โรคฝีดาษวานร (Mpox) อันตรายแค่ไหน กลุ่มเสี่ยง อาการ และวิธีการรักษา

ฝีดาษวานร

ฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อที่มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงหลักๆ คือการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก ที่เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากมีผื่น หรือตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือตามร่างกาย ให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลทันที โดยแจ้งอาการ และประวัติเสี่ยงประกอบการวินิจฉัย

ฝีดาษวานรสาเหตุเกิดจากอะไร ?

โรคฝีดาษวานร เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย เลือด อุจจาระ เป็นต้น ซึ่งพบได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น ลิง หนู กระรอก กระต่าย ฝีดาษวานรยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ การสัมผัสกับแผลพุพอง หรือสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

ระยะฟักตัว

หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อฝีดาษวานร จะเริ่มมีอาการแสดงให้เห็นภายใน 5 – 21 วัน

ฝีดาษวานร อาการเป็นอย่างไร ?

อาการของฝีดาษวานร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ฝีดาษวานรระยะแรก

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • หนาวสั่น ไม่มีแรง

ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่มีไข้ อาจมีการแพร่เชื้อผ่านระยะนี้ได้เล็กน้อย

ฝีดาษวานร ระยะออกผื่น

  • มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
  • ผื่นจะมีขอบเขตชัดเจน ลักษณะฝังลึก อาจมีรอยบุ๋มตรงกลาง
  • มีประวัติไข้นำมาก่อนการเกิดผื่น
  • มักพบต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
  • รู้สึกเจ็บบริเวณที่เป็นผื่น ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนอง

ฝีดาษวานรติดต่อกันได้อย่างไร ?

จากสัตว์สู่คน

  • สัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • การโดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือขีดข่วน
  • การกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงไม่สุก

จากคนสู่คน

  • การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • การสัมผัสกับแผลพุพองจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

การวินิจฉัย ฝีดาษวานร

  1. ซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ และประวัติการเดินทาง หรือสัมผัสกับสัตว์ หรือบุคคลที่อาจติดเชื้อ
  2. ตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อดูลักษณะของผื่น
  3. เก็บตัวอย่างตุ่มแผล หรือเลือด ไปตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ

หากผลการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโรคเป็นบวก จะถือว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคฝีดาษวาน

ภาวะแทรกซ้อนฝีดาษวานร

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคฝีดาษวานร คือการติดเชื้อแบคทีเรียในตุ่มแผล ซึ่งอาจทำให้ตุ่มแผลอักเสบ และบวมขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ ปวด บวม แดง และอาจมีหนองไหลจากตุ่มแผล

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคฝีดาษวานร ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักพบในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วย HIV/AIDS ผู้ป่วยโรคมะเร็ง

วิธีป้องกันฝีดาษวานร

  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ตระกูลฟันแทะที่อาจติดเชื้อ
  • หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นขึ้นตามร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

การรักษา ฝีดาษวานร

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับฝีดาษวานร ใช้การรักษาประคับประคองตามอาการ และยังไม่มียามาตรฐานที่ใช้รักษาอย่างจำเพาะเจาะจง แต่มียาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น

  • Tecovirimat
  • Cidofovir
  • Brincidofovir

ขอบคุณข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้นควรระมัดระวัง และป้องกันตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ตระกูลลิง สัตว์ตระกูลฟันแทะ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หมั่นสังเกตุอาการเบื้องต้น หากมีอาการไข้ ปวดศีรษ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า