หนองใน อันตรายหรือไม่?

หนองใน หรือ หนองในแท้ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Gonorrhea (โกโนเรีย) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้มากถึง 50% และถือได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ของกามโรคที่มีในปัจจุบันเลยทีเดียว หนองใน เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ สามารถเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ดีในเยื่อเมือกบุผิวของร่างกาย เช่น ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ลำคอ และตา หนองในสามารถเกิดได้ทั้ง หนองในผู้ชาย และ หนองในผู้หญิง โดยเชื้อหนองในสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด หรือเลือด

หนองใน Gonorrhea หนองในแท้

หนองใน มีทั้งหมด กี่ประเภท

หนองในแท้ (Gonorrhoea)

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae (N.gonorrhoeae) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปกลม อยู่เป็นคู่ มีเยื่อหุ้มเซลล์หนา เคลื่อนที่ได้โดยใช้แฟลกเจลลา พบได้บริเวณเยื่อเมือกบุผิวของร่างกาย เช่น ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ลำคอ และตา สามารถพบได้ทั้ง หนองในเพศชาย หนองในเพศหญิง และทารกแรกเกิด โดยเชื้อหนองในประเภทนี้ จะมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียประมาณ 1-10 วัน

หนองในเทียม (Chlamydia)

หนองในเทียม หรือ Non Gonococcal Urethritis มีอาการคล้ายกับ โรคหนองในแท้ แต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Chlamydia Trachomatis โดยเชื้อประเภทนี้ จะไม่ค่อยแสดง อาการหนองใน ที่ชัดเจน และมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียนานกว่า 10 วันขึ้นไป แต่จะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าหนองในแท้

หนองใน มีอาการอย่างไร?

หนองในส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน และจะมีอาการที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไปตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้ป่วยเพศหญิงร้อยละ 50 และเพศชายร้อยละ 10 มักจะไม่แสดงอาการของโรค ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจึงไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โดยการติดเชื้อหนองในที่บริเวณอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชายจะมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

อาการของโรคหนองในที่ทั้งเพศชายและ หนองใน ผญ จะมีอาการคล้ายกัน หากติดเชื้อบริเวณทวารหนัก ในช่องคอ ดวงตา หรือข้อต่อ จะแสดงอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ติดเชื้อ ดังนี้

  • หนองในบริเวณทวารหนัก : มีอาการรู้สึกปวดหรือเจ็บ อาจมีของเหลวขับออกมาบริเวณทวารหนัก 
  • หนองในบริเวณลำคอ : มีอาการเจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
  • หนองในบริเวณดวงตา : มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา ตาบวม มีของเหลวไหลออกจากดวงตา
  • หนองในบริเวณข้อต่อ : บวมแดง รู้สึกปวดขณะเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อที่ติดเชื้อ

อาการ หนองใน ผู้ชาย

  • หนองในผู้ชาย จะทำให้ขณะปัสสาวะมีอาการแสบขัด คือมีอาการปวดหรือแสบ บริเวณท่อปัสสาวะ โดยอาจมีอาการปวดแสบ ตั้งแต่บริเวณปากทางปัสสาวะไปจนถึงท่อปัสสาวะภายใน หนองใน อาการ นี้อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงมาก และอาจมาพร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีไข้ เป็นต้น
  • หลังจากมีเพศสัมพันธ์ จะมีหนองเหลืองหรือเขียวไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ ถุงอัณฑะบวม อาการที่ถุงอัณฑะ (Scrotum) บวมขึ้นผิดปกติ มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป ปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศอักเสบ ปวด ฟกช้ำ บริเวณลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีของเหลวออกจากทวารหนัก
  • หนองในที่ลำคอ (Peritonsillar Abscess) มักจะไม่แสดงอาการชัดเจน เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณต่อมทอนซิลที่อยู่ด้านหลังของลำคอ ทำให้เกิดหนองสะสมอยู่ภายในต่อมทอนซิล ซึ่งอาจทำให้ต่อมทอนซิลบวมแดง อักเสบ และมีอาการเจ็บคออย่างรุนแรง กลืนลำบาก มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ

อาการ หนองใน ผู้หญิง

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ขณะปัสสาวะมีอาการแสบขัด 
  • ตกขาว สีเหลือง หรือสีเขียวผิดปกติ
  • มีของเหลวออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ
  • ช่วงที่ไม่มีประจำเดือนมักมีเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ช่วงมีประจำเดือนจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่าชาย
อาการ หนองใน ผู้หญิง

สรุปอาการหนองในผู้หญิงและหนองในผู้ชาย

หนองในผู้ชายหนองในผู้หญิง
รู้สึกแสบร้อนเมื่อถ่ายปัสสาวะตกขาว
สีขาวสีเหลืองหรือสีเขียวออกจากอวัยวะเพศเจ็บปวดหรือแสบร้อนเมื่อถ่ายปัสสาวะ
ลูกอัณฑะที่เจ็บปวดหรือบวมมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างช่วงเวลา

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในที่พบบ่อย ได้แก่

  • การติดเชื้อที่ลุกลาม เชื้อหนองในสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ท่อปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้อง กระดูกสันหลัง สมอง และข้อต่อ การติดเชื้อที่ลุกลามอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น
    • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID)
    • ภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน (Gonococcal arthritis)
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อหนองใน (Gonococcal meningitis) และ
    • เยื่อบุหัวใจอักเสบจากเชื้อหนองใน (Gonococcal endocarditis)
  • ภาวะมีบุตรยาก การติดเชื้อ หนองในในผู้หญิง อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (Endometritis) ซึ่งอาจทำให้ท่อนำไข่อุดตัน และเกิดภาวะมีบุตรยากได้ การติดเชื้อ หนองในในผู้ชาย อาจทำให้ท่อนำอสุจิอุดตันและเกิดภาวะมีบุตรยาก ส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสัมพันธ์ของคู่สมรสได้
  • การติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อหนองในทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ผ่านแผลที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน

นอกจากนี้ โรคหนองในยังสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่ผิวหนัง และการติดเชื้อที่ตา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน คือ การเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีอาการของโรคหนองใน เช่น หนองไหลออกจากอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด เจ็บบริเวณอวัยวะเพศ ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ใครบ้างที่เสี่ยงติดหนองใน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหนองใน คือ การสัมผัสของเหลวในร่างกายของผู้มีเชื้อหนองใน เช่น เยื่อบุช่องคลอด องคชาต ทวารหนัก ช่องปาก ดวงตา ในช่องคอ รวมถึงอาจติดได้จากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้ ซึ่งปัจจัยหลักๆที่ทำให้เสี่ยงการติดเชื้อโรคหนองในคือ ผู้ที่ไม่มีสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่เคยติดเชื้อหนองในหรือเคยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ มาก่อน ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และผู้ที่ติดยาเสพติด

ถุงยางป้องกัน หนองใน

วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงการติดหนองใน

  • สวมถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย 
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่รู้จัก
  • งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองใน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือ ผู้ที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

วิธีการรักษาหนองใน

หากมีอาการผิดปกติคล้ายอาการของโรคหนองในตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือรู้แล้วว่า หนองในเกิดจาก สาเหตุใด ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยควรให้คู่นอนมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาด้วยเช่นกัน เนื่องจากโรคหนองในสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ คู่นอนอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเป็นผู้แพร่เชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นหนองในซ้ำได้อีกครั้ง 

แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเพื่อลดการติดเชื้อ และตามด้วยการทานยาปฏิชีวนะแบบเม็ด ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน และในส่วนของอาการปวดบริเวณเชิงกรานหรือลูกอัณฑะอาจใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างรับการรักษาผู้ควรพบแพทย์ตามการนัดหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อแบคทีเรียนั้นลดลงและไม่หลงเหลือในร่างกาย ในกรณีทารกแรกเกิดที่ได้รับเชื้อหนองจากมารดาแพทย์จะให้ยาหยอดตากับเด็กที่คลอดออกมาทันทีเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออย่างทันทวงที หากเด็กมีอาการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นแพทย์จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยปฏิชีวนะที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆได้

หนองใน ป้องกันได้

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคหนองใน?

  • พาคู่นอนเข้ารับรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อซ้ำได้
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่ทำการรักษาเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
  • ควรรับการรักษาทุกกรณีไม่ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  • กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ ต้องสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน ไม่ว่าช่องทางไหนก็ตาม
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างการรักษาหนองใน
  • หากอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการคล้ายแพ้ยา หรือ มีอาการลุกลามเพิ่มมากขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อวินิจฉัยซ้ำอีกครั้ง
  • ควรเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งอย่างเคร่งครัดเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี

รักษาโรค หนองใน ที่ไหนดี?

หากมีอาการคล้ายโรคหนองใน และต้องการตรวจเพื่อการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถรับการรักษาโดยการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิประกันสังคมได้ จากทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน หรือ คลินิกเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายใน การรักษาหนองใน จะขึ้นอยู่กับสิทธิการรักษา เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือประกันสังคม โดยอาจไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือจ่ายเพียง 30 บาทเท่านั้น ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของโรคในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรสอบถามสถานพยาบาลโดยตรงเพื่อให้ทราบรายละเอียดค่ารักษาที่ชัดเจน

ราคา รักษาหนองใน เท่าไหร่

ค่ารักษาหนองใน หากคนไทยใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วน หรือประกันสังคมจะไม่เสียค่าใช้จ่าย บางคนใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของโรคในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน  ส่วนใครที่รักษากับคลินิคเอกชน หรือโรงพยาบาล ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท แนะนำให้โทรปรึกษาก่อน เพราะจะได้ทราบถึงค่าใช้จ่าย​ในการรักษา

สามารถค้นหาสถานที่ ตรวจหนองใน และ รักษาหนองใน ได้ที่นี่ https://love2test.org/clinics

คำถามเกียวกับโรคหนองใน

ถามตอบเกี่ยวกับหนองใน

  • หนองในรักษาหายหรือไม่?
    • เมื่อพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ให้ทำการพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และรับการรักษา แพทย์อาจจะให้ยาสำหรับรับประทาน ยาสำหรับทาภายนอก หรือฉีดยา แล้วแต่คนไข้ โดยแผนการรักษาไม่เหมือนกัน และการรักษาหนองใน มีโอกาสในการรักษาหาย แต่หนองในสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ได้ป้องกัน 
  • หนองในรักษาอย่างไร?
    • การรักษาหนองใน ปัจจุบันอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ บางคนหมอให้ทาน ยา รักษา หนอง ใน บางคนก็มีการฉีดยาและใช้ยาทาควบคู่ไปด้วย แนะนำการรักษาต้องปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทานเอง​
  • มีวัคซีนป้องกันหนองใน หรือไม่?
    • ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหนองใน แต่คุณสามารถฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้เพื่อสุขภาพทางเพศที่ดี และไม่เสี่ยงเพิ่มโอกาสรับเชื้อโรคอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย
  • เป็นหนองใน เท่ากับเป็นเอดส์ไหม?​
    • หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หนึ่ง สามารถรักษาได้ ดังนั้น การเป็นหนองใน ไม่ได้หมายความว่าเราจะติดเชื้อเอชไอวี หรือเราเป็นเอดส์ แต่การติดเชื้อหนองในมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสบายใจ แนะนำให้ทำ การตรวจเอชไอวี ทุกครั้ง เมื่อพบว่าตัวเองถูกวินิจฉัยว่า เป็นหนองใน​
  • รักษาหนองในที่ไหนดีที่สุด?​
    • สำหรับ สถานที่รักษาหนองใน สามารถเลือกสถานบริการที่มีแพทย์ให้คำปรึกษาเพื่อหา วิธี รักษา หนอง ใน และจ่ายยาปฏิชีวนะ ไม่ควรซื้อยาทานเอง หรือสั่งยาออนไลน์เพื่อรักษาเอง​

บทความที่เกี่ยวกับหนองใน

กล่าวโดยสรุปคือ โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย รักษาหาย และป้องกันได้ โดยต้องเพิ่มความตระหนักรู้ การปฏิบัติทางเพศอย่างมีความรับผิดชอบโดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าช่องทางใดก็ตาม และการตรวจกามโรคเป็นประจำ เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ทำความเข้าใจอาการ สาเหตุ และกลยุทธ์ในการป้องกัน แต่ละบุคคลจะสามารถดูแลสุขภาพทางเพศของตนได้ และมีส่วนร่วมในความพยายามระดับประเทศในการลดความชุกของโรคหนองใน โปรดจำไว้ว่าการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นก้าวแรกสู่อนาคตที่มีสุขภาพดีขึ้นของทุกคนครับ