เชื้อไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี (HEPATITIS B) ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ทั่วโลกประมาณ โดย ไวรัสตับอักเสบบีเป็น DNA ไวรัส ที่จัดอยู่ใน family Hepadnaviridae โดยทั่วโลกมีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีประมาณ 240 ล้านคน โดยความชุกมีตั้งแต่ 2 – 8 % แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 7 – 8 ล้านคน โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในเด็แรกเกิดทุกคนทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3 – 5
การติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยไม่ใส่ถุงยาง หรือไม่ได้มีการป้องกัน
- ใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่นโดยมีสารคัดหลั่งปะปน เช่นน้ำลาย น้ำเหลือง
- แม่สู่ทารกในครรภ์จากการตั้งครรภ์
- การใช้เข็มร่วมกันกับผู้อื่น การใช้เข็มในสารเสพติด หรือการโดนเข็มตำ
- ได้รับเชื้อจากเลือด หรือสารคัดหลั่ง จากการบริจาคเลือด จากปากแผลที่เปิด
อาการของผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี
- ไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลัน จะมีอาการอ่อนเพลียไข้ต่ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาจจุกที่ลิ้นปี่ หรือท้องด้านบนขวาร่วมด้วย โดยต่อมาจะมีตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ระยะนี้ตับจะอักเสบมากแล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นจนกลับเข้าสู่ปกติพร้อมๆ กับยังตาเหลืองต่ออีกสักระยะหนึ่ง ระยะนี้มีโอกาสหายจากโรคได้ด้วยตัวเอง แต่บางรายระยะนี้อาจมีภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับทรุดลงรวดเร็ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ไม่สามารถหายได้เอง ซึ่งผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่ได้ตรวจติดตามรักษา มีโอกาสเสี่ยงโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ
การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี
การวินิจฉัยในเบื้องต้นสามารถทำเอง โดยการสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งหากผู้ป่วยพบว่าตัวเองมีโอกาส มีความเสี่ยง หรือพบว่ามีอาการของไวรัสตับอักเสบ บี ให้ไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test) , เจาะเลือดตรวจ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และอาจนำเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อตับไปตรวจ
- HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และหายจากโรคแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจึงไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอีก
ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสตับอักเสบบี
- ตับอักเสบเรื้อรัง ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับได้
- ตับแข็ง ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อตับถูกทำลายอย่างถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง และบวมตามร่างกาย
- มะเร็งตับ มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง และบวมตามร่างกาย
การรักษา เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาฉีด pegylated-interferon alpha และยารับประทาน (oral nucleoside/nucleotide analogs) โดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของการรักษาด้วย 2 วิธี มีดังต่อไปนี้
ยาฉีด pegylated-interferon alpha
- ออกฤทธิ์เป็น immunomodulator โดนหวังผลให้เกิด long-term immunological control จึงไม่มีปัญหาเรื่อง HBV resistance
- มีระยะเวลาการรักษาที่แน่นอน
- พบผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น flu-like symptoms, fatigue, mood disturbances, cytopenias, autoimmune disorder
- ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย decompensated cirrhosis
- การตัดสินใจรักษาด้วยยากลุ่มนี้ ควรใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ เช่น HBV DNA, HBeAg หรือ HBsAg titer เพื่อช่วยในการประเมินโอกาสการตอนสนองต่อการรักษา
ยารับประทานชนิด oral nucleoside/nucleotide analogs
- ออกฤทธิ์ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงอาจทำให้เกิด HBV resistance เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง โดยยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่มตามโอกาสในการเกิด HBV resistance คือ low barrier to resistance (ได้แก่ lamivudine, adefovir และ telbivudine) และ high barrier to resistance (ได้แก่ entecavir, tenofovir disoproxil fumarate (TDF) และ tenofovir alafenamide (TAF))
- ไม่มีระยะเวลาการรักษาแน่นอน คือรับประทานยาไปจนกว่าจะถึง treatment endpoint คือ HBeAg seroconversion ใน HBeAg positive หรือ HBsAg loss/seroconversion ใน HBeAg negative
- พบผลข้างเคียงได้แต่มักไม่รุนแรง เช่น lamivudine (เกิด pancreatitis, lactic acidosis) หรือ TDF (nephropathy, Fanconi syndrome, osteomalacia, lactic acidosis)
- เป็นการรักษาหลักในหลาย clinical settings เช่น post-liver transplantation, severe chronic HBV exacerbation หรือ prevention of HBV reactivation ในผู้ป่วยที่ได้รับ immunosuppressive therapy
การดูแลตนเองเมื่อติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ควรพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง
- ออกกำลังกายแบบเบาๆ ได้ แต่ไม่ควรหักโหม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภทเนื้อสัตว์รมควัน อาหารปิ้งย่างจนไหม้เกรียม
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อตรวจเลือดเป็นประจำ
- สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- งดบริจาคโลหิต จนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าบริจาคได้
การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นในคนส่วนใหญ่ ซึ่งปกติถ้ามีภูมิแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถป้องกัน และระมัดระวังด้วยตัวเองได้ เช่น การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่กังวล หรือเครียดจนเกินไป สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องการเจาะหู หรือสักลาย ควรเลือกร้านที่น่าเชื่อถือถูกหลักอนามัย
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถติดต่อผ่านทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และป้องกันตัวเองจากการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากคนที่ติดเชื้อ