ตรวจเอชไอวี จำเป็นหรือไม่ ใครบ้างควรตรวจ เช็คด่วน พร้อมวิธีการป้องกัน

ตรวจเอชไอวี มักจะต้องรอให้ร่างกายผลิต และปล่อยสารแอนติบอดีออกมาก่อนที่ผลตรวจจะเป็นไปได้ ระยะนี้เรียกว่า “ระยะแฝง” หรือระยะที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อ (Window Period) โดยทั่วไป ระยะฟักตัว ของเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 21 วัน ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมในการ ตรวจ hiv จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของร่างกายของแต่ละคน ในระยะแฝงนี้ หากคุณต้องการ ตรวจhiv หลังจากเสี่ยง ควรพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของคุณ

​การ ตรวจเลือด hiv ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การแนะนำสำหรับบุคคลที่อาจมีความเสี่ยงที่สูงในการติดเชื้อ ให้ทำ การ ตรวจ hiv เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใจความสำคัญของการ ตรวจเอชไอวี (HIV)

คำถามที่คนไทยมักจะถามกัน คือตรวจ hiv กี่วันถึงจะรู้ผล แต่เชื่อ หรือไม่ว่ามีการคาดประมาณว่ามีคนไทยติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ต้นทั้งสิ้นหนึ่งล้านสองแสนคน เสียชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่ง คาดประมาณว่ามีคนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งมีชีวิตอยู่ขณะนี้ประมาณ 6 แสนคน มีคนไทยติดเชื้อรายใหม่ ขณะนี้ประมาณปีละ 16,000 คน และเสียชีวิตจากเอชไอวีประมาณปีละน้อยกว่า 10,000 คน

โดยแนวโน้มการเสียชีวิตจะลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐจัดบริการดูแลรักษาทั่วถึงมากขึ้น พร้อมทั้งรณรงค์ ให้ประชาชนตรวจเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา และการที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่ เป็น ก้าวแรกที่สำคัญจะนำไปสู่การป้องกัน และดูแลรักษาที่ถูกต้อง และจริงจัง

การจะรู้ว่าติดเชื้อ หรือไม่ ต้องอาศัยวิธีการตรวจเชื่อเอชไอวีเพียงอย่างเดียว ซึ่งคนไทยจำนวนมากยังเข้าใจว่าถ้าร่างกายแข็งแรง แสดงว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้หลายคนไม่คิดว่าตัวเองอาจมีโอกาสติดเอดส์ได้ทั้งๆ ที่มี หรือเคยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อ การติดเชื้อเอชไอวี เพราะคิดว่ามีโอกาสน้อย หรือตัวเองไม่น่าจะมีความเสี่ยง

การรณรงค์จึงทำให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญของการตรวจเอชไอวี เช่นเดียวกับการตรวจเช็คสุขภาพ ประจำปี กับการตรวจเอชไอวีฟรี จึงเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐควรนำขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้ทุกคนปฎิบัติอย่างจริงจัง ถ้าจะทำการป้องกัน การแพร่ระบาดของเอชไอวีที่ให้ได้ผล รวมทั้งการยอมรับว่าการตรวจเอชไอวี เป็นหน้าที่ และยังมีประโยชน์ ซึ่งควจะทำการตรวจป็นประจำกันทุกคน (Routine Voluntary Testing)

ตรวจเอชไอวี มีกี่รูปแบบ?

การตรวจเอชไอวีควรพิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงมากี่วันแล้ว โดยปัจจุบันที่นิยมตรวจกันจะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ​

การตรวจแบบ Anti-HIV​​​​

การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody) ของร่างกาย ที่สร้างขึ้นเพื่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อเอชไอวี คือวิธีการที่ได้รับความนิยมในการคัดกรองการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบัน ผลตรวจปรากฏได้ในระยะเวลาเร็วภายหลังการตรวจเพียง 1-2 ชั่วโมง แต่ควรระวังว่าผลตรวจนี้จะต้องรอประมาณ 1 เดือนหลังจากเกิดความเสี่ยงเพื่อให้ผลมีความเป็นประจำ

ยกตัวอย่าง, หากคุณมีความเสี่ยงในคืนก่อนหน้าแล้วไปตรวจ Anti-HIV ผลการตรวจจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้มาตรการป้องกันในคืนนั้นเป็นเหตุทำให้ติดเชื้อหรือไม่ แม้ผลการตรวจเลือดจะแสดงเป็นลบ (Negative = ไม่พบเชื้อเอชไอวี) โดยทั่วไป แพทย์จะอธิบายว่าเชื้ออาจยังอยู่ในระยะฟักตัว และการตรวจอาจยังไม่พบเชื้อ (Non-reactive) ในช่วงเวลานั้น นี่คือวิธีการตรวจชนิด Anti-HIV

การตรวจแบบ NAT (Nucleic Acid Testing)

การตรวจเอชไอวีแบบ NAT (Nucleic Acid Testing) คือการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี หรือแกนในของเชื้อ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า NAT เป็นวิธีที่มีความไวมากที่สุด การตรวจในรูปแบบนี้ จะมีข้อแตกต่าง จากการตรวจแบบ Anti-HIV คือจะสามารถชี้วัดผล จากร่างกายย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับความเสี่ยง เช่น การไปมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ป้องกันมาเมื่อ 7 วันก่อน แล้ววิตกกังวลว่าอาจได้รับความเสี่ยง จากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการตรวจในรูปแบบ NAT จะทราบผลเลือดว่าเป็นบวก หรือเป็นลบได้แน่ชัด กว่าการตรวจแบบ Anti-HIV ปัจจุบันวิธีนี้ใช้ในการตรวจคัดกรองเลือดผู้บริจาคโลหิตแต่ยังไม่นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานพยาบาล

การตรวจแบบ Rapid HIV Test

การตรวจในรูปแบบ Rapid HIV Test เป็นการตรวจเอชไอวี ชนิดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันจะใช้เวลาในการรอผลเพียง 20 นาทีเท่านั้น ถึงแม้ว่า จะได้ผลตรวจที่เร็วกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็เป็นเพียงการตรวจ เพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ข้อดี คือ สามารถตรวจได้ไว รู้ผลภายในไม่กี่นาที แต่ข้อเสีย คือ หากว่าการตรวจแบบ Rapid HIV Test ให้ผลเป็นบวก (พบเชื้อ HIV) ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่า ติดเชื้อจริงๆ ด้วยวิธีการตรวจด้วยขั้นตอน Anti-HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลา ที่ได้รับเชื้อมา

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี

การตรวจโปรตีนของเชื้อที่ชื่อว่า p24 (HIV p24 antigen testing) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ตรวจการติดเชื้อในระยะแรกที่ผู้ได้รับเชื้อยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) หรือมีระดับแอนติบอดีที่ต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้ โดยสามารถตรวจได้ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 14-15 วัน

ทุกวันนี้สถานพยาบาล หรือศูนย์วิจัยบางแห่งมีบริการตรวจสารพันธุกรรมของเอชไอวี เพื่อหาการติดเชื้อในช่วงแรก สามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ตั้งแต่วันที่ 5 – 7 นับจากวันที่รับเชื้อ (เช่น รับเชื้อวันเสาร์ ก็ตรวจหาการติดเชื้อได้ตั้งแต่วันศุกร์) การตรวจแบบนี้เรียกสั้นๆ ว่าแนต (NAAT – Nucleic Acid Amplification Testing) ซึ่งมีบริการฟรี เฉพาะบางที่ เช่น คลินิกนิรนาม (ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย) แต่ถ้าเป็นที่อื่น ค่า ตรวจเอดส์ จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท​

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง HIV Self Testing

เป็นการทดสอบตัวเองสำหรับเอชไอวีเป็นวิธีที่ดีในการทราบสถานะของคุณ การทดสอบทำได้ง่าย และรวดเร็ว แต่มีบางสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำการทดสอบ การตรวจเอชไอวีมี 2 ประเภท คือ การตรวจเลือด และการตรวจเชื้อเอชไอวีในช่องปาก การตรวจเลือดมักจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ แต่ก็มีชุดอุปกรณ์ที่คุณสามารถซื้อได้เองที่บ้าน ตรวจสอบว่าคุณติดเชื้อ HIV หรือไม่ และรับการรักษาทันที

คุณสามารถขอรับการทดสอบเอชไอวีในช่องปากได้ที่สำนักงานแพทย์ หรือคลินิกของคุณ การทดสอบเอชไอวีในช่องปากคล้ายกับการทดสอบความทนทานต่อกลูโคสในช่องปากเพราะจะตรวจสอบน้ำลายของคุณเพื่อหาไวรัสเพื่อดูว่าคุณติดเชื้อ หรือไม่ ปัจจุบัน ชุดตรวจ hiv ด้วยตัวเองที่ผ่าน อย. คือ Insti อินสติ

ทำไมต้อง ตรวจเอชไอวี?

  • สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้แสดงอาการออกมา
  • สามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง
  • สามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองจากการติดเชื้อ และควรชวนคู่ของตนไปตรวจเลือดหาเชื้อด้วย
  • สามารถป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หรือแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้
  • ได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำงานได้อย่างปกติ

ขั้นตอนการ ตรวจเอชไอวี

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทุกคน ควรได้รับการตรวจทุกคน
  • การเตียมตัวในการตรวจ การเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ไม่ต้องอดข้าว หรือน้ำ เพียงแค่เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน แล้วไปขอตรวจที่โรงพยาบาล คลินิกนิรนาม หรือคลินิกเอกชนเฉพาะทาง หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือประมาณ 14-30 วัน
  • ยื่นบัตรประชาชนแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมแจ้งว่าจะมาตรวจเชื้อ HIV
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับคำปรึกษา คำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุย ประเมินความเสี่ยง และเซ็นชื่อในใบยินยอมเพื่อตรวจ HIV โดยส่วนมากแล้วมักใช้เวลา ไม่เกิน 30 นาที
  • เข้ารับการตรวจเลือด เจาะเลือด หลังจากได้รับคำปรึกษาแล้ว จึงจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ทั้งนี้ระยะเวลาแจ้งผลขึ้นอยู่กับนโยบาย /หรือข้อกำหนดของการบริการของสถานบริการนั้นๆ กรุณาสอบถามข้อมูลก่อนเข้ารับบริการจากสถานบริการนั้นๆ)
  • ฟังผลการตรวจเลือด (ภายในวันเดียว หรือขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล)
  • แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะให้คำแนะนำเพื่อการดูแลตนเอง และการวางแผนในการใช้ชีวิต หากพบว่ามีเชื้อเอชไอวี พร้อมตอบคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเอชไอวี

ผลการตรวจ HIV มีอะไรบ้าง

ผลเลือดเป็นลบ หรือ non-reactive

  • ผู้เข้ารับการตรวจไม่มีเชื้อ หรืออาจยังไม่พบเชื้อ เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว เรียกว่าผลลบลวง ซึ่งหากมีการติดเชื้อ จะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ ดังนั้นจึงควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะ 3-6 เดือน หรือ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะเน้นย้ำเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป (การใช้ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับทุกคน) พร้อมแนะนำให้มาตรวจเอชไอวีเป็นระยะ

หาก ตรวจเอชไอวี ผลเลือดเป็นบวก

ผลเลือดเป็นบวก หรือ reactive เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง และส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา และรับยาต่อไป ซึ่งสามารถใช้สิทธิการรักษา และรับยาได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนตามสิทธิ (ประกันสังคม หรือหลักประกันสุขภาพ)

เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลรักษาสุขภาพที่จำเป็น

  • ตรวจ CD4 เพื่อประเมินความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย เชื้อ HIV จะทำลายเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ เมื่อระดับเซลล์ CD4 ในร่างกายลดลง ภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลง และมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
  • รักษาโรคฉวยโอกาส เมื่อมีการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส (คือ โรคติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โรคปอดอักเสบพีซีพี ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยโรคเอดส์ มีสาเหตุจากเชื้อรา ปกติเชื้อรานี้มีอยู่ในปอดของคนเป็นจำนวนมาก แต่ตราบใดที่ยังมีภูมิคุ้มกันอยู่ก็จะไม่เกิดโรคปอดอักเสบ)
  • ตรวจร่างกาย เพื่อประเมินความพร้อม เมื่อถึงเกณฑ์กินยาต้านไวรัส​เอชไอวี

หากผลเลือดเป็น Invalid

ผู้ที่มีผลเอชไอวีเป็นบวกแต่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ คือ ผู้ที่ทานยาอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้เชื้อไวรัสถูกระงับไว้ภายในร่างกาย กล่าวคือ เชื้อไวรัสถูกระงับไว้จนกระทั่งการตรวจเลือดไม่สามารถค้นพบเชื้อไวรัสในตัวอย่างเลือดได้

ผู้ที่มีสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวี ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้ ถึงแม้ว่าจะยังมีผลการตรวจเอชไอวีเป็นบวก แต่ก็จำเป็นต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวีนี้เอาไว้

ใครบ้างที่ควรไปตรวจ hiv

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้เข็มฉีดยาสารเสพติดร่วมกันกับผู้อื่น
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • การเตรียมพร้อม ก่อนสมรส และก่อนวางแผนตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ทารกที่ติดเชื้อ HIV จากแม่
  • ผู้ป่วยวัณโรค
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติหน้าที่

ตรวจ hiv ราคาเท่าไหร่

สถานบริการ รายการ/ราคา
คลินิกนิรนาม
  • ตรวจแบบรู้ผลทันทีจะเริ่มต้นที่ 200 บาท
  • ตรวจด้วยวิธี PCR เริ่มต้นที่ 1,500 บาท (รู้ผล 1 สัปดาห์)
ตรวจที่ LAB ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 500-2,500 บาท ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ
โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 600-3,000 บาท
โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถตรวจเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประชาชน และทั้งนี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็สามารถ ตรวจ HIV ฟรี ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต จากผู้ปกครอง ไม่ต้องอดข้าว อดน้ำ ก่อนไปตรวจ

ตรวจเอชไอวี ที่ไหนได้บ้าง

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในไทยนั้น สามารถตรวจได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ในปัจจุบันนี้เพียงถือบัตรประชาชน และเดินทางไปที่โรงพยาบาลรัฐ ศูนย์อนามัย หรือคลินิกที่ร่วมรายการ แต่ทั้งนี้ควรโทรสอบถามก่อนล่วงหน้า เพื่อความมั่นใจว่าสามารถตรวจได้ฟรีจริง หรือไม่

หากท่านไม่ประสงค์ไปตรวจตามสถานพยาบาลของรัฐ เนื่องจากอาจจะต้องรอคิวนาน รอฟังผลนาน ด้วยจำนวนผู้เข้าใช้บริการที่มาก ท่านสามารถไปตรวจได้ตามโรงพยาบาลเอกชน และคลินิก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายซึ่งจะถูก หรือแพง ขึ้นอยู่กับที่ ๆ ท่านเลือกไป แต่รับรองว่าไม่ต้องรอคิวนานๆ และรู้ผลได้เร็ว แน่นอน

หรือคลินิกพิเศษต่างๆ เช่น คลีนิคนิรนาม หรือคลินิกพิเศษของศูนย์ดรอปอินต่างๆ เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานบริการที่เข้ารับบริการ เพื่อดูวัน เวลา และสถานที่ให้บริการ บริการที่มี และเงื่อนไขการให้บริการต่าง เช่น ต้องแจ้งหมายเลขบัตรประชาชน บริการเฉพาะกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย เป็นต้น

แต่ทางเลือกอีกทางสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาลเลย แค่เพียงไม่มั่นใจว่าได้รับความเสี่ยงมา จริง หรือไม่ ท่านสามารถซื้อ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวี ด้วยตนเองมาตรวจก่อนได้ เนื่องจากเป็นการตรวจคัดกรองซึ่งการแปลผล จะสามารถบอกได้ว่าเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง โดยหากผลเป็นบวก ก็จะหมายความว่า ท่านมีความเสี่ยง ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้เดินทางไปตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล

แต่ถ้าหากตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจดังกล่าวแล้ว ผลเป็นลบก็จะหมายความว่า ท่านไม่ได้รับความเสี่ยง ซึ่งก็จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงแสดงผลได้แค่ว่าเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง เนื่องจากตามสถานพยาบาลมักจะให้ท่านตรวจคัดกรองก่อนอยู่แล้ว ด้วยการตรวจนั้นไม่ยาก และรู้ผลได้เร็วกว่า อีกทั้งเป็นวิธีที่ค่าใช้จ่ายไม่สูง หากตรวจพบว่ามีความเสี่ยงก็จะดำเนินการตรวจยืนยันด้วยวิธีที่ละเอียดขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากตรวจคัดกรอง และพบว่าไม่มีความเสี่ยงตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋าคุณมากขึ้น

ดังนั้น การที่คุณเลือกซื้อ ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง มาใช้ตรวจก่อน จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะช่วยให้คุณทราบความเสี่ยงได้เร็วขึ้น ทำให้คุณสามารถตัดสินใจเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาลได้เร็วขึ้น ส่งผลต่อการรักษาได้เร็วขึ้น

แนะนำสถานพยาบาล ที่ ตรวจ hiv ฟรี

เขตกรุงเทพมหานคร

  • โรงพยาบาลบางรัก
  • คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย
  • คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด
  • คลินิกพิเศษของศูนย์ดรอปอิน
  • คลินิกพิเศษฟ้าสีรุ้ง ซอยรามคำแหง 87
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลกลาง
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลตากสิน
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลสิรินธร
  • คลินิกรักษ์เพื่อน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ
  • มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี​

ตรวจ HIV ฟรี ในต่างจังหวัด

สำหรับต่างจังหวัด การตรวจเอชไอวีฟรี อาจจะยังไม่ครอบคลุม ทุกพื้นที่ ดังนั้น ประชาชน ที่ต้องการตรวจเอชไอวี ควรโทร ไปสอบถามสถานพยาบาลนั้นๆ ว่าได้เข้าร่วมโครงการ ตรวจเอชไอวีฟรี หรือไม่

สถาน ที่ตรวจ hiv จังหวัดเชียงใหม่

สรุป

การตรวจ hiv เป็นวิธีเดียวที่จะทราบว่าคุณมีเชื้อเอชไอวี หรือไม่ การทดสอบสามารถทำได้ทุกเมื่อระหว่างการติดเชื้อ แต่แนะนำให้คนไปตรวจทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขามีเพศสัมพันธ์ มีเหตุผลหลายประการที่ผู้คนควรได้รับการทดสอบเอชไอวี การทดสอบสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคร้ายแรงนี้ได้ ผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพของตนเอง ซึ่งอาจช่วยให้พวกเขาควบคุมสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการ ตรวจเอชไอวี

  • แนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องเอดส์ – แพทยสภา tmc.or.th
  • คู่มืออ่านประกอบการให้การปรึกษาเพื่อการ ตรวจเอชไอวี fhi360.org

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า