ร่วมเฉลิมฉลอง นฤมิตรไพรด์ กิจกรรมสร้างสีสัน เสียงแห่งความหลากหลาย

นฤมิตวิวาห์

จากกิจกรรมนฤมิตรไพรด์ ครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากผู้คนทุกภาคส่วนทั้งรัฐ และเอกชน นฤมิตวิวาห์ ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่ของความหลากหลายทางเพศ และก่อนที่จะเวียนไปถึงงานนฤมิตรไพรด์ในปีนี้นั้น ทางผู้จัดได้มีการจัดกิจกรรมในเดือนของความรักอย่างกิจกรรมนฤมิตวิวาห์ขึ้นมา เพื่อต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์ที่จะมาถึง โดยคาดการณ์ว่าจะมีคู่รักหลากหลายเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าพันคนทั้งจากประเทศไทย และต่างประเทศ

สารบัญ

1. นฤมิตวิวาห์ มาจากความฝัน

Love2Test

2. แถลงข่าวงาน นฤมิตวิวาห์

นฤมิตวิวาห์ มาจากความฝัน

วาดดาว ชุมาพร ผู้ร่วมก่อตั้ง และจัดงานนฤมิตวิวาห์ กล่าวว่า นฤมิตวิวาห์ เป็นภาพความฝัน ที่เราต้องการจัดงานแต่งงาน 100 คู่ 100 ความรัก ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 “นี่คือเปิดศักราชใหม่ของการจัดตั้งครอบครัว ที่มีเพศหลากหลาย เป็นการยืนยันว่าสิทธิของครอบครัวเพศหลากหลายมีความหมาย และได้รับการโอบอุ้ม”

งานวิวาห์ที่ยืนยันสิทธิก่อตั้งครอบครัว และสมรสเท่าเทียม ภายใต้แนวคิด Love Liberate and Festival จะจัดขึ้น ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย และสร้างพื้นที่วัฒนธรรมสาหรับชุมชน LGBTQIA+ ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ผ่านกิจกรรม Event การเฉลิมฉลอง Festival ด้วยแฟชั่น ดนตรี ศิลปะ แบ่งเป็น 3 โซน

  • เวทีหลัก บริเวณสนามกีฬาที่จะถูกเนรมิตเป็นงานเลี้ยงเฉลิมฉลองให้กับผู้ร่วมสมรสโดยเชฟ LGBTQIA+ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ และคอนเสิร์ตที่จะขับกล่อมเรื่องราวความรักอันหลากหลาย
  • ลานพิธีวิวาห์ บริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาที่จะจัดขึ้นตามความเชื่อของผู้ร่วมสมรส เช่น พิธีทราย พิธีสาบาน พิธีสวมแหวน ร่วมกับขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่เพื่อยืนยันให้กับความรักที่มีศักดิ์ศรี และเท่าเทียมของผู้ร่วมสมรส
  • ลานกิจกรรม Love and Art บริเวณพื้นที่รอบสนามกีฬาที่จะถูกรังสรรค์โดยศิลปิน LGBTQIA+ ให้กลายเป็นนิทรรศการศิลปะ แกลเลอรีรูปภาพ และดนตรีกลางสวน

แถลงข่าวงาน นฤมิตวิวาห์

“ทีมงานนฤมิตไพรด์เชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเปิดประตูให้สังคมเอเชียโอบรับความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการผลักดันให้ LGBTQIA+ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และมีพื้นที่เติบโตในหลากหลายอาชีพอย่างมีศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ และคุณภาพชีวิตที่ดี งานวิวาห์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพฯ สำนักงานเขตดินแดง ภาคธุรกิจ สื่อมวลชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ”

สำหรับการแถลงข่าววันนี้มี ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมในงานแถลงข่าว และมีคู่รัก LGBTQIA+ ที่เป็นคู่แรกที่กดลงทะเบียนร่วมกิจกรรมนฤมิตรวิวาห์บนเวที ได้เซอร์ไพรส์ในการขอคู่รักแต่งงาน รวมถึงมี ส.ส. จากหลากหลายพรรคการเมือง และนักกิจกรรมที่มาร่วมในงานแถลงข่าววันนี้อีกด้วย

เรื่องที่น่าสนใจไปพร้อมๆ กับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น คือ พื้นที่ความหลากหลายทางเพศที่มีได้รับการสนับสนุนมากพอรึยังจากผู้มีอำนาจ หรือเรื่องที่ใกล้ตัวมากกว่านั้นอย่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ล้วนแล้วแต่ยังเป็นเครื่องหมายคำถามว่าภาครัฐสามารถที่จะทำอะไรเพื่อซัพพอร์ตกับพื้นที่ตรงนี้ได้มากกว่านี้ไหม เพราะไม่ใช่แค่เพื่อคนหลากหลายทางเพศ แต่เพื่อทุกคนในสังคม เพราะความหลากหลายทางเพศก็ร่วมทุกคนเข้าด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่งในตัวอักษร LGBTQAN+

หากดูจากสถานการณ์ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ณ ปัจจุบันแล้วยังถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะแม้จะผ่านร่างพรบ.รอบแรกเข้าไปในสภาแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสอีกมากที่จะถูกตีตก หรือดึงพรบ.คู่ชีวิตที่มีสิทธิน้อยกว่าผ่านเข้าไปแทน โดยความวิตกกังวลนี้เกิดมาจากคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญที่เคยตัดสินใจว่าการใช้คำนำหน้านาย หรือนางนั้นไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

นอกเหนือจากเรื่องทางกฎหมายแล้ว การสนับสนุนจากภาครัฐต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้ในการสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ของความหลากหลาย เพราะพื้นที่ของการยอมรับความหลากหลาย เริ่มต้นจากความเข้าใจในความแตกต่างที่มนุษย์มีให้กันได้ จากปัจจุบันยังมีการพบว่าหลักสูตรการเรียนการสอน หรือหนังสือตำราเรียนบางประเภทยังมีค่านิยมที่ผิด หรือการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของภาครัฐที่จำเป็นจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องช่วยส่งเสริมให้เกิดค่านิยมที่ถูกต้องขึ้นมาแทน

เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว ภาครัฐถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดค่านิยมแบบใดเกิดขึ้นกับสังคม มีอิทธิทางอ้อมมากมายที่บ่มเพาะขึ้นจากชีวิตประจำวันของเราที่ภาครัฐเองก็มีส่วนทำให้มันเป็นไปในทางที่เข้าใจมากขึ้น หรือลดลงก็ได้ อย่างเช่น หากเรามีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสอนให้ผู้คนที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาเข้าใจถึงความแตกต่าง และความหลากหลายของผู้คนในสังคม ปัญหาของการเลือกปฏิบัติจะลดลง และผู้คนในสังคมเองก็จะมีความเข้าใจกันที่มากขึ้น

ในปี 2023 นี้ ก็นับว่ามีกิจกรรมอีกมากมายตลอดทั้งปีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นงานเนรมิตไพรด์ครั้งที่สองที่จะเกิดขึ้น และนวราตรีเดินขบวน ผู้เขียนเองก็ได้แต่หวังว่าเราจะมีข่าวดีเกี่ยวกับกฎหมายที่สนับสนุนให้ทุกคนได้เท่าเทียมกันอย่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม รวมไปถึงกิจกรรมอีกมากมายที่ละลายอคติในใจของคนที่ไม่สามารถยอมรับความแตกต่าง และความหลากหลายทางเพศได้ต่อไปเรื่อยๆ จนทั้งหมดกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” ได้นั้นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า