การตรวจเอชไอวีและตรวจเอดส์

ตรวจเอชไอวี

การตรวจเอชไอวี หรือ ตรวจเอดส์ ทำให้เราทราบถึงสถานะของตัวเอง และเป็นที่ทราบกับดีอยู่แล้วว่า “โรคเอดส์” มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ติดเชื้อถูกทำลาย จนส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นนอกจากการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว อีกหนึ่งวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน นั่นก็คือการ ตรวจเอชไอวี หรือ ตรวจเอดส์ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงทราบว่าตนติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ หากตรวจพบว่าติดเชื้อจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดโอกาสในการลุกลามจนกลายเป็นระยะของโรคเอดส์ได้ รวมถึงช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ต่อคู่นอนและผู้อื่นได้อีกด้วย

การตรวจเอชไอวี หรือ ตรวจเอดส์ มีกี่ประเภท

วิธีการตรวจเอชไอวี หรือ โรคเอดส์ สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้

  • Anti-HIV antibody เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยการตรวจหาภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อเอชไอวี จากการตรวจเลือด โดยวินิจฉัยจากการทำงานของระบบภูมิต้านทานภายในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีการต้านทานต่อเชื้อไวรัส HIV ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจพบเชื้อได้ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนของการติดเชื้อ
  • NAT (Nucleic Acid Testing) เป็นวิธีตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเอชไอวี ด้วยการตรวจปริมาณของเชื้อและตรวจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งวิธีนี้แพทย์มักใช้ในกรณีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง เนื่องจากเป็นวิธีมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถตรวจพบเชื้อได้ภายใน 1 – 4 สัปดาห์ของการติดเชื้อเอชไอวีในร่างกาย แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงพอสมควร
  • PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นเทคนิคการตรวจหาสารพันธุกรรมในระดับอณูชีวโมเลกุล โดยสามารตรวจได้ในเด็กทารกที่อาจได้รับเชื้อเอชไอวีจากมารดาหลังคลอดตั้งแต่ช่วงอายุ 1 เดือน และใช้ตรวจในผู้ใหญ่หลังจากมีความเสี่ยงติดเชื้อ 14 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาเชื้อ HIV ที่ทำให้การวินิจฉัยโรคเพื่อทำการรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV Self Test) คือ ชุดตรวจเอชไอวีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้น ซึ่งได้รับการทดสอบและปรับปรุงจนได้เป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำ สามารถใช้งานได้สะดวกง่ายดาย รวมไปถึงมีความปลอดภัยต่อผู้ตรวจและเป็นขยะที่สามารถทิ้งได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีเพียง ยี่ห้อเดียวที่ได้รับอนุญาติจาก คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย คือชุดตรวจ INSTi อินสติ

เปรียบเทียบการตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองและตรวจ ณ สถานบริการ

ข้อแตกต่างตรวจโดยหน่วยบริการตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง
การให้คำปรึกษาจะมีผู้ให้คำปรึกษาต้องอ่านคู่มือเอง
ราคาแล้วแต่สถานบริการ ฟรี หากเป็นของรัฐ -1000500-700
ความลับจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งผลสามารถทราบผลด้วยตัวเอง
เวลาต้องรอคิว และการให้คำปรึกษา และรอผลสามารถทราบผลได้ทันที
ความสะดวกค้นหาศูนย์บริการสามารถซื้อได้จากร้านขายยาและOnline
การทดสอบโดยทีมทางการแพทย์สามารถทำเองได้

สามารถรับการตรวจเอชไอวีได้ที่ไหนบ้าง?

สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และต้องการเข้ารับการตรวจ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐ หรือสถานพยาบาลภายใต้ระบบประกันสุขภาพ จำนวน 2 ครั้ง/ปี รวมถึงสามารถเข้ารับการตรวจจากโรงพยาบาลเอกชน ศูนย์สุขภาพ แล็ปตรวจโรค คลินิกพิเศษ และคลีนิคนิรนามตามจังหวัดต่างๆ ได้ตามความสะดวก ซึ่งผู้ที่ต้องการตรวจควรสอบถามรายละเอียด เงื่อนไข ค่าใช้จ่าย เอกสารต่างๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วก่อนเข้ารับบริการ หรือเข้าที่เว็บ https://hivthai.org/

ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวีและเอดส์

  • ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อเอชไอวี
  • กรณีตรวจพบเชื้อเอชไอวีสามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที
  • ป้องกันการพัฒนาของเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะโรคเอดส์
  • ลดโอกาสการในติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ
  • สามารถวางแผนชีวิตคู่และวางแผนการมีบุตรได้ดียิ่งขึ้น
  • สามารถดำเนินชีวิตคู่ในกรณีที่คู่รักติดเชื้อได้อย่างเข้าใจ
  • คลายความกังวลใจของผู้ที่คิดว่าตนมีความเสี่ยงติดเชื้อ

บทความเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

  1. การตรวจสอบสารภูมิต้านทานเอชไอวี(HIV Anti-body)
  2. ตรวจไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ HIV
  3. การตรวจเอชไอวี (HIV) มีกี่วิธี

ค่าใช้จ่ายในการตรวจเอชไอวีและตรวจเอดส์ราคาเท่าไหร่?

ราคาค่าบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันนั้น สามารถเข้ารับการตรวจฟรีในโรงพยาบาลรัฐ หรือสถานพยาบาลภายใต้ระบบประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลเอกชน ศูนย์สุขภาพ แล็ปตรวจโรค คลินิกพิเศษ รวมถึงคลีนิคนิรนามตามจังหวัดต่างๆโดยราคาในการตรวจจะเริ่มตั้งแต่ 200 – 1,500 บาท ทั้งนี้ควรสอบถามสถานพยาบาลนั้นๆเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนเข้ารับบริการ

ผลตรวจเอชไอวี “ผลบวก ผลลบ” หมายความว่าอย่างไร?

  • ผลตรวจเอชไอวี : HIV Negative หรือ ผลลบ หมายถึง ผู้รับการตรวจไม่ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผลตรวจเอชไอวี : HIV Positive หรือ ผลบวก หมายถึง ผู้รับการตรวจติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อไหร่ควรตรวจเอชไอวี

การตรวจแต่ละวิธีจะมีระยะวินโดว์ (window period )หรือ ระยะเวลาที่ตรวจยังไม่พบเชื้อต่างกันไปไม่เหมือนกัน และต้องขึ้นกับความเร็วของชุดตรวจนั้นด้วย ปัจจุบัน ถ้าชุดตรวจรุ่นที่ 1 Gen1 และรุ่นที่ 2 Gen2 ที่ใช้ตรวจในยุคก่อนซึ่งจะใช้นำยาที่ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเฉพาะเชื้อเอชไอวี ซึ่งร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันนี้ได้หลังจากมีเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วกว่า 1 เดือน ซึ่งถือว่านานมากและปัจจุบันไม่ค่อยนำมาใช้ จึงสามารถตรวจพบว่าติดเชื้อได้หลังจากรับเชื้อแล้วมากกว่า 1 เดือน ในปัจจุบัน มีการพัฒนาชุดตรวจที่สามารถตรวจภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างได้เร็ว มากกขึ้น เช่นรุ่นที่ 3 Gen3 สามารถตรวจได้ภายใน 1 เดือน และรุ่นที่ 4 Gen4 สามารถตรวจได้หลังจากรับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ และหากใช้วิธีการตรวจที่หาสารพันธุกรรมจากเชื้อเอชไอวีโดยตรงจะมารถตรวจพบได้ภายหลังจากการรับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ และหากใช้วิธีการตรวจที่หาสารพันธุกรรมจากเชื้อเอชไอวีโดยตรงจะสามารถตรวจพบได้ภายหลังรับเชื้อ 2 สัปดาห์

ตรวจเอชไอวีที่ไหน

  • คลินิกนิรนาม ของสภากาชาดไทย
  • คลินิกพิเศษ ฟ้าสีรุ้ง ซอยรามคำแหง 87
  • โรงพยาบาลรัฐทั่วไป
  • ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง https://thailandhivtest.com
  • ตรวจฟรีที่ศูนย์ ดรอปอินในบางจังหวัด
  • ขั้นตอน การตรวจเอชไอวีฟรี เพียงพกบัตรประชาชน โดยไม่ต้องอดข้าว อดน้ำ สามารถตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจ ว่าโรงพยาบาลใด สามารถ ตรวจเอชไอวีฟรี ได้บ้าง แนะนำ ให้ท่านโทรสอบถาม รายละเอียด ได้ล่วงหน้า
  • สามารถจองตรวจฟรีได้ทั่วประเทศที่ www.love2test.org

สรุป

ประเด็นสำคัญคือ ผู้รับการตรวจเอชไอวีควรประเมินความเสี่ยงครั้งล่าสุดให้ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยได้ดียิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี

  • สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย แนวทางการตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอสไอวีแห่งประเทศไทยปี 2563. จาก www.thaiaidssociety.org
  • การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์กับแนวทางการรักษาในปัจจุบัน https://med.mahidol.ac.th

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า