ยา PrEP หรือยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง เริ่มเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเพศ ของสังคมยุคออนไลน์ในปัจจุบัน เพราะมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีอัตราการเปลี่ยนคู่นอนสูง เนื่องจากสามารถนัดเจอกันได้ง่าย ผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ง่าย
ยา PrEP ช่วยลดความเสี่ยง HIV ได้อย่างไร
เพร็พ หรือ PrEP ย่อมาจากคำว่า Pre-Exposure Prophylaxis เป็นสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง โดยมีกลไกการทำงานที่จะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่อาจเข้ามาในร่างกาย ทำให้ไวรัสฯ ไม่สามารถเจริญเติบโต และถูกกำจัดออกไปจากร่างกายได้ในที่สุด
ใครบ้างที่เหมาะจะใช้ ยา PrEP
จงจำไว้ว่า ยาเพร็พ (PrEP) ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีเท่านั้น หากคุณเข้าข่ายความเสี่ยงต่อเชื้อดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอเข้ารับยาเพร็พทันที
- ผู้ที่มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้น
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยบ่อยครั้ง
- ผู้ที่มีคู่นอนผลเลือดต่าง
- ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
- ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
- ผู้ที่เคยรับยาเป๊ป (PEP) บ่อยครั้ง
ยาเพร็พ ซื้อที่ไหน อยากได้ต้องทำอย่างไร
การจะเริ่มทานยาเพร็พได้นั้น คุณจำเป็นต้องติดต่อสถานพยาบาลเท่านั้น เพราะแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับใช้ยานี้ได้อย่างถูกต้อง ไม่สามารถหาซื้อยาชนิดนี้ตามร้านขายยา หรือช่องทางออนไลน์ เพราะก่อนการทานยาเพร็พจะต้องมีการตรวจเช็คสุขภาพโดยรวมเสียก่อน
ยาเพร็พควรทานก่อนมีความเสี่ยงประมาณ 7 วัน และทานต่อเนื่องทุกวัน เวลาเดียวกัน คล้ายๆ กับยาคุมกำเนิดของผู้หญิง เพื่อให้ในร่างกายมีปริมาณยาอยู่จำนวนมากพอที่จะป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ หรือใครที่สามารถกำหนดวันเวลาได้ว่าตนเองจะมีความเสี่ยงในช่วงไหน ก็สามารถทานยาเพร็พแบบ On-demand ได้ กล่าวคือ การทานยาตามความต้องการ โดยสูตรการทานแบบนี้คือ 2:1:1 ได้แก่ ทานยาเพร็พ 2 เม็ด 2-4 ชั่วโมงก่อนมีความเสี่ยง จากนั้นให้ทานยาอีก 1 เม็ดหลังมีเพศสัมพันธ์ 1 วัน และทานอีก 1 เม็ดหลังมีเพศสัมพันธ์ 2 วัน
หลังจากได้รับยาไปแล้วนั้น แพทย์จะนัดตรวจเลือดเพื่อติดตามผลที่ 1 เดือน และหลังจากนั้นจะนัดอีกทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ติดเชื้อ ถ้าคุณไม่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วก็สามารถหยุดยาได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ พร้อมกับตรวจเลือดเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของยาเพร็พ ก่อนทำการหยุดยา
ทานยาเพร็พแล้วทำไมถึงยังต้องใส่ถุงยางอนามัยล่ะ?
เนื่องจากประสิทธิภาพของยา ไม่สามารถป้องกันเชื้ออื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคซิฟิลิส โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน โรคหูดหงอนไก่ โรคเริม เป็นต้น เราจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ถึงแม้ว่า ยาเพร็พจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่า 90% แต่ยังมีอีก 10 % ที่เราจำต้องรับความเสี่ยงจากคู่นอน ที่เราไม่รู้ว่ามีเชื้ออยู่ หรือไม่ อะไรๆ ก็ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นการป้องกันสองชั้นด้วยเพร็พ+ถุงยางอนามัย ย่อมมีความปลอดภัยมากที่สุด
ยาเพร็พ รับได้ที่ไหน
หน่วยบริการของรัฐ
ภาคเหนือ
จังหวัด | ชื่อสถานบริการ |
---|---|
เชียงใหม่ |
|
น่าน |
|
พะเยา |
|
แพร่ |
|
ลำปาง |
|
แม่ฮ่องสอน |
|
ลำพูน |
|
อุตรดิตถ์ |
|
ภาคกลาง
จังหวัด | ชื่อสถานบริการ |
---|---|
กรุงเทพมหานคร |
|
กำแพงเพชร |
|
กาญจนบุรี |
|
พิษณุโลก |
|
เพชรบูรณ์ |
|
สุโขทัย |
|
ชัยนาท |
|
นครสวรรค์ |
|
พิจิตร |
|
นครนายก |
|
นนทบุรี |
|
ปทุมธานี |
|
พระนครศรีอยุธยา |
|
อ่างทอง |
|
สระบุรี |
|
นครปฐม |
|
ประจวบคีรีขันธ์ |
|
เพชรบุรี |
|
ราชบุรี |
|
สมุทรสงคราม |
|
สมุทรสาคร |
|
สมุทรปราการ |
|
ภาคตะวันออก
จังหวัด | ชื่อสถานบริการ |
---|---|
ระยอง |
|
จันทบุรี |
|
ฉะเชิงเทรา |
|
ชลบุรี |
|
ตราด |
|
ปราจีนบุรี |
|
ภาคอีสาน
จังหวัด | ชื่อสถานบริการ |
---|---|
สระแก้ว |
|
กาฬสินธุ์ |
|
ขอนแก่น |
|
มหาสารคาม |
|
ร้อยเอ็ด |
|
นครพนม |
|
บึงกาฬ |
|
เลย |
|
สกลนคร |
|
หนองคาย |
|
หนองบัวบำภู |
|
อุดรธานี |
|
ชัยภูมิ |
|
นครราชสีมา |
|
บุรีรัมย์ |
|
สุรินทร์ |
|
มุกดาหาร |
|
ยโสธร |
|
ศรีสะเกษ |
|
อำนาจเจริญ |
|
อุบลราชธานี |
|
ภาคใต้
จังหวัด | ชื่อสถานบริการ |
---|---|
กระบี่ |
|
ชุมพร |
|
นครศรีธรรมราช |
|
พังงา |
|
ภูเก็ต |
|
ระนอง |
|
สุราษฎร์ธานี |
|
ปัตตานี |
|
พัทลุง |
|
ยะลา |
|
สงขลา |
|
สตูล |
|
หน่วยบริการที่ขยายสิทธิการให้บริการร่วมกับภาคประชาชน
ติดต่อจองตรวจเพื่อรับยาเพร็พได้ที่นี่ love2test.org/th/clinic
สรุปได้ว่า หากคุณทานยาเพร็พอย่างมีวินัย การป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวีจะให้ประสิทธิภาพที่ดี และปลอดภัยอย่างแน่นอนครับ อย่างไรก็ตาม การใช้ PrEP ในประเทศไทยยังคงมีความน้อยลง ซึ่งสาเหตุมาจากความไม่รู้ หรือขาดการเข้าใจ เรื่องการมีอาการเป็น และค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สังคม และความเครียดที่เกี่ยวกับการใช้ PrEP ซึ่งจะต้องรับมือให้ได้ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้ PrEP และลดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย
โดยรวมแล้ว ยา PrEP เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย และควรมีการเพิ่มการเข้าใจ และเข้าถึง PrEP สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง