ตับอักเสบบี ถูกตรวจพบในประชากรของประเทศไทยในอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบี เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากเป็นต่อเนื่องเรื้อรังจะเกิดพังผืดที่ตับ อันก่อให้เกิดโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับได้ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งประเภทที่พบมากที่สุดในหมู่คนไทย
ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ?
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือด หรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคม หรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน
อาการของไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
- ไวรัสตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน มีอาการเป็นเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า
- ไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง มีอาการนานกว่า 6 เดือน
อาการที่อาจพบได้ในแต่ละระยะ
ตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน
- ไข้
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- ปัสสาวะเหลืองเข้ม
- ตาเหลือง
- ดีซ่าน
- ตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- ปวดท้อง
- น้ำหนักลด
- ดีซ่าน
หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
ตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร ?
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการติดเชื้อขณะลูกคลอดจากแม่ที่มีเชื้อนี้อยู่ (มีโอกาสได้รับเชื้อมากถึง 90%) หากไม่ได้รับการตรวจรักษาก่อนวางแผนมีบุตร
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้เข็มเจาะ สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหูที่ไม่ได้ทำจากอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างมีมาตรฐาน
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการถูกเข็มทิ่มตำจากการทำงาน ในกรณีของบุคลากรทางการแพทย์
- ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ ตับอักเสบบี
- ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการกอด
- ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
- ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
- ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ติดต่อผ่านการรัปทานอาหาร และใช้ช้อนส้อมร่วมกัน
การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบี
ตรวจเลือดประเมินดู HBeAg และ HBeAb ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกว่าโรคอยู่ในระยะที่ไวรัสกำลังแบ่งตัว หรือผ่านระยะที่ไวรัสแบ่งตัวไปแล้ว ตรวจ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในเซลล์ตับ ถ้าค่าอยู่ในระดับปกติให้ติดตาม ALT ทุก 3 – 6 เดือน ในกรณีที่ HBeAg เป็นลบแต่ผู้ป่วยมี ALT ผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ
เช่น ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับในครอบครัว ตรวจร่างกายพบลักษณะของการมีโรคตับเรื้อรัง ALT อยู่ในเกณฑ์มากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าปกติ อัลตราซาวนด์มีลักษณะผิดปกติของตับ ควรตรวจดูปริมาณไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test)
เจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg) : ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และหายจากโรคแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจึงไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอีก
การวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 6 เดือนหลังจากวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน หากพบว่าร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงจะวินิจฉัยว่าเป็น “โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
การตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ แพทย์จะใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเพื่อเก็บชิ้นเนื้อจากตับ การตรวจนี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย ทำเฉพาะในผู้ป่วย ตับอักเสบเรื้อรัง ที่ต้องการติดตามการดำเนินไปของโรค เช่น ต้องการทราบภาวะพังผืดในตับ และการอักเสบของเซลล์ตับ ซึ่งจะมีผลในการเริ่มต้นการรักษา หรือสงสัยมะเร็งตับ เป็นต้น
การรักษาไวรัส ตับอักเสบบี
ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี มี 2 กลุ่มได้แก่ ยาฉีด pegylated-interferon alpha และยารับประทาน (oral nucleoside/nucleotide analogs) โดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันของการรักษาด้วย 2 วิธีมีดังต่อไปนี้
ยาฉีด pegylated-interferon alph
- ออกฤทธิ์เป็น immunomodulator โดนหวังผลให้เกิด long-term immunological control จึงไม่มีปัญหาเรื่อง HBV resistance
- มีระยะเวลาการรักษาที่แน่นอน
- พบผลข้างเคียงได้บ่อย เช่น flu-like symptoms, fatigue, mood disturbances, cytopenias, autoimmune disorder
- ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย decompensated cirrhosis
- การตัดสินใจรักษาด้วยยากลุ่มนี้ ควรใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ เช่น HBV DNA, HBeAg หรือ HBsAg titer เพื่อช่วยในการประเมินโอกาสการตอนสนองต่อการรักษา
ยารับประทานชนิด oral nucleoside/nucleotide analogs
- ออกฤทธิ์ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงอาจทำให้เกิด HBV resistance เมื่อรักษาไประยะหนึ่ง โดยยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่มตามโอกาสในการเกิด HBV
- resistance คือ low barrier to resistance (ได้แก่ lamivudine, adefovir และ telbivudine) และ high barrier to resistance (ได้แก่ entecavir, tenofovir disoproxil
- fumarate (TDF) และ tenofovir alafenamide (TAF)
- ไม่มีระยะเวลาการรักษาแน่นอน คือรับประทานยาไปจนกว่าจะถึง treatment endpoint คือ HBeAg seroconversion ใน HBeAg positive หรือ HBsAg
- loss/seroconversion ใน HBeAg negative
- พบผลข้างเคียงได้แต่มักไม่รุนแรง เช่น lamivudine (เกิด pancreatitis, lactic acidosis) หรือ TDF (nephropathy, Fanconi syndrome, osteomalacia, lacticacidosis)
วิธีป้องกันไวรัส ตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน กลุ่มคนที่เข้าข่ายควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีมากที่สุด ได้แก่ เด็กทารกแรกเกิด แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือไม่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ตอนเด็ก หากต้องการฉีดควรทำการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน
กลุ่มเสี่ยงจริงๆ ที่แพทย์เน้นย้ำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน คือ บุคคลที่อยู่ในครอบครัวของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่มีความเสี่ยงบ่อย ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันบ่อยครั้ง โดยการฉีดจะต้องฉีดให้ครบจำนวน 3 เข็ม จึงจะสามารถป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้
อาการของไวรัสตับอักเสบบี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ผู้ป่วยระยะเฉียบพลันส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยระยะเรื้อรังอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง น้ำหนักลด และดีซ่าน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ โรคตับแข็ง มะเร็งตับ และภาวะตับวาย การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งจากผู้อื่น