โรคซิฟิลิส กับคำถามยอดฮิต ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ และวิธีป้องกันการติดเชื้อ

โรค ซิฟิลิส

โรค ซิฟิลิส ถูกออกมาเตือนให้ระมัดระวังจากแพทย์ และสื่อต่างๆ ในช่วงระยะนี้ โดยที่ซิฟิลิสถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง และเกิดการระบาดอย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในโรคที่ติดต่อได้ง่าย ไม่แพ้ไปกว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีเลยทีเดียว ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงบ่อยครั้ง และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรค วันนี้เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคซิฟิลิส นี้กันดีกว่า

ซิฟิลิส คืออะไร

ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด เมื่อได้รับเชื้อสู่ร่างการแล้วจะกระจายไปตามกระแสโลหิต นอกจากนี้แล้วยังอาศัยอยู่ในร่างการของมนุษย์ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย แต่ว่าหากเราตรวจพบเจอตั่งแต่เนินๆ ก็สามารถที่จะรักษาได้หาดขาด

สาเหตุของ โรค ซิฟิลิส

ซิฟิลิส มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) และถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น นอกจากนี้เชื้ออาจมีอยู่ตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เชื้อจากคนที่เป็นโรคแพร่ลงในแหล่งน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฯลฯ จากนั้น เชื้อจะเข้าสู่เยื่อเมือก หรือบาดแผลตามร่างกาย เช่น ช่องปาก เยื่อบุตา ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก เป็นต้น แค่นี้ยังไม่พอเชื้อดังกล่าวยังสามารถอยู่รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อ สามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

อาการโรคซิฟิลิส

อาการของโรคซิฟิลิสมีทั้งหมด 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่1 Primary stage , ระยะที่ 2 Secondary stage , ระยะแฝง Latent stage และระยะที่ 3 Tertiary stage

โรค ซิฟิลิส ระยะที่หนึ่ง :

อาการระยะแรกของผู้ติดเชื้อซิฟิลิส โดยผู้ป่วยจะมีแผลเล็กลักษณะแข็ง สีแดง ทางการแพทย์เรียกว่า “แผลริมแข็ง” (Chancre) ขึ้นบริเวณช่องคลอด อวัยวะเพศ ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต ทวารหนัก หรือปาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีแผลเพียงจุดเดียว หรือหลายจุดก็ได้ โดยที่แผลดังกล่าวจะไม่มีอาการเจ็บปวด มักจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 10 วัน – 3 เดือน หรือในบางรายอาจแสดงอาการเร็วกว่าเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น และหลังจากนั้นอาการต่างๆ เหล่านี้จะหายได้เองภายใน 3-6 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามเชื้อซิฟิลิสยังคงกระจายตัวอยู่ร่างกายของผู้ป่วย

โรคซิฟิลิสระยะที่สอง :

อาการที่เกิดขึ้นหลังจากแผลริมแข็งหายไปประมาณ 1-3 เดือน โดยที่ผู้ป่วยจะมีผื่น ตุ่มนูน ลักษณะคล้ายหูด ขึ้นบริเวณลำตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอวัยวะเพศ หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นขึ้นบริเวณอื่นๆ ตามร่างกาย ซึ่งผื่นนี้จะไม่มีอาการคัน แต่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย ผมร่วง หรือต่อมน้ำเหลืองบวมผิดปกติ อาการเหล่านี้จะหายไปเอง หรือกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง

  • มีอาการไข้
  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • บางคนมีอาการปวดกล้ามเนื้อ​

โรคซิฟิลิสระยะแฝง หรือ ระยะสงบ :

โรคซิฟิลิสระยะนี้ต่อเนื่องมาจากผู้ป่วยกว่า 30% ที่ไม่ได้รับการรักษาในระยะที่ 2 อย่างถูกต้องและเหมาะสม จนส่งผลให้เกิดเป็นระยะแฝงในที่สุด และโรคอาจดำเนินเข้าสู่ระยะที่ 3 ได้ง่ายมากขึ้น โดยระยะแฝงนี้จะยังคงมีเชื้อซิฟิลิสอยู่ภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานหลายปี โดยจะไม่มีอาการแสดงอย่างชัดเจนแต่อย่างใด

โรค ซิฟิลิส ระยะที่สาม :

ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที มีมักจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 10-20 ปี ทำให้เชื้อลุกลามไปทั่วร่างกายจนส่งผลให้ร่างกายถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งระยะนี้จะแสดงอาการอย่างชัดเจน เช่น สมองเสื่อม ตาบอด อัมพาต หูหนวก โรคหัวใจ ไร้สมรรถภาพทางเพศ และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

การรักษาซิฟิลิส

ในปัจจุบันรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นหลัก สำหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยากลุ่มเพนิซิลลิน จี (Penicillin G) ที่แบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด เช่น

ยาเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G)
ยาเอเควียส เพนิซิลลิน จี (Aqueous Penicillin G)

ซึ่งแพทย์จะฉีดให้ผู้ป่วย โดยดูจากระยะเวลาในการป่วยว่าเป็นมานานเท่าใด และใช้ดุลพินิจในการรักษาในแต่ละคน

การป้องกัน โรค ซิฟิลิส

การป้องกันการติดซิฟิลิส จึงต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิส และควรสวมถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกันทุกครั้ง ส่วนคู่รักที่วางแผนแต่งงาน ควรตรวจร่างกายโดยละเอียด และตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยก่อนการแต่งงาน และวางแผนตั้งครรภ์ เพราะหากพบว่าติดเชื้อก็จะได้วางแผนรักษาให้หายขาดดีกว่าจะเกิดปัญหาสุขภาพ ด้วยการแพร่กระจายเชื้อให้อีกฝ่าย และส่งผ่านเชื้อให้ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการ และเสียชีวิตในเวลาต่อไป

คำถามที่ควรต้องรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

ซิฟิลิสเป็นเชื้อประเภทไหน เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

  • ตอบ ☛ ซิฟิลิส เป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่ง ที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล บนผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ

มีอะไรกันแค่ภายนอก มีสิทธิติด โรค ซิฟิลิส ไหม?

  • ตอบ ☛ หลายคนคิดว่าถ้าไม่มีการสอดใส่ ก็ไม่ติดโรคซิฟิลิส แต่หากมีกิจกรรมภายนอก เช่น การทำรักทางปาก (ออรัลเซ็กส์) หรือใช้ลิ้นเลียบริเวณอวัยวะเพศ แล้วไปสัมผัสกับเชื้อซิฟิลิสโดยตรง บริเวณช่องปาก ลิ้น ช่องคลอด ทวารหนัก ฯลฯ ก็สามารถติดเชื้อซิฟิลิสได้

ถ้าติดซิฟิลิสแล้วจะมีอาการอย่างไร?

  • ตอบ ☛ ไม่ใช่ทุกคนที่แสดงอาการของโรคซิฟิลิสทันที ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความแข็งแรง และโอกาสเสี่ยงที่มีบ่อย หรือไม่ เพราะเมื่อคนเราได้รับเชื้อไปแล้ว อาจอยู่ในระยะแฝงตัวได้นานหลายปี ทางที่ดีเมื่อรู้ว่าเสี่ยงให้รีบตรวจ และรีบรักษา

ผื่นซิฟิลิส มีลักษณะอย่างไร ?

  • ตอบ ☛ ก่อนจะเกิดผื่นซิฟิลิสขึ้น จะต้องมีแผลริมแข็งเสียก่อน แผลชนิดนี้จะมีขอบนูน แข็ง กดแล้วไม่เจ็บ ไม่ปวดอะไร ส่วนใหญ่จะพบได้มากที่อวัยวะเพศทั้งผู้ชาย และผู้หญิง หรือริมฝีปาก อาจสังเกตได้จากหลังวันที่มีความเสี่ยงที่ไม่ได้ป้องกันตั้งแต่สัปดาห์กว่าๆ ขึ้นไปจนถึงประมาณ 3 เดือน และแผลริมแข็งนี้ก็สามารถหายได้เองแม้ไม่ได้รักษาด้วย หลังจากนั้นประมาณเดือนครึ่งถึงสอง เดือนอาจมีผื่นขึ้นตามลำตัว มือ เท้า หรือตามร่างกายต่างๆ ร่วมกับมีอาการปวดหัว ตัวร้อน มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเนื้อเมื่อยตัว แต่อาการเหล่านี้ก็สามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1 – 3 เดือน

ติดซิฟิลิสแล้ว ถ้ารักษาจะหายขาดไหม กลับมาเป็นซ้ำได้ หรือเปล่า ?

  • ตอบ ☛ หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงโรคซิฟิลิส และตรวจเจอตั้งแต่แรก มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่หากอยู่ระยะที่เชื้อแฝงตัวนานแล้วก็ต้องให้แพทย์วินิจฉัย และรักษาไปตามระยะของโรคอาจใช้เวลานานกว่าเคสทั่วไป ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิสจะต้องทานยาอย่างเคร่งครัด และไปตามนัดหมอทุกครั้ง เพราะถึงแม้จะหายจากโรคซิฟิลิสแล้ว แต่ยังแนะนำให้ตรวจซ้ำทุกๆ 3 เดือนภายในระยะเวลา 3 – 5 ปีหลังจากทำการรักษา เพราะอาจจะมีเชื้อแฝงตัวเหลือรอดอยู่ หรือไม่เสี่ยงเพิ่ม

เป็นซิฟิลิสแล้ว ทำให้เป็นโรคเอดส์ใช่ หรือไม่ ?

  • ตอบ ☛ ซิฟิลิสกับเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นคนละโรคกัน แต่หากคุณเป็นโรคซิฟิลิสอยู่แล้วก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้มากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และคนที่ติดเชื้อเอชไอวีหากดูแลตัวเองได้ดี รับประทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัด ป้องกันตนเองก็ไม่สามารถติดโรคซิฟิลิสได้

ใครบ้างที่ควรตรวจ โรค ซิฟิลิส ?

  • ตอบ ☛ กลุ่มเสี่ยงในคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ใส่ถุงยางอนามัย ไม่ได้ป้องกันตัวเอง กลุ่มคนที่คิดว่าคู่นอนของตัวเองมีความเสี่ยงต่อโรคซิฟิลิส กลุ่มคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนจะมีบุตร

ทำอย่างไรถึงจะไม่ติดเชื้อซิฟิลิส ?

  • ตอบ ☛ ป้องกันตนเองด้วยการใช้ ถุงยางอนามัย ให้ทุกกิจกรรมทางเพศ หัดสังเกตุคู่นอนของตนเอง หรือมีเพศสัมพันธ์กับแฟนของตัวเองที่มั่นใจว่าปลอดเชื้อ ไม่ใช้บริการทางเพศ หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อันตราย หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดโรคซิฟิลิส คือ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า