การรักษาเอชไอวี เอดส์ เจาะลึกทุกขั้นตอน ตั้งแต่ตรวจพบจนถึงการใช้ชีวิต

รักษาเอชไอวี

หลายคนมีคำถามเกียวกับการ รักษาเอชไอวี และเอดส์ อย่างที่ทราบกันสถานการณ์ของโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดโดยรวมทั่วประเทศที่ลดลง และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าทางการรักษาเอดส์ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถิติในปี 2561 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 4.8 แสนคน และมีผู้ติดเชื้อใหม่เฉลี่ยวันละ 17 คน ซึ่งในปัจจุบันการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการใช้ “ยาต้านไวรัส” ที่ส่งผลให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานเป็นปกติ ซึ่งผู้ติดเชื้อสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ร่างกายแข็งแรง และมีชีวิตยืดยาวมากขึ้น

การรักษาเอชไอวี และโรคเอดส์ในปัจจุบัน

ปัจจุบันการ รักษาเอชไอวี ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาได้ถูกพัฒนามากขึ้นจนสามารถทำให้ผู้ป่วย ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป โดยจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์แนะนำ จะต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา รวมไปถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ทำให้เกิดการรับเชื้อใหม่ ตามหลักการสากลที่แพทย์ใช้รักษาผู้เชื้อเอชไอวี คือ Undetectable = Untransmittable (U=U) หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยมีการตรวจสอบแล้วว่าเชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก โดยการรักษาด้วยยาต้านไวรัสนั้น จะทำให้ร่างกายผู้ติดเชื้อมีปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดต่ำลง จนเรียกได้ว่า “ตรวจไม่เจอ” ส่งผลให้ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีต่อผู้อื่นได้

อาการเริ่มต้นของเอดส์เป็นอย่างไร?

อาการเริ่มต้นของเอดส์ คือ อาการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงแรกก่อนลุกลาม จนกลายเป็นโรคเอดส์ ในผู้ป่วยระยะแรกหลังจากที่ติดเชื้อใหม่ช่วง 2 – 4 สัปดาห์ จะมีอาการมีเจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป และจะหายไปเองในอีก 2 – 3 สัปดาห์ถัดมา และหลังจากนั้นอาจใช้เวลานานถึง 5 – 10 ปี ที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ไม่แสดงอาการ หรือ ระยะติดเชื้อเรื้อรัง โดยที่เชื้อไวรัสจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงผู้ป่วยจะแสดงอาการที่ชัดเจน เช่น มีไข้เรื้อรัง ท้องร่วง อ่อนล้า ต่อมน้ำเหลืองบวม มีเชื้อราในช่องปาก เป็นต้น

U = U ไม่พบเท่ากับไม่แพร่ คืออะไร?

U = U คือ Undetectable = Untransmissable แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ไม่พบเท่ากับไม่แพร่ เป็นหลักการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการยอมรับในวาระการประชุมเอดส์โลก ณ กรุงปารีส เมื่อปี 2560 เป็นการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยการทานยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อไวรัสHIV ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่าได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอพอ หรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ ให้สามารถรับการรักษาอย่างทันท่วงที และใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป

การรักษาโรคเอดส์ให้หายขาด

เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ทีมแพทย์ในประเทศอังกฤษได้เปิดเผยข้อมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีรายที่ 2 ของโลก ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด ซึ่งร่างกายปลอดจากเชื้อHIVมานานกว่า 2 ปีครึ่ง โดยการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เพื่อยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายเพิ่มจำนวน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่าผู้ป่วยรายนี้หายขาดจริงๆ เพราะการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์นั้นยังไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมในการใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนทั่วโลก เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

ทำไมถึงต้องตรวจเอชไอวี

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี ได้มีการรณรงค์ให้มีความสำคัญเช่นเดียวกับการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี เพราะเป็นแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีที่ได้ผล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของผู้ตรวจ รวมถึงสร้างความมั่นใจให้คนรัก และคนรอบข้างด้วยเช่นกัน โดยสาเหตุที่ควรตรวจหาเชื้อทุกๆปี คือ

  • เป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
  • เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิต และการดูแลสุขภาพ
  • หากตรวจพบเชื้อสามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที
  • ลดโอกาสในการลุกลามสู่ระยะเอดส์
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ และมีสุขภาพที่แข็งแรง
  • ป้องกันการแพร่เชื้อสู่คู่นอน และผู้อื่น
  • สามารถวางแผนชีวิตคู่ได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันการแพร่เชื้อสู่ลูกได้
  • ได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ควรเริ่ม รักษาเอชไอวี เมื่อไหร่?

  • กรณีหลังจากที่ผู้ป่วยสัมผัสเชื้อเอชไอวี หรือ Post-Exposure Prophylaxis ควรทำการรักษาหลังสัมผัสเชื้อทันที ภายใน 72 ชั่วโมง โดยในกรณีนี้ แพทย์อาจจะต้องมีการจ่าย ยาเป๊ป PEP Post -Exposure Prophylaxis โดยต้องทานต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน
  • กรณีผู้ป่วยได้รับเชื้อจนสามารถตรวจพบได้ หรือ Primary Infection เป็นช่วงระยะที่มีเวลาประมาณ 12 – 20 สัปดาห์ ควรทำการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว
  • กรณีผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยแสดงอาการ หรือ Asymptomatic Patients with Established Infection ควรทำการรักษาผู้ที่ติดเชื้อกรณีนี้ตามระยะของโรค ปริมาณของเซลล์ CD4+T-Cell รวมถึง ปริมาณ HIV RNA ตามขั้นตอนการพิจารณาของแพทย์

การเลือกแพทย์ และโรงพยาบาลที่ รักษาเอชไอวี และเอดส์

ปัจจุบันการ รักษาเอชไอวี ในไทยสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย ผ่านสิทธิการรักษาขั้นพื้นฐานประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงสิทธิสำหรับผู้ที่มีประกันสังคมด้วยเช่นกัน โดยสามารถเข้าถึงการรักษาหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี และรับยาต้านไวรัสฟรี ​

รักษาเอชไอวี ด้วยประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  • กรณีที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี และต้องการรับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • หากตรวจพบเชื้อจากสถานที่อื่น แต่มีความประสงค์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องมีเอกสารรายงานผลการตรวจมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่

รักษาเอชไอวี ด้วยประกันสังคม

  • กรณีที่พบเชื้อเอชไอวี และต้องการรับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม
  • หากตรวจพบเชื้อจากสถานที่อื่น แต่มีความประสงค์เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม จะต้องมีเอกสารรายงานผลการตรวจ มาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่

คลีนิคนิรนามทั่วประเทศ

  • คลินิกที่บริการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และตรวจเอชไอวี โดยผู้ที่ไปใช้บริการไม่ต้องแจ้งชื่อ และข้อมูลต่างๆ หากตรวจพบว่าติดเชื้อ จะไม่มีการรายงานผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ ซึ่งผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆ จะไม่ถูกเปิดเผย​

คลีนิคเอกชนที่ดูแลเรื่อง เอชไอวี

กรุงเทพมหานคร

  • เซฟ คลินิก
  • facebook.com/SafeClinicBKK
  • โทร 083-5344555 , 02-0068887
  • Line : @safeClinicBkk
  • e mail : team@bangkoksafeclinic.com
  • Facebook massenger : m.me/SafeClinicBKK
  • bangkoksafeclinic.com

เชียงใหม่ ​

  • ฮักษา กลางเวียง คลินิค
  • facebook.com/hugsaclinic
  • Facebook massenger : m.me/hugsaclinic
  • Line : @hugsaclinic
  • hugsaclinic.com
  • โทร 093 309 9988

การเลือกใช้ยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์

การรักษาเอชไอวี โดยการใช้ยาต้านไวรัส แต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันไป โดยวิธีการเลือกใช้ยาแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อให้ได้ผลดีตรงตามร่างกายของผู้ป่วยในการช่วยชะลอการเพิ่มจำนวนของไวรัส เสริมสร้างภูมิต้านทานที่บกพร่อง และรักษาอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ซึ่งต้องใช้ยา 3 ชนิดร่วมกัน หรือมากกว่า หรือที่เรียกว่า (HAART) Highly Active Antiretroviral Therapy เป็นการรักษาที่ลดโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อน และลดความเสี่ยง จากการเสียชีวิตได้เป็นอย่างดีที่สุด ในปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวีมีทั้งหมด 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน

  • กลุ่มแรก คือ nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
  • กลุ่มที่สอง คือ protease inhibitors (PIs)
  • กลุ่มที่สาม คือ non-nucleoside reverse transcriptase (NNRTIs)

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ในปัจจุบันผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ สามารถมีอายุขัยใกล้เคียงกับคนทั่วไป นอกจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้ว ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า