติดเชื้อ โดยหนองในแท้นั้นจะมาจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Neisseria Gonorrhoeae และหนองในเทียม มาจากแบคทีเรียชื่อ Chlamydia Trachomatis ซึ่งหนองในเทียม จะมีความแตกต่างจากหนองในแท้ ตรงระยะฟักตัวของเชื้อที่นานกว่า หรือในบางคนที่ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงมากๆ แทบไม่ปรากฏอาการเลยเป็นเดือนๆ จึงทำให้รู้ตัวได้ยากว่าติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว โรคนี้จึงมีความอันตราย และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ติดหนองใน แล้วมีอาการแบบไหน

ผู้หญิง

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • รู้สึกแสบ และเจ็บเวลาปัสสาวะ
  • ปวดช้ำบริเวณท้องน้อย
  • เจ็บท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น
  • มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด
  • รู้สึกคัน และแสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศ

ผู้ชาย

  • มีหนองไหลออกจากปลายองคชาติ
  • หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเกิดการอักเสบ
  • ปวดช้ำบริเวณลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง
  • รู้สึกแสบ หรือเจ็บเวลาปัสสาวะ
  • มีมูกใส หรือขุ่นไหลออกจากปลายองคชาติ

ติดหนองใน มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร

หลายคนเข้าใจว่าการ ติดหนองใน พวกนี้อย่างไรก็สามารถหายไปได้เอง ซึ่งก็อาจจะใช่ แต่มันเป็นจำนวนน้อย ดังนั้น เมื่อคุณรู้ตัวว่าติดหนองใน ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางผู้มีความเชี่ยวชาญจะดีที่สุด โดยก่อนการรักษา แพทย์จำเป็นจะต้องซักประวัติความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อก่อน จากนั้นจึงจะทำการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  • การเก็บตัวอย่างเชื้อ (Swap Test) จะเป็นการใช้อุปกรณ์เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก ปลายองคชาติ หรือลำคอ นำไปตรวจหาเชื้อ
  • การตรวจปัสสาวะ (Urine Test) จะเป็นการเก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ติดเชื้อที่เป็นเพศชายไปตรวจ โดยผู้ตรวจจะต้องไม่ปัสสาวะเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนการตรวจ เพราะถ้าหากเก็บปัสสาวะสดใหม่จะเป็นการชะล้างเชื้อแบคทีเรียออกไป ทำให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ

ทั้งหนองในแท้ และหนองในเทียม สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยใช้ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดรับประทาน และฉีดซึ่งได้ผลดี แต่ก็มีโอกาสที่เชื้อดื้อยาได้ และในการรักษาจะได้ผลดี หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ติดเชื้อด้วยว่าปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพียงใด และควรชวนคู่นอนของคุณมาทำการตรวจรักษาไปพร้อมๆ กันด้วย เมื่อหายดีแล้ว ก็ควรหาโอกาสกลับไปตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันผลว่าหายขาดจากโรคแล้วจริงๆ

ติดหนองใน ไม่รักษาได้ หรือไม่

หากคุณติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้ หรือเทียม และคุณไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนที่แตกต่างกันไปในแต่ละเพศ ดังนี้

โรคแทรกซ้อนในเพศชาย

ต่อมลูกหมากติดเชื้อ หรืออันฑะอักเสบ

  • เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปที่ลูกอันฑะ หลอดเก็บน้ำอสุจิ และต่อมลูกหมาก ทำให้รู้สึกเป็นไข้ ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว อ่อนเพลีย ปวดบวมบริเวณขาหนีบ เจ็บเวลาปัสสาวะ ผู้ป่วยหนองในบางรายอาจมีอาการลูกอัณฑะฝ่อ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอันเกิดความเสียหายในระยะยาว เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก และอาจทำให้เป็นหมันได้

โรคไรเตอร์ (ข้ออักเสบ)

  • ทำให้เกิดภาวะที่ข้อต่อกระดูกตามร่างกายเกิดการอักเสบ ปวดข้อ ข้อติด ข้อบวม ขยับข้อต่อได้ไม่เต็มที่ รู้สึกเวียนศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลดลง สูญเสียแรงบีบมือ แรงในการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้หากไม่ได้รับการรักษา

เยื่อบุตาอักเสบ

  • ทำให้เกิดอาการตาแดงบริเวณตาขาว หรือเปลือกตาด้านใน รู้สึกคันตา แสบตา ตาพร่ามัว เยื่อบุตาบวม ตาแฉะ หรือมีน้ำตาไหลผิดปกติ มีขี้ตาสีเหลืองที่เปลือกตา หรือขนตา มักจะเกิดขึ้นเฉพาะดวงตาด้านใดด้านหนึ่ง และค่อยแพร่เชื้อไปยังอีกข้าง

โรคแทรกซ้อนในเพศหญิง

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

  • เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก และรังไข่ได้ ทำให้ปวดท้องน้อย หรือมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ ภาวะตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดแสบขณะปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาเชื้ออาจรุนแรงเพิ่มขึ้น จนลุกลามไปทำลายระบบสืบพันธุ์ได้ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ

  • พบก้อนนูน หรือถุงน้ำขนาดเล็ก และไม่มีการอักเสบ หากไม่ได้สังเกต เนื่องจากไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกได้หากขนาดเริ่มใหญ่ขึ้น ไม่สบายตัวเวลานั่ง หรือเดิน ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งตามมาได้

ช่องคลอดอักเสบ

  • เกิดอาการระคายเคือง รู้สึกคัน และมีตกขาวผิดปกติ ซึ่งมีสีเขียว เทา หรือสีขาว มีลักษณะเป็นน้ำ ฟอง หรือเป็นแผ่นๆ แสบร้อนเวลาปัสสาวะ มีกลิ่นเหม็นคาวปลา และเหม็นยิ่งขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์

โรคปีกมดลูกอักเสบ

  • เกิดการอุดตันของท่อรังไข่จนเกิดอาการอักเสบ ปวดท้องน้อย ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง โดยเฉพาะตอนที่มีเพศสัมพันธ์ หรือตอนที่มีประจำเดือน มีเลือดออกทางช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอย ตกขาวมีสี และกลิ่นผิดปกติ และปัสสาวะบ่อย

หากกำลังตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตร จะทำให้เด็กติดเชื้อหนองในไปด้วย เกิดอาการตาอักเสบ และอาจทำให้เด็กตาบอดได้

ถุงยางอนามัยป้องกันหนองในได้

หนองใน สามารถป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้ มีข้อดีตรงที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ราคาไม่แพง และมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันหนองในได้มากถึง 90% ถุงยางอนามัยไม่มีผลข้างเคียงในการใช้งาน หากเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตัวเอง และรู้จักวิธีการเก็บถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง

การที่จะหลีกเลี่ยง ติดหนองใน ได้นั้น วิธีหนึ่งที่แนะนำให้กับทุกคน คือ หมั่นตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือหลังจากมีความเสี่ยงให้สันนิษฐานได้เลยว่าคุณมีโอกาสติดโรคใดโรคหนึ่ง ถ้าหากพบโรค จะได้รีบทำการรักษาเพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง หากโรคนี้เกิดขึ้นกับคุณจริงๆ ก็มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยคิดไปเองว่าจะหายจากโรคได้ หรือไปหาเภสัชเพื่อซื้อยามาทานเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด และยังทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาจริงๆ ได้ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า