ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกัน HIV ได้ดีแค่ไหน

เพร็บ ป้องกันเอชไอวี

ยาเพร็พ (PrEP) หรือยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง เริ่มเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเพศ ของสังคมยุคออนไลน์ในปัจจุบัน เพราะมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีอัตราการเปลี่ยนคู่นอนสูง เนื่องจากสามารถนัดเจอกันได้ง่าย ผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่าย

ยาเพร็พ (PrEP) ช่วยลดความเสี่ยง HIV ได้อย่างไร

เพร็พ หรือ PrEP ย่อมาจากคำว่า Pre-Exposure Prophylaxis เป็นสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง โดยมีกลไกการทำงานที่จะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่อาจเข้ามาในร่างกาย ทำให้ไวรัสฯ ไม่สามารถเจริญเติบโต และถูกกำจัดออกไปจากร่างกายได้ในที่สุด

ใครบ้างที่เหมาะจะใช้ยาเพร็พ

จงจำไว้ว่า ยาเพร็พ (PrEP) ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีเท่านั้น หากคุณเข้าข่ายความเสี่ยงต่อเชื้อดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอเข้ารับยาเพร็พทันที

  • ผู้ที่มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยบ่อยครั้ง
  • ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดต่าง
  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่เคยรับยาเป๊ป (PEP) บ่อยครั้ง
เพร็พป้องกันHIV-2

ยาเพร็พ ซื้อที่ไหน อยากได้ต้องทำอย่างไร

การจะเริ่มทานยาเพร็พได้นั้น คุณจำเป็นต้องติดต่อสถานพยาบาลเท่านั้น เพราะแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับใช้ยานี้ได้อย่างถูกต้อง ไม่สามารถหาซื้อยาชนิดนี้ตามร้านขายยา หรือช่องทางออนไลน์ เพราะก่อนการทานยาเพร็พจะต้องมีการตรวจเช็คสุขภาพโดยรวมเสียก่อน
ยาเพร็พควรทานก่อนมีความเสี่ยงประมาณ 7 วัน และทานต่อเนื่องทุกวัน เวลาเดียวกัน คล้าย ๆ กับยาคุมกำเนิดของผู้หญิง เพื่อให้ในร่างกายมีปริมาณยาอยู่จำนวนมากพอที่จะป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ หรือใครที่สามารถกำหนดวันเวลาได้ว่าตนเองจะมีความเสี่ยงในช่วงไหน ก็สามารถทานยาเพร็พแบบ On-demand ได้ กล่าวคือ การทานยาตามความต้องการ โดยสูตรการทานแบบนี้คือ 2:1:1 ได้แก่ ทานยาเพร็พ 2 เม็ด 2-4 ชั่วโมงก่อนมีความเสี่ยง จากนั้นให้ทานยาอีก 1 เม็ดหลังมีเพศสัมพันธ์ 1 วัน และทานอีก 1 เม็ดหลังมีเพศสัมพันธ์ 2 วัน
หลังจากได้รับยาไปแล้วนั้น แพทย์จะนัดตรวจเลือดเพื่อติดตามผลที่ 1 เดือน และหลังจากนั้นจะนัดอีกทุก ๆ 3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ติดเชื้อ ถ้าคุณไม่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วก็สามารถหยุดยาได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ พร้อมกับตรวจเลือดเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของยาเพร็พ ก่อนทำการหยุดยา

ทานยาเพร็พแล้วทำไมถึงยังต้องใส่ถุงยางอนามัยล่ะ?

เนื่องจากประสิทธิภาพของยา ไม่สามารถป้องกันเชื้ออื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคซิฟิลิส โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน โรคหูดหงอนไก่ โรคเริม เป็นต้น เราจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ถึงแม้ว่า ยาเพร็พจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่า 90% แต่ยังมีอีก 10 % ที่เราจำต้องรับความเสี่ยงจากคู่นอน ที่เราไม่รู้ว่ามีเชื้ออยู่หรือไม่ อะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นการป้องกันสองชั้นด้วยเพร็พ+ถุงยางอนามัย ย่อมมีความปลอดภัยมากที่สุด

ยาเพร็พ รับได้ที่ไหน

หน่วยบริการของรัฐ

ภาคเหนือ

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.เชียงใหม่โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชยีงของ
โรงพยาบาลนครพิงค์
โรงพยาบาลชุมชนเชียงดาว 
โรงพยาบาลทั่วไปฝาง
โรงพยาบาลชุมชนสันป่าตอง
โรงพยาบาลชุมชนไชยปราการ
2.น่านโรงพยาบาลทั่วไปน่าน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
3.พะเยาโรงพยาบาลชุมชนเชียงม่วน
4.แพร่โรงพยาบาลทั่วไปแพร่
5.ลำปางโรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช
โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์
โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร
6.แม่ฮ่องสอนโรงพยาบาลทั่วไปศรีสังวาลย์
7.ลำพูนโรงพยาบาลทั่วไปลำพูน
โรงพยาบาลชุมชนแม่ทา
โรงพยาบาลชุมชนลี้
8.อุตรดิตถ์โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์
โรงพยาบาลชุมชนน้ำปาด
โรงพยาบาลชุมชนพิชัย
โรงพยาบาลชุมชนลับแล

ภาคกลาง

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.กรุงเทพฯโรงพยาบาลเลิดสิน
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลวชิรโรงพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์
วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
โรงพยาบาลกลาง

โรงพยาบาลตากสิน
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ชุตินธโร อุทิศ
โรงพยาบาลเจรญกรุงประชารักษ์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 – บางซื่อ

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 – ดินแดง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 – ประชาธิปไตย
ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 – วัดธาตุทอง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 – วัดปากบ่อ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 – สี่พระยา

ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 – ห้วยขวาง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 – เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 – กรุงธนบุรี
ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 – ช่วงนุชเนตร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 – บุคคโล

ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 – คลองเตย
ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 – มีนบุรี
ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 – นาควัชระ อุทิศ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 – สังวาลย์ ทัสนารมย์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 – คลองสามวา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดล
โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
โรงพยาบาลสิรินธร

คลินิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก
2.กำแพงเพชรโรงพยาบาลกำแพงเพชร
โรงพยาบาลชุมชนคลองขลุง
โรงพยาบาลชุมชนพรานกระต่าย
3.กาญจนบุรีโรงพยาบาลทั่วไปพหลพลพยุหเสนา
โรงพยาบาลทั่วไปมะการักษ์
4.พิษณุโลกโรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช
โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์
โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร
5.เพชรบูรณ์โรงพยาบาลชุมชนศรีเทพ
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหลมเก่า
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
6.สุโขทัยโรงพยาบาลสุโขทัย
7.ชัยนาทโรงพยาบาลชุมชนสรรคบุรี
โรงพยาบาลชุมชนหันคา
8.นครสวรรค์โรงพยาบาลศูนย์สวรรค์ประชารักษ์
9.พิจิตรโรงพยาบาลทั่วไปพิจิตร
โรงพยาบาลชุมชนบางมูลนาก
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน
10.นครนายกโรงพยาบาลนครนายก
โรงพยาบาลชุมชนองครักษ์
11.นนทบุรีโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
โรงพยาบาลปากเกร็ด
โรงพยาบาลบางกรวย
โรงพยาบาลบำราศนราดูร
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
12.ปทุมธานีโรงพยาบาลทั่วไปปทุมธานี
โรงพยาบาลธรรมศาสตรเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
13.พระนครศรีอยุธยาโรงพยาบาลทั่วไปเสนา
14.อ่างทองโรงพยาบาลชุมชนวิเศษชัยชาญ
15.สระบุรีโรงพยาบาลสระบุรี
โรงพยาบาลพระพุทธบาท
16.นครปฐมโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
โรงพยาบาลกำแพงแสน
โรงพยาบาลชุมชนนครชัยศรี
โรงพยาบาลชุมชนห้วยพลู
โรงพยาบาลชุมชนพุทธมณฑล
โรงพยาบาลชุมชนหลวงพ่อเปิ่น
17.ประจวบคีรีขันธ์โรงพยาบาลทั่วไปประจวบคีรีขันธ์
18.เพชรบุรีโรงพยาบาลทั่วไปพระจอมเกล้า
โรงพยาบาลชุมชนหนองหญ้าปล้อง
โรงพยาบาลชะอำ
โรงพยาบาลท่ายาง
19.ราชบุรีโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
โรงพยาบาลชุมชนปากท่อ
20.สมุทรสงครามโรงพยาบาลทั่วไปสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
21.สมุทรสาครโรงพยาบาลสมุทรสาคร
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
22.สมุทรปราการโรงพยาบาลเซ็นทรัลปาร์ค
โรงพยาบาลบางบ่อ

ภาคตะวันออก

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.ระยองโรงพยาบาลระยอง
2.จันทบุรีโรงพยาบาลชุมชนท่าใหม่
3.ฉะเชิงเทราโรงพยาบาลชุมชนบางคล้า
โรงพยาบาลบางปะกง
โรงพยาบาลบ้านโพธิ์
โรงพยาบาลพนมสารคาม
โรงพยาบาลแปลงยาว
4.ชลบุรีโรงพยาบาลทั่วไปบางละมุง
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
5.ตราดโรงพยาบาลทั่วไปตราด
โรงพยาบาลชุมชนคลองใหญ่
โรงพยาบาลชุมชนเกาะช้าง
6.ปราจีนบุรีโรงพยาบาลทั่วไปกบินทร์บุรี
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.สระแก้วโรงพยาบาลชุมชนคลองหาด
โรงพยาบาลชุมชนวังน้ำเย็น
โรงพยาบาลชุมชนวัฒนานคร
โรงพยาบาลชุมชนเขาฉกรรจ์
โรงพยาบาลวังสมบูรณ์
2.กาฬสินธุ์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
โรงพยาบาลชุมชนกมลาไสย
3.ขอนแก่นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
โรงพยาบาลหนองเรือ
โรงพยาบาลน้ำพอง
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน
โรงพยาบาลทั่วไปชุมแพ
โรงพยาบาลชุมชนบ้านไผ่
โรงพยาบาลชุมชนแวงน้อย
โรงพยาบาลชุมชนมัญจาคีรี
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.มหาสารคามโรงพยาบาลทั่วไปมหาสารคาม
โรงพยาบาลวาปีปทุม
5.ร้อยเอ็ดโรงพยาบาลชุมชนจตุรพักตรพิมาน
โรงพยาบาลชุมชนธวัชบุรี
โรงพยาบาลชุมชนพนมไพร
โรงพยาบาลชุมชนโพนทอง
โรงพยาบาลชุมชนหนองพอก
โรงพยาบาลชุมชนเสลภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนสุวรรณภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนจังหาร
6.นครพนมโรงพยาบาลทั่วไปนครพนม
โรงพยาบาลชุมชนโพนสวรรค์
7.บึงกาฬโรงพยาบาลบึงกาฬ
โรงพยาบาลชุมชนพรเจรญิ
โรงพยาบาลชุมชนโซ่พิสัย
โรงพยาบาลชุมชนเซกา
โรงพยาบาลชุมชนบุ่งคล้า
8.เลยโรงพยาบาลทั่วไปเลย
9.สกลนครโรงพยาบาลสกลนคร
โรงพยาบาลชุมชนกุดบาก
โรงพยาบาลชุมชนคำตากล้า
โรงพยาบาลชุมชนบ้านม่วง
โรงพยาบาลชุมชนอากาศอำนวย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
10.หนองคายโรงพยาบาลทั่วไปหนองคาย
โรงพยาบาลโพนพิสัย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
11.หนองบัวบำภูโรงพยาบาลทั่วไปหนองบัวลำภู
โรงพยาบาลโนนสัง
12.อุดรธานีโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
โรงพยาบาลกุดจับ
โรงพยาบาลกุมภวาปี
โรงพยาบาลศรีธาตุ
โรงพยาบาลชุมชนหนองหาน

โรงพยาบาลชุมชนทุ่งฝน
โรงพยาบาลชุมชนไชยวาน
โรงพยาบาลชุมชนบ้านผือ
โรงพยาบาลชุมชนเพ็ญ
โรงพยาบาลชุมชนหนองแสง

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
13.ชัยภูมิโรงพยาบาลทั่วไปชัยภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนเกษตรสมบูรณ์
โรงพยาบาลทั่วไปภูเขียวเฉลมพระเกียรติ
โรงพยาบาลชุมชนแก้งคร้อ
14.นครราชสีมาโรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครราชสีมา
โรงพยาบาลชุมชนจักราช
โรงพยาบาลชุมชนด่านขุนทด
โรงพยาบาลทั่วไปพิมาย
โรงพยาบาลชุมชนสีคิ้ว
โรงพยาบาลทั่วไปปากช่องนานา
โรงพยาบาลเดอะโกลเดนเกท
โรงพยาบาลทั่วไปเทพรัตน์นครราชสีมา
15.บุรีรัมย์โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์
โรงพยาบาลทั่วไปนางรอง
16.สุรินทร์โรงพยาบาลศูนย์สรินทร์
โรงพยาบาลปราสาท
17.มุกดาหารโรงพยาบาลทั่วไปมุกดาหาร
โรงพยาบาลชุมชนหว้านใหญ่
18.ยโสธรโรงพยาบาลทั่วไปยโสธร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
โรงพยาบาลชุมชนกุดชุม
โรงพยาบาลชุมชนคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลชุมชนป่าติ้ว

โรงพยาบาลชุมชนค้อวัง
โรงพยาบาลชุมชนไทยเจริญ
19.ศรีสะเกษโรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ
โรงพยาบาลชุมชนกันทรารมย์
โรงพยาบาลชุมชนศรีรัตนะ
20.อำนาจเจริญโรงพยาบาลชุมชนเสนางคนิคม
21.อุบลราชธานีโรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์
โรงพยาบาลทั่วไปวารินชำราบ
โรงพยาบาลชุมชนพิบูลมังสาหาร
โรงพยาบาลชุมชนสิรินธร

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
โรงพยาบาลทั่วไป 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์
โรงพยาบาลนาเยีย

ภาคใต้

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.กระบี่โรงพยาบาลทั่วไปกระบี่
โรงพยาบาลชุมชนเขาพนม
โรงพยาบาลชุมชนอ่าวลึก
โรงพยาบาลชุมชนลำทับ
โรงพยาบาลชุมชนเหนือคลอง
2.ชุมพรโรงพยาบาลชุมชนปะทิว
โรงพยาบาลชุมชนหลังสวน
3.นครศรีธรรมราชโรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครศรีธรรมราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง
โรงพยาบาลชุมชนชะอวด
โรงพยาบาลชุมชนท่าศาลา
โรงพยาบาลทั่วไปสิชล
โรงพยาบาลชุมชนขนอม
โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลทั่วไปพระพรหม
4.พังงาโรงพยาบาลชุมชนบางไทร
โรงพยาบาลทั่วไปพังงา
โรงพยาบาลชุมชนเกาะยาวชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนกะปงชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนตะกั่วทุ่ง
โรงพยาบาลชุมชนคุระบุรีชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนทับปุด
โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์
5.ภูเก็ตโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลชุมชนป่าตอง
โรงพยาบาลชุมชนถลาง
6.ระนองโรงพยาบาลทั่วไประนอง
7.สุราษฎร์ธานีโรงพยาบาลศูนย์สราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลทั่วไปเกาะสมุย
โรงพยาบาลชุมชนกาญจนดิษฐ์
โรงพยาบาลชุมชนท่าชนะ
โรงพยาบาลชุมชนบ้านตาขุน
8.ปัตตานีโรงพยาบาลชุมชนหนองจิก
โรงพยาบาลกะพ้อ
9.พัทลุงโรงพยาบาลทั่วไปพัทลุง
โรงพยาบาลชุมชนกงหรา
โรงพยาบาลชุมชนเขาชัยสน
โรงพยาบาลชุมชนตะโหมด
โรงพยาบาลชุมชนควนขนุน

โรงพยาบาลชุมชนศรีบรรพต
โรงพยาบาลชุมชนป่าพะยอม
10.ยะลาโรงพยาบาลยะลา
โรงพยาบาลรามัน
11.สงขลาโรงพยาบาลชุมชนนาหม่อม
โรงพยาบาลชุมชนสิงหนคร
12.สตูลโรงพยาบาลควนกาหลง

หน่วยบริการที่ขยายสิทธิการให้บริการร่วมกับภาคประชาชน

ติดต่อจองตรวจเพื่อรับยาเพร็พได้ที่นี่ https://love2test.org/th/clinic

สรุปได้ว่า หากคุณทานยาเพร็พอย่างมีวินัย การป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวีจะให้ประสิทธิภาพที่ดีและปลอดภัยอย่างแน่นอนครับ อย่างไรก็ตาม การใช้ PrEP ในประเทศไทยยังคงมีความน้อยลง ซึ่งสาเหตุมาจากความไม่รู้หรือขาดการเข้าใจ เรื่องการมีอาการเป็นและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สังคมและความเครียดที่เกี่ยวกับการใช้ PrEP ซึ่งจะต้องรับมือให้ได้ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้ PrEP และลดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย

โดยรวมแล้ว PrEP เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย และควรมีการเพิ่มการเข้าใจและเข้าถึง PrEP สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า