หนองใน (Gonorrhea) อันตรายหรือไม่?

โรคหนองใน หรือ หนองในแท้ (Gonorrhea) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากถึง 50% ถือได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายๆชนิด หนองในมีหลายชนิด เช่นหนองในแท้ หนองในเทียม มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae หนองในสามารถเกิดได้ทั้งหนองในผู้ชาย และหนองในผู้หญิง โดยการติดต่อจากบุคคลสู่อีกบุคคลจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ที่มีเชื้อหนองใน ซึ่งการติดเชื้อหนองในส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ลำคอ และเยื่อบุตา เป็นต้น

หนองใน Gonorrhea

หนองใน (Gonorrhea) มีทั้งหมด กี่ประเภท

โรคหนองในสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ โรคหนองในแท้ และ โรคหนองในเทียม

  • หนองในแท้ (Gonorrhoea)  โรคหนองในที่สามารถพบได้ทั้งเพศชาย เพศหญิง และทารกแรกเกิด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae โดยเชื้อหนองในประเภทนี้จะมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียประมาณ 1-10 วัน 
  • หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) โรคหนองในเทียมมีอาการคล้ายกับโรคหนองในแท้ แต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Chlamydia trachomatis โดยเชื้อหนองในประเภทนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการที่ชัดเจน และมีระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรียนานกว่า 10 วันขึ้นไป

หนองในมีอาการอย่างไร?

หนองในส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน และจะมีอาการที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไปตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้ป่วยเพศหญิงร้อยละ 50 และเพศชายร้อยละ 10 มักจะไม่แสดงอาการของโรค ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจึงไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โดยการติดเชื้อหนองในที่บริเวณอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชายจะมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

อาการของโรคหนองในที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีอาการคล้ายกัน หากติดเชื้อบริเวณทวารหนัก ในช่องคอ ดวงตา หรือข้อต่อ จะแสดงอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ติดเชื้อ ดังนี้

  • หนองในบริเวณทวารหนัก : มีอาการรู้สึกปวดหรือเจ็บ อาจมีของเหลวขับออกมาบริเวณทวารหนัก 
  • หนองในบริเวณลำคอ : มีอาการเจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
  • หนองในบริเวณดวงตา : มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา ตาบวม มีของเหลวไหลออกจากดวงตา
  • หนองในบริเวณข้อต่อ : บวมแดง รู้สึกปวดขณะเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อที่ติดเชื้อ

อาการหนองในผู้ชาย

  • ขณะปัสสาวะมีอาการแสบขัด 
  • หลังจากมีเพศสัมพันธ์จะมีหนองเหลืองหรือเขียวไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ 
  • ถุงอัณฑะบวม
  • ปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศอักเสบ
  • ปวด ฟกช้ำ บริเวณลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง
  • หนองในที่ลำคอมักจะไม่แสดงอาการชัดเจน
  • มีของเหลวออกจากทวารหนัก

อาการหนองในผู้หญิง

  • ช่วงมีประจำเดือนจะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่าชาย
  • ขณะปัสสาวะมีอาการแสบขัด 
  • มีของเหลวออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ 
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ 
  • มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาว สีเหลือง หรือสีเขียวผิดปกติ 
  • ช่วงที่ไม่มีประจำเดือนมักมีเลือดออกจากช่องคลอด
อาการ หนองในผู้หญิง

สรุปอาการหนองในผู้หญิงและหนองในผู้ชาย

หนองในผู้ชายหนองในผู้หญิง
รู้สึกแสบร้อนเมื่อถ่ายปัสสาวะตกขาว
สีขาวสีเหลืองหรือสีเขียวออกจากอวัยวะเพศเจ็บปวดหรือแสบร้อนเมื่อถ่ายปัสสาวะ
ลูกอัณฑะที่เจ็บปวดหรือบวมมีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างช่วงเวลา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

พบว่าโรคนี้มีอาการแทรกซ้อน  เช่น การเกิดฝีบริเวณอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะอักเสบ ในผู้ชาย และสวนผู้หญิงจะพบว่าปากมดลูกอักเสบ มีหนองที่ปากมดลูก นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อบริเวณปีกมดลูกและรังไข่ การพบภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ​

นอกจากนี้ยังพบว่าบางคนยังมีการอื่น ๆ ที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อบริเวณข้อ การอักเสบของเอ็นรอบข้อ ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

ใครบ้างที่เสี่ยงติดโรคหนองใน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหนองใน คือ การสัมผัสของเหลวในร่างกายของผู้มีเชื้อหนองใน เช่น เยื่อบุช่องคลอด องคชาต ทวารหนัก ช่องปาก ดวงตา ในช่องคอ รวมถึงอาจติดได้จากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้ ซึ่งปัจจัยหลักๆที่ทำให้เสี่ยงการติดเชื้อโรคหนองในคือ ผู้ที่ไม่มีสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่เคยติดเชื้อหนองในหรือเคยติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆมาก่อน ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และผู้ที่ติดยาเสพติด

ถุงยางป้องกันหนองใน

วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงการติดหนองใน

  • สวมถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย 
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่รู้จัก
  • งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองใน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือ ผู้ที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

วิธีการรักษาโรคหนองใน (Gonorrhea)

หากมีอาการผิดปกติคล้ายอาการของโรคหนองในตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยควรให้คู่นอนมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาด้วยเช่นกัน เนื่องจากโรคหนองในสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ คู่นอนอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเป็นผู้แพร่เชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นหนองในซ้ำได้อีกครั้ง 

แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเพื่อลดการติดเชื้อ และตามด้วยการทานยาปฏิชีวนะแบบเม็ด ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน และในส่วนของอาการปวดบริเวณเชิงกรานหรือลูกอัณฑะอาจใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างรับการรักษาผู้ควรพบแพทย์ตามการนัดหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อแบคทีเรียนั้นลดลงและไม่หลงเหลือในร่างกาย ในกรณีทารกแรกเกิดที่ได้รับเชื้อหนองจากมารดาแพทย์จะให้ยาหยอดตากับเด็กที่คลอดออกมาทันทีเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออย่างทันทวงที หากเด็กมีอาการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นแพทย์จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยปฏิชีวนะที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆได้

หนองใน ป้องกันได้

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคหนองใน?

  • พาคู่นอนเข้ารับรักษาร่วมด้วยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำได้
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษาเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
  • ควรรับการรักษาทุกกรณีไม่ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  • กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ จะต้องสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการรักษาหนองใน
  • หากอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการคล้ายแพ้ยา หรือ มีอาการลุกลามเพิ่มมากขึ้นอาจ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อวินิจฉัยซ้ำอีกครั้ง
  • ควรเข้าพบแพทย์ตามกำหนดนัดทุกครั้งอย่างเคร่งครัด

รักษาโรคหนองในที่ไหนดี?

หากมีอาการคล้ายโรคหนองในและต้องการตรวจเพื่อการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถรับการรักษาโดยการใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิประกันสังคมได้ จากทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน หรือ คลินิกเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาหนองในจะขึ้นอยู่กับสิทธิการรักษา เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหรือประกันสังคม โดยอาจไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือจ่ายเพียง 30 บาทเท่านั้น ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆขึ้นอยู่กับอาการของโรคในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรสอบถามสถานพยาบาลโดยตรงเพื่อให้ทราบรายละเอียดค่ารักษาที่ชัดเจน

ราคารักษาหนองในเท่าไหร่

ค่ารักษาหนองใน หากคนไทยใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหรือประกันสังคมไม่เสียค่าใช้จ่าย บางคนใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทเ  ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆขึ้นอยู่กับอาการของโรคในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน  ส่วนใครที่รักษากับคลินิคเอกชน หรือโรงพยาลาบ ราคาเริ่มต้นที่ 500 บาท แนะนำโทรปรึกษาก่อนเพราะจะได้ทราบถึงค่าใช้จ่าย​

สามารถค้นหาสถานที่ตรวจหนองในและรักษาหนองในได้ที่  http://love2test.org

คำถามเกียวกับหนองใน

ถามตอบเกี่ยวกับหนองใน

  • หนองในรักษาหายหรือไม่
    • เมื่อพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ให้ทำการพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับการรักษา แพทย์อาจจะให้ยาทาน ยาทา หรือฉีดยา แล้วแต่คนไข้ โดยแผนการรักษาไม่เหมือนกัน  และการรักษาหนองในมีการรักษาหาย แต่หนองในสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากไม่ได้ป้องกัน 
  • หนองในรักษาอย่างไร
    • การรักษาหนองใน ปัจจุบันอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ บางคนหมอให้ทานยา บางคนก็มีการฉีดยาและใช้ยาทาควบคู่ไปด้วย แนะนำการรักษาต้องปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทานเอง​
  • เป็นหนองในเป็นเอดส์ไหม
    • หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หนึ่ง สามารถรักษาได้ ดังนั้นการเป็นหนองในไม่จำเป็นว่าเราได้รับเชื้อเอชไอวี หรือเราเป็นเอดส์ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสบายใจ แนะนำให้ทำการตรวจเอชไอวี ทุกครั้งเมื่อพบว่าตัวเองถูกวินิจฉัยว่าเป็นหนองใน​
  • รักษาหนองในที่ไหนดีที่สุด
    • สำหรับสถานที่รักษาหนองใน สามารถเลือกสถานบริการที่มีแพทย์ให้คำปรึกษาและจ่ายยา ไม่ควรซื้อยาทานเอง หรือสั่งยาออนไลน์เพื่อรักษาเอง​

บทความเกียวกับหนองใน (Gonorrhea)

สรุป  หนองใน ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาให้หายได้ แต่เราก็แนะนำว่าควรมีการป้องกันเสมอ โดยการป้องกันหนองในได้ที่ที่สุดคือการใส่ถุงยางทุกครั้ง และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ