Blue Jean เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Bafta ผ่านเรื่องราวของการติดตามครูสอนพละที่เป็น เลสเบี้ยน ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ณ เวลาที่กฎหมายยังเป็นที่ถกเถียงกันในการห้าม “การส่งเสริมการรักร่วมเพศ” ในโรงเรียน โดยมีตัวละครนำหญิงสองคนที่จะสะท้อนให้เห็นว่ากฎพวกนั้นส่งผลกระทบต่อพวกเธอยังไง
Blue Jean : ภาพยนตร์ที่มีตัวละครเป็นครูสาวที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน (เลสเบี้ยน)
การต้องกลับมาเผชิญหน้ากับรุ่นน้องของตัวเอง ต้องเป็นประสบการณ์ที่แปลกประหลาดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตอนนั้นคุณอายุน้อยกว่านี้ และกำลังต้องก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิตวัยรุ่นของคุณ นั่นคือความรู้สึกที่แคทเธอรีน ลี รู้สึกขณะเฝ้าดูนักแสดงที่รับบทครูพละในวัย 20 ปี ผมสั้นสีบลอนด์ที่คล้ายกับของเธอเองอย่างประหลาด กำลังฝึกซ้อมเน็ตบอลในอาคารกีฬาของโรงเรียนมัธยมปลาย
“มันเหมือนกับโรงยิมที่ฉันเคยสอนทุกวัน” ลีกล่าว เธอได้สัมผัสกับการเดินทางข้ามเวลาแบบสมจริงด้วยการไปเยี่ยมชมกองถ่ายของ Blue Jean ซึ่งเป็นภาพยนตร์อังกฤษเรื่องใหม่ที่ถ่ายทำในนิวคาสเซิล และมีฉากในช่วงปลายยุค 80 เนื้อหาของเรื่องส่วนหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของเธอ และเรื่องราวของครูที่เป็นเกย์คนอื่นๆ
จากด้านหลังกล้อง ลี เฝ้าดูขณะที่นักแสดงหญิงที่เล่นเป็นครูสาวเข้ามาแทรกแซงเมื่อบทเรียนกลายเป็นการเย้ยหยัน และมีการตะโกนด่าทอเหยียดหยามคนรักร่วมเพศ
“ฉันไม่ได้ยินคำนี้มาหลายปีแล้ว และปฏิกิริยาของฉันก็… มันแทบจะโต้ตอบโดยอัตโนมัติ” ลีกล่าว “ฉันต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจทั้งหมดไม่ให้เอานิ้วอุดหู
“ฉันได้รับผลกระทบทางอารมณ์มากกว่าที่ฉันคาดไว้ มันค่อนข้างส่งผลต่อความรู้สึก”
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฌอง รับบทโดย โรซี แมคอีเวน ต้องสำรวจความสัมพันธ์อันซับซ้อนทั้งที่โรงเรียน และชีวิตส่วนตัวของเธอ ในช่วงเวลาที่ทัศนคติของสาธารณชน และการเมืองที่มีต่อการรักร่วมเพศกลายเป็นสมรภูมิทางศีลธรรมอันดุเดือด และหลายคนไม่ได้เปิดรับพวกเขามากขนาดนั้น
กฎหมายมาตรา 28 เปิดตัวในปี 1988 ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องค่านิยมดั้งเดิมของครอบครัว และปกป้องเด็ก ตามที่ผู้สนับสนุนระบุ โดยมีปักเจกฝ่ายตรงข้ามเรียกมันว่า “โฮโมโฟเบียที่สนับสนุนโดยรัฐ”
สำหรับครูที่เป็นเกย์หลายคน การหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องเพศในบทเรียนไม่ได้หมายถึงการกลัวว่าจะมีงานเข้าตัวเองเสมอไป หรือสนับสนุนนักเรียนที่กำลังดิ้นรนกับการทำความเข้าใจในเรื่องเพศของตัวเอง หรือเผชิญหน้ากับการกลั่นแกล้งจากกลุ่มคนรักร่วมเพศที่แอนตี้คนที่ต่างออกไปจากตนเอง สำหรับวัยรุ่นที่เป็นเกย์ มันมีเรื่องราวมากมายให้พวกเขาเผชิญหน้า
Lee ซึ่งเป็นครูสอนวิชาพละในลิเวอร์พูลในขณะนั้น เล่าประสบการณ์ของเธอให้ McEwen ฟัง
“ต้องคุยกันยาวเลย ถ้าจะเล่าว่าการวิตกกังวลตลอดเวลาที่โรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร ไม่ว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนรึไม่ก็ตาม การคิดล่วงหน้าไปเสมอเผื่อว่ามีคนมาถามคุณว่าสุดสัปดาห์ไปทำอะไรมา หรือชวนคุณไปเที่ยวผับ
“การได้เห็นโรซี่แสดงเป็นฌอง และดูเป็นคนตัวเล็กๆ วิตกกังวล และขี้อายในฉากโรงเรียนเหล่านั้น มันส่งผลต่อฉันมากจริงๆ” ลีกล่าวต่อ “ฉันเปลี่ยนจากความรู้สึกสงสารเธอเป็นรู้สึกอยากโอบกอดเธอ และบอกเธอว่าทุกอย่างจะไม่เป็นไร อยากจะเขย่าตัวเธอ และรู้สึกโกรธเธอจริงๆ ที่ไม่ทำตัวโดดเด่นกว่านี้”
ตอนนี้ Lee เป็นศาสตราจารย์ที่ Anglia Ruskin University และเพิ่งตีพิมพ์ Pretended: Schools และ Section 28 โดยวาดจากบันทึกประจำวันของเธอ
สไควร์สกล่าว “ฉันน้ำตาไหลจริงๆ แค่ได้ดูฟุตเทจชิ้นนั้น มันโดนฉันตรงๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ่านมา” Sarah Squires กล่าวว่าการกอด McEwen “รู้สึกเหมือนกอดตัวเองในอดีตที่ผ่านมันมา”
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าชิงรางวัลเปิดตัวยอดเยี่ยมในงาน Baftas สัปดาห์หน้า และเพิ่งคว้ารางวัล British Independent Film Awards สี่รางวัล รวมถึงการแสดงนำยอดเยี่ยมจาก McEwen
“ในที่สุดเมื่อฉันเห็น Rosy ถ่ายทอดบุคคลนี้ ฉันต้องไปหาเธอ และขอบคุณเธอ และฉันก็กอดเธอ และมันก็รู้สึกเหมือนกอดตัวเองในอดีตที่ผ่านพ้นมันมาได้” Squires ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ใหญ่ของ Leeds กล่าวเสริม
กฎหมายมาตรา 28 คืออะไร
“มีการปกปิดตัวเองมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของตัวเอง ผู้คนมากมายกลัวตกงาน พวกเขาจึงเก็บตัวเงียบ แม้แต่รสนิยมในการอ่านหลายครั้งก็จะหลีกเลี่ยงที่จะอ่านวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพวกเพศที่สาม”
“ฉันเริ่มคิดทันทีว่ากฎหมายนี้มีผลอย่างไรต่อชีวิตของฉันโดยที่ฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่จริง” เธอกล่าว
ตอนนี้เธออายุ 34 ปี และเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ Oakley ตัดสินใจว่าควรเล่าเรื่องนี้ เธอได้เขียนบท และกำกับ Blue Jean เธอคิดว่าตัวกฎหมายมาตรา 28 รวมถึงอคติในวงกว้างมีผลทำให้ผู้คนจำนวนมากหยุดเปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องเพศของตน
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
“ประสบการณ์ของฉันในการเติบโตขึ้นคือฉันไม่รู้จักเกย์สักคนโดยสิ้นเชิง” เธอกล่าว
“ฉันไม่รู้จักใครในชีวิตของฉัน หรือในสายตาของสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพูดถึงผู้หญิง ฉันไม่รู้ว่ามี เลสเบี้ยน ในชีวิตของฉัน – ในโรงเรียนของฉัน ในเหล่าครูของฉัน ในเพื่อนของพ่อแม่ของฉัน – ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่จริง”
“ฉันคิดว่าข้อความหนึ่งที่ฉันหวังว่าจะได้รับการสื่อสารคือเราไม่สามารถนิ่งนอนใจเกี่ยวกับสิทธิของเราได้ เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องละเอียดอ่อน” Oakley กล่าว และในขณะที่ตอนนี้แม้จะแตกต่างกันมากจากสถานการณ์ในตอนนั้น แต่บางอย่างก็ไม่ได้เปลี่ยนไป เธอกล่าว
“มีประสบการณ์มากมายของฌองที่ยังคงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันที่ผู้คนได้รับ และไม่ใช่แค่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่ฉันประสบอยู่ตลอดเวลา ความก้าวร้าวเล็กๆ น้อยๆ ในแง่นั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักกับการที่คุณบอกทุกคนว่าเป็นเลสเบี้ยน” เธอกล่าว และหวังว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นอีกหนึ่งข้อความในการให้ผู้คนเข้าใจความแตกต่างออกไป
ข้อมูลอ้างอิง: BBC NEWS