อย่าปล่อยให้ตับอักเสบบี และซีทำลายชีวิตคุณ เรียนรู้วิธีป้องกัน และรักษา

ไวรัสตับอักเสบบีและซี

ไวรัสตับอักเสบบี และซี ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ใครหลายคนกำลังเผชิญอยู่ เพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านการรับเลือดที่ไม่ได้รับการคัดกรองเชื้อ หรือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สวมถุงยางอนามัย โดยหลายองค์กรทางด้านสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญทั้งในเรื่องของการป้องกัน และการรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะในประเทศไทยนั้นมีจำนวนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทั้งสองชนิดนี้มากกว่า 3 ล้านคน ถือเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป

สารบัญ

1. ไวรัสตับอักเสบบี และซี ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง

Love2Test

2. รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบบี

3. ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้ทางไหน?

4. อาการของผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี

5. ไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม?

6. รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบซี

7. ไวรัสตับอักเสบซี เสี่ยงติดเชื้อได้จาก

8. อาการของผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี

9. ไวรัสตับอักเสบบี และซี ติดแล้วต้องรีบรักษา

10. สรุปความแตกต่างระหว่าง ไวรัสตับอักเสบบี และซี

11. ปกป้องตัวเองจากเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี และซี

ไวรัสตับอักเสบบี และซี ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง

ไวรัสตับอักเสบบี และซี เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อตับ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่พบได้บ่อยกว่าไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นทางเพศ และน้ำนมแม่ ส่วนไวรัสตับอักเสบซีสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเลือดเท่านั้น โดยส่วนต่อไปเราจะเจาะลึกเป็นส่วนๆ ดังต่อไปนี้

รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) โดยการอักเสบนี้จะทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา มีโอกาสที่จะกลายเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด จากสถิติที่ได้ทำการสำรวจจากผู้ป่วยโรคมะเร็งตับกว่า 90% มีประวัติเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบแล้วทั้งนั้น

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้ทางไหน?

ไวรัสตับอักเสบบี สามารถส่งต่อเชื้อได้คล้ายกับไวรัสเอชไอวีเลยทีเดียว ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับคนที่มีเชื้อ
  • การใช้อุปกรณ์สัก เจาะ ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อทำความสะอาดอย่างถูกอนามัย
  • การใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนที่มีเชื้อ เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน
  • การส่งต่อเชื้อจากแม่สู่ลูก
  • การถูกเข็มทิ่มตำ กรณีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ปฏิบัติงานกับคนที่มีเชื้อ
  • การสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งของคนที่มีเชื้อผ่านบาดแผล

อาการของผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีมักไม่ค่อยแสดงอาการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

ไวรัสตับอักเสบบีระยะเฉียบพลัน

ระยะเฉียบพลันนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหลังจากสัมผัสเชื้อ 1-4 เดือน เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ ในร่างกาย มีผื่นขึ้นผิดปกติ ลักษณะผิวมีความเหลืองเกิดขึ้น ตาเริ่มเหลือง และปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยอาการเหล่านี้จะสามารถหายดีขึ้นภายใน 1 เดือน และจะหายเป็นปกติ หากร่างกายของคนนั้นสามารถกำจัดเชื้อ และควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ในเวลาประมาณ 3 เดือน แต่หากร่างกายของคนนั้นไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ก็จะทำให้เข้าสู่ภาวะไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังต่อไป

ไวรัสตับอักเสบบีระยะเรื้อรัง

ไวรัสตับอักเสบบีหากเข้าสู่ภาวะเรื้อรังแล้ว จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีที่มีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่มีอาการ อีกทั้งเมื่อทำการตรวจเลือดแล้ว ยังพบค่าการทำงานของตับที่อยู่ในเกณฑ์ปกติอีกด้วย แต่จะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ เราเรียกว่า “ระยะพาหะไวรัสตับอักเสบบี” เพราะฉะนั้น ก่อนวางแผนมีบุตร หรือก่อนแต่งงานควรทำการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก่อนเสมอ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง โดยสามารถตรวจได้จากค่าเลือดที่แสดงการทำงานของตับที่ผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษา และประเมินโรคอย่างละเอียด

ไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม?

ไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่ได้รับการรักษา จะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกาย หากปล่อยให้มีอาการเรื้อรังยาวนาน จะพบว่าผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีจะเกิดภาวะตับแข็งซึ่งเกินกว่าจะรักษาให้ดีขึ้นได้ อาจเสียชีวิตด้วยภาวะตับวาย หรือมะเร็งตับ แต่หากได้รับการรักษาจำนวนไวรัสก็จะลดลง และไม่มุ่งทำลายการทำงานของตับในร่างกาย หากเราตรวจพบเชื้อเร็ว และยังอยู่ในระยะเฉียบพลัน ก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ภายในระยะเวลาประมาณ 10 สัปดาห์

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยที่ยังมีการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบี ร่วมกับการดูภาวะอักเสบของตับ ร่วมกับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยจะพิจารณาว่าสามารถใช้ยาได้เมื่อไหร่ และหยุดยาได้เมื่อไหร่ หรือจำเป็นต้องทานยาในระยะยาว หรือตลอดชีวิต รวมทั้งยังต้องมีการติดตามผลเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับด้วย

รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัส RNA สายเดี่ยวที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 55–65 nm มีเปลือกหุ้ม และเป็นประเภท Positive-sense เป็นส่วนหนึ่งของแฟมิลี Flaviviridae ไวรัสนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคไวรัสตับอักเสบซี และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งตับ การที่จะรู้ว่าคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่ หรือไม่ สามารถตรวจได้ผ่านการเจาะเลือดดูการทำงานของตับ และตรวจนับปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในเลือด (Anti-HCV) หากไม่เจอเชื้อ อาจจะต้องทำการตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 2 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน หรือในบางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อตับ เพื่อการวินิจฉัยโรค

โดยไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ

  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 1 (พบในประเทศไทย ประมาณ 40%)
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 2 (พบในประเทศไทย ประมาณ 20%)
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 3 (พบในประเทศไทย ประมาณ 40%)
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 4 (พบในประเทศไทย ประมาณ 10%)
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 5 (พบในประเทศไทย ประมาณ 10%)
  • ไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 6 (พบในประเทศไทย ประมาณ 10%)

ไวรัสตับอักเสบซี เสี่ยงติดเชื้อได้จาก

  • เลือดที่ได้จากการรับบริจาคก่อนปี พ.ศ.2535 หรือสัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ ผ่านทางบาดแผล
  • เพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน, ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น กรณีเสพสารเสพติดแบบฉีดเข้าเส้น หรือใช้ของมีคมร่วมกัน
  • แม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถส่งต่อเชื้อไปยังลูกน้อยในครรภ์ (พบได้น้อย)

อาการของผู้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี

เป็นเรื่องยากมากที่จะรู้ว่าคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่ เพราะโรคนี้แทบจะไม่แสดงอาการอะไรเลยภายในระยะเวลา 10 ปี แต่อาจมีอาการในระยะเฉียบพลันเกิดขึ้นได้ คล้ายคลึงกับโรคไวรัสตับอักเสบบี เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา ปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น

เมื่อเริ่มมีอาการของตับอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้น ตับจะเริ่มถูกทำลายจนเกิดอาการของโรคตับแข็งปรากฎให้เห็น และนำไปสู่โรคมะเร็งตับในที่สุด จึงจะเห็นได้ว่า โรคเกี่ยวกับตับอักเสบนั้นใช้เวลานานหลายสิบปี และมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวว่ามีอันตรายซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยเราป้องกันความรุนแรงของโรคได้

ไวรัสตับอักเสบบี และซี ติดแล้วต้องรีบรักษา

ประมาณ 85% ของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี จะเป็นตับอักเสบแบบเรื้อรัง หากคุณรู้ตัวว่ามีเชื้อแล้วควรเข้าสู่กระบวนการ การรักษาทันที จะทำให้มีโอกาสหายขาดจากโรคได้

การจะรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีได้ ผู้ป่วยจะต้องทำการตรวจสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบซีว่าเป็นชนิดใดอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา เพราะแต่ละชนิดนั้นมีความยากง่ายในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป หากคุณติดไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 1 จะต้องรักษาเป็นเวลา 1 ปี มีโอกาสหายจากโรคประมาณ 50% ระหว่างการรักษาช่วงระยะ 3 เดือน ควรตรวจนับปริมาณไวรัสตับอักเสบซีซ้ำ เพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา และแพทย์จะได้วางแผนว่าผู้ป่วยจะหยุดยารักษาที่ 1 ปี หรือนานกว่านั้นได้ หรือไม่ ในกรณีถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก

สรุปความแตกต่างระหว่าง ไวรัสตับอักเสบบี และซี

ลักษณะ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
ชนิดของไวรัส ไวรัสดีเอ็นเอ (DNA) ไวรัสอาร์เอ็นเอ (RNA)
ระยะฟักตัว 2-6 เดือน 2-6 สัปดาห์
โอกาสหายขาด ประมาณ 95% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะเฉียบพลันจะหายขาดได้ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยประมาณ 5-10% จะกลายเป็นพาหะนำโรค ประมาณ 10-20% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระยะเฉียบพลันจะหายขาดได้ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยที่เหลือจะกลายเป็นพาหะนำโรค
วิธีป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
การรักษา การรักษามุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณไวรัสในร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิดรับประทานมีโอกาสหายขาดได้สูงถึง 90% ขึ้นไป

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไวรัสตับอักเสบบี และซี

แต่หากตรวจไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบซีตั้งแต่เดือนแรก ก็อาจจะร่นระยะเวลาในการรักษาลงมาอีก ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเมื่อได้ยาครบ 1 ปี ต้องตรวจเชื้อว่ายังมีหลงเหลืออยู่ หรือไม่ หลังเสร็จสิ้นการรักษาไปอีก 6 เดือน ถ้าตรวจไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเลือดด้วยวิธี RT-PCR ก็สามารถยืนยันได้ว่าหายจากโรคไวรัสตับอักเสบซี และโอกาสกลับมาเป็นใหม่ค่อนข้างน้อย หากคุณติดไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 จะต้องรักษาเป็นเวลา 6 เดือน ส่วนไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 4, 5 และ 6 นั้นพบน้อยในประเทศไทย แนะนำให้รักษาเป็นเวลา 1 ปี

สิ่งสำคัญ คือการตรวจสุขภาพ และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ หากมีความเสี่ยง หรือมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการรับเชื้อเข้ามาในร่างกาย หมั่นประเมินตนเอง และเข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อยืนยันว่าคุณมี หรือไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่ หากมีเชื้อ การรักษาจะช่วยป้องกันอาการรุนแรงเรื้อรังที่จะเกิดตามมาภายหลัง เช่น พังผืดตับ ตับแข็ง มะเร็งตับ รวมทั้งยังช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตลงได้อีกด้วย

ปกป้องตัวเองจากเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี และซี

  • วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับใครก็ตาม
  • ไม่รับบริจาคเลือดจากใครที่ไม่รู้แหล่งที่มาของเลือด หรือไม่ได้ผ่านการคัดกรองเชื้อมาก่อน
  • สำหรับไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยเด็กจะต้องได้รับจำนวน 3 เข็ม ได้แก่ แรกเกิด อายุตั้งแต่ 1-2 เดือน และอายุ 6-18 เดือน ตามลำดับ ส่วนผู้ใหญ่หากยังไม่เคยฉีดก็สามารถฉีดป้องกันได้เลย แต่ควรทำการตรวจเลือด และปรึกษาแพทย์ก่อน
  • พบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร และตับอย่างน้องปีละครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม หรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) และไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อตับ แต่เกิดจากไวรัสที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละตัวมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง HBV แพร่กระจายได้หลักๆ ผ่านทางเลือด การสัมผัสทางเพศ หรือจากแม่สู่ลูกในระหว่างคลอดบุตร สามารถนำไปสู่การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง โดยอาจทำให้เกิดโรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ โชคดีที่มีวัคซีนป้องกัน HBV ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการป้องกัน

ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท เพราะโรคตับอักเสบนี้เป็นภัยเงียบที่แทบจะไม่มีสัญญาณเตือนให้เรารู้ นอกจากการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อโอกาสในการเจอความผิดปกติของโรคอย่างรวดเร็ว และทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า