ซักผ้าผู้ป่วยฝีดาษวานรอย่างไร ให้ปลอดภัย แนวทางปฏิบัติลดการแพร่เชื้อ

แนวทางการซักผ้าสำหรับผู้ป่วยฝีดาษวานร

ฝีดาษวานรเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับรอยโรค สารคัดหลั่ง หรือวัสดุที่ปนเปื้อน ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้า และเครื่องนอน การซักผ้าอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการซักผ้าสำหรับผู้ป่วยฝีดาษวานร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมผ้า การซักล้าง ไปจนถึงการจัดการหลังซัก ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ดูแล เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. การเตรียมผ้า

ใส่ผ้าในถุง 2 ชั้น

  • ชั้นใน: ถุงผลิตจากแป้งข้าวโพด (ละลายน้ำที่ 60-80°C)
  • ชั้นนอก: ถุงพลาสติกสีแดง

ปิดปากถุงให้มิดชิด และใส่ในถังพลาสติกที่ปิดสนิท

2. การรับผ้า

  • เจ้าหน้าที่สวมชุด PPE (เสื้อกาวน์กันน้ำ, หมวก, ถุงมือ 2 ชั้น, N95, รองเท้าบูท)
  • รับผ้าจากหอผู้ป่วยแยกโรค

3. การซักผ้า

  • ชั่งน้ำหนักผ้าให้เหมาะกับเครื่องซัก
  • เทผ้าลงเครื่องซัก และกรีดถุงแดงชั้นนอกให้ขาด
  • ใช้โปรแกรม 1 (สำหรับผ้าติดเชื้อโรคติดต่ออันตราย)
  • ใช้ Sodium hypochlorite 0.5% (5,000 ppm)
  • อุณหภูมิ 60-80°C
  • เวลาซัก 60-90 นาที

หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่ต้องอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที

ตารางปริมาณสารเคมีซักฟอก (หน่วยมิลลิลิตร)

โปรแกรม น้ำยาเสริมด่าง น้ำยาซักผ้า น้ำยาขจัดคราบ น้ำยาล้างด่าง น้ำยาปรับผ้านุ่ม/
ปรับสภาพผ้า
1 600 600 1,000 300 600
2 500 600 800 250 500
3 400 500 500 200 500
4 300 400 400 150 400
5 200 300 300 100 300
6 100 300 200 50 300

หมายเหตุ: ปริมาณการใช้สารเคมีซักฟอกในการซักผ้าประเภทต่างๆ คำนวณจากเครื่องซักผ้ำขนาดกำลังซัก 150 – 175 กิโลกรัม

การซักผ้าสำหรับผู้ป่วยฝีดาษวานร กรณีรักษาที่บ้าน/ที่พักอาศัย

คำแนะนำจาก CDC

  • ซักผ้าที่ปนเปื้อนแยกจากผ้าอื่นในครัวเรือน
  • ใช้เครื่องซักผ้าทั่วไปได้
  • ใช้ผงซักฟอกปกติ
  • อาจเพิ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์ฟอกขาว (Sodium hypochlorite)

คำแนะนำจาก WHO

  • ใช้เครื่องซักผ้าทั่วไปได้
  • ใช้ผงซักฟอกปกติ
  • ควรซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิมากกว่า 60°C (ถ้าทำได้)
  • ถ้าไม่มีน้ำร้อน ให้แช่ผ้าในคลอรีน
  • ผ้าที่ซักแล้วสามารถนำมาใช้ซ้ำได้

referent

  • Centers for Disease Control and prevention.(2022).Disinfecting Home and Other Non-Healthcare Setting
  • World Health Organization.(2022).Clinical Management and Infection Prevention and Control for Monkeypox