เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภัยร้ายใกล้ตัว

เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภัยร้ายใกล้ตัว

เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี (HEPATITIS B) ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ทั่วโลกประมาณ โดย ไวรัสตับอักเสบบีเป็น DNA ไวรัส ที่จัดอยู่ใน family Hepadnaviridae โดยทั่วโลกมีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีประมาณ 240 ล้านคน โดยความชุกมีตั้งแต่ 2 – 8 % แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 7 – 8 ล้านคน โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในเด็แรกเกิดทุกคนทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3 – 5

การติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยไม่ใส่ถุงยาง หรือไม่ได้มีการป้องกัน
  • ใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่นโดยมีสารคัดหลั่งปะปน เช่นน้ำลาย น้ำเหลือง
  • แม่สู่ทารกในครรภ์จากการตั้งครรภ์
  • การใช้เข็มร่วมกันกับผู้อื่น การใช้เข็มในสารเสพติด หรือการโดนเข็มตำ
  • ได้รับเชื้อจากเลือดหรือสารคัดหลั่ง จากการบริจาคเลือด จากปากแผลที่เปิด

อาการของผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี

อาการของผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลัน จะมีอาการอ่อนเพลียไข้ต่ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาจจุกที่ลิ้นปี่หรือท้องด้านบนขวาร่วมด้วย โดยต่อมาจะมีตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ระยะนี้ตับจะอักเสบมากแล้วจะค่อยๆดีขึ้นจนกลับเข้าสู่ปกติพร้อมๆกับยังตาเหลืองต่ออีกสักระยะหนึ่ง ระยะนี้มีโอกาสหายจากโรคได้ด้วยตัวเอง แต่บางรายระยะนี้อาจมีภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับทรุดลงรวดเร็ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  • ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ไม่สามารถหายได้เอง ซึ่งผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่ได้ตรวจติดตามรักษา มีโอกาสเสี่ยงโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ

การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี

การวินิจฉัยในเบื้องต้นสามารถทำเอง โดยการสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งหากผู้ป่วยพบว่าตัวเองมีโอกาส มีความเสี่ยง หรือพบว่ามีอาการของไวรัสตับอักเสบ บี ให้ไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test) , เจาะเลือดตรวจ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และอาจนำเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

  1. HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  2. Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและหายจากโรคแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจึงไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอีก

ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสตับอักเสบบี

  • ตับอักเสบเรื้อรัง ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับได้
  • ตับแข็ง ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อตับถูกทำลายอย่างถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง และบวมตามร่างกาย
  • มะเร็งตับ มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง และบวมตามร่างกาย

การรักษา เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

การรักษา เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาฉีด pegylated-interferon alpha และยารับประทาน (oral nucleoside/nucleotide analogs) โดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของการรักษาด้วย 2 วิธี มีดังต่อไปนี้

ยาฉีด pegylated-interferon alpha

  • ออกฤทธิ์เป็น immunomodulator โดนหวังผลให้เกิด long-term immunological control จึงไม่มีปัญหาเรื่อง HBV resistance
  • มีระยะเวลาการรักษาที่แน่นอน
  • พบผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น flu-like symptoms, fatigue, mood disturbances, cytopenias, autoimmune disorder
  • ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย decompensated cirrhosis
  • การตัดสินใจรักษาด้วยยากลุ่มนี้ควรใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ เช่น HBV DNA, HBeAg หรือ HBsAg titer เพื่อช่วยในการประเมินโอกาสการตอนสนองต่อการรักษา

ยารับประทานชนิด oral nucleoside/nucleotide analogs

  • ออกฤทธิ์ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงอาจทำให้เกิด HBV resistance เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง โดยยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่มตามโอกาสในการเกิด HBV resistance คือ low barrier to resistance (ได้แก่ lamivudine, adefovir และ telbivudine) และ high barrier to resistance (ได้แก่ entecavir, tenofovir disoproxil fumarate (TDF) และ tenofovir alafenamide (TAF))
  • ไม่มีระยะเวลาการรักษาแน่นอน คือรับประทานยาไปจนกว่าจะถึง treatment endpoint คือ HBeAg seroconversion ใน HBeAg positive หรือ HBsAg loss/seroconversion ใน HBeAg negative
  • พบผลข้างเคียงได้แต่มักไม่รุนแรง เช่น lamivudine (เกิด pancreatitis, lactic acidosis) หรือ TDF (nephropathy, Fanconi syndrome, osteomalacia, lactic acidosis)
  • เป็นการรักษาหลักในหลาย clinical settings เช่น post-liver transplantation, severe chronic HBV exacerbation หรือ prevention of HBV reactivation ในผู้ป่วยที่ได้รับ immunosuppressive therapy

การดูแลตนเองเมื่อติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง
  2. ออกกำลังกายแบบเบาๆ ได้ แต่ไม่ควรหักโหม
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภทเนื้อสัตว์รมควัน อาหารปิ้งย่างจนไหม้เกรียม
  4. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อตรวจเลือดเป็นประจำ
  6. สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  7. งดบริจาคโลหิต จนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าบริจาคได้

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นในคนส่วนใหญ่ ซึ่งปกติถ้ามีภูมิแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันและระมัดระวังด้วยตัวเองได้ เช่น การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่กังวลหรือเครียดจนเกินไป สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องการเจาะหูหรือสักลาย ควรเลือกร้านที่น่าเชื่อถือถูกหลักอนามัย

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถติดต่อผ่านทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และป้องกันตัวเองจากการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากคนที่ติดเชื้อ

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า