หยุด Rainbow Washing รู้ทันกลยุทธ์ Queer Baiting ก่อนตกเป็นเหยื่อ

Rainbow Washing

เมื่อถึงเดือนแห่งความภาคภูมิใจของความหลากหลาย หรือ ‘Pride Month’ เราก็จะเริ่มเห็นการตลาดสีรุ้ง กับแบรนด์ต่างๆ และดูเหมือนจะมากขึ้นในทุกปี Rainbow Washing มีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากขึ้น และค่อนข้างที่จะส่งผลกระทบในประเด็นนี้ได้อย่างชัดเจน

Rainbow Washing คืออะไร?

คือกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ต่างๆ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ สินค้าลิมิตเตดอิดิชัน หรือแคมเปญโฆษณาที่ฉาบด้วย สีรุ้ง หรือ ธงสีรุ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQAIN+ แต่ไม่เคยผลักดันกิจกรรม หรือสนันสนุน LGBTQAIN+ จริงๆ ไม่มีนโยบายที่ส่งเสริมสิทธิ และประโยชน์ทั้งกลุ่มคนพิการ คนสูงวัยต่างๆ แต่ทำขึ้นเพื่อความฉาบฉวย ต้องการเกาะกระแส และกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์เท่านั้น

กล่าวคือการใช้สัญลักษณ์ หรือสีสันของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพิ่มยอดขายโดยไม่คำนึงถึงการสนับสนุน หรือความมุ่งมั่นต่อความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง

ตัวอย่างของกลยุทธ์การตลาด ได้แก่

  • แบรนด์สินค้าต่างๆ ที่ออกสินค้า หรือแคมเปญโฆษณาที่มีสีสันของธงรุ้งในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ แต่ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตลอดทั้งปีเพื่อสนับสนุนชุมชน LGBTQ+
  • องค์กร หรือบริษัทต่างๆ ที่แสดงสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ในงาน หรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความประทับใจ แต่ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน หรือนโยบายที่เอื้อต่อความเท่าเทียมทางเพศ
  • มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งแสวงหาประโยชน์จากความหลากหลายทางเพศ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง

วิธีสังเกต เช่น

  • แบรนด์ หรือองค์กรดังกล่าวมักใช้สัญลักษณ์ หรือสีสันของกลุ่ม LGBTQ+ ในช่วงเทศกาล หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศเท่านั้น
  • แบรนด์ หรือองค์กรดังกล่าวมักไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในช่วงที่เหลือของปีเพื่อสนับสนุนชุมชน LGBTQ+
  • แบรนด์ หรือองค์กรดังกล่าวมักไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในนโยบาย หรือการดำเนินงานภายในองค์กร

หากพบเห็นกลยุทธ์การตลาดนี้ เราสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • แสดงความเห็น หรือตั้งคำถามกับแบรนด์ หรือองค์กรดังกล่าวผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ อีเมล หรือการติดต่อโดยตรง
  • สนับสนุนแบรนด์ หรือองค์กรที่แท้จริงในการสนับสนุนชุมชน LGBTQ+
  • มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว หรือกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

ในงาน Bangkok Pride 2023 มีการออกมาเปิดเผย 13 องค์กร

การไม่ได้เป็นผู้สนันสนุนในงาน แต่มาเดินงาน Bangkok Pride ที่ทางฝั่งผู้จัด บอกว่ามีหลายแบรนด์ หลายบริษัทใหญ่ มาร่วมขบวน มีโลโก้ และถือป้าย ถ่ายภาพทำ PR Media ณ วันเดินขบวน โดยไม่ได้สนับสนุนการจัดงาน ช่วยเหลือทีมงาน อาสาสมัคร ในแง่การร่วมขบวน ซึ่งทางผู้จัดประกาศไว้ตั้งแต่เริ่มจัดงานว่าทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ปัญหาคือเอาป้าย ธง แปะ Logo มาใช้ในพื้นที่การเดินขบวน แบบไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนงาน

ผู้จัดงานแจ้งว่าเงินสนับสนุนในการจัดงานครั้งนี้เป็นการร่วมงานกับภาคี

เครือข่ายชุมชนผู้มีความหลากหลายทั่วประเทศ ที่ต่อสู้เรื่องสิทธิ์ Rainbow Washingมากว่า 10 ปี  เงินส่วนนี้บางส่วนจะกระจายไปให้หน่วยงานต่างๆ มากขึ้น และตั้งใจจัดร่วมกับกรุงเทพมหานครเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Pride ในปี 2028 เลยจำเป็นต้องมีมาตรการ และข้อกำหนดในการร่วมขบวนของบริษัท และแบรนด์ อย่างชัดเจน เพื่อความชัดเจนไม่ใช้เป็นเชิงพาณิชย์สำหรับผู้ที่ที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุน เพื่อแสดงจุดยืนในแต่ละบริษัทมีแคมเปญในช่วง Pride Month การร่วมสนับสนุนขบวนเป็นหนึ่งในนโยบายที่สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศจริงๆ ไม่ใช่แค่จัดทำขึ้นเพื่อการตลาดเฉพาะในเดือนนี้

บริษัท และแบรนด์ที่โดนพาดพิง ออกมาโต้กลับกระแส Rainbow Washing และกล่าวถึงมุมมองของตน

ฝั่งคนของบริษัท และแบรนด์ ที่โดนพาดพิง ออกมาโต้กลับ จริงๆ บริษัท และแบรนด์เหล่านั้นต้องการแสดงพลัง และมีนโยบายสนับสนุนกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่การทำเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท หรือ การRainbow Washing ตามที่กล่าวหา และบริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ รวมถึงสวัสดิการอยู่แล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุผลใดจึงไม่ได้เข้ามาร่วมเป็นผู้สนันสนุนในงาน

ซึ่งในทางกลับกันมีหลายแบรนด์ที่สนับสนุนงานแต่เขามองว่างานที่อยากสนับสนุน และเป็นการเริ่มทำงานร่วมกันของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และมีหลายมิติ หลายประเด็นมากๆ ในทิศทางที่ดีคือมีพาร์ทเนอร์ หลายแบรนด์ทำแคมเปญเป็นครั้งแรก ในขบวนนี้ และสิ่งที่เขามองคือการทำงานแบบยั่งยืน เพื่อผลักดันคนกลุ่มนี้ โดยเริ่มวางแผนที่จะมีนโยบายขยาย และครอบคลุมถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายจริงๆ เริ่มสนับสนุนให้มีพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน และเอื้ออำนวยต่อพนักงานในระยะยาว นั่นคือสิ่งที่แบรนด์ได้จากการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขบวนไพรด์ (Pride)

เพราะหลายบริษัทหลายแบรนด์ยังมีความเข้าใจผิดว่าขบวนไพรด์ (Pride) นั้นคือการเฉลิมฉลอง แต่งตัวสวย  แค่แปะสีรุ้งในสินค้าขายได้แล้วจบ แต่แท้จริงแล้วหัวใจของขบวนไพรด์ (Pride) คือ การแสดงออกทางเพศที่จะส่งสารประเด็นต่างๆ ทางสังคมให้ถูกต้อง

หัวใจของขบวน Pride เพื่อแสดงออกเกี่ยวกับ Rainbow Washing

  • การขับเคลื่อน และส่งสารประเด็นทางสังคม
  • ปัญหาของกลุ่มคนชายรักชายต่างๆ
  • คนพิการ
  • คนที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • Sex Worker พนักงานบริการทางเพศ

ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศที่จัดขึ้นทั่วโลกทุกปี มักจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ

ขบวนไพรด์เป็นโอกาสสำหรับสมาชิกชุมชน LGBTQ+ ที่จะออกมาแสดงความเป็นตัวเอง และเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ขบวนไพรด์ยังถือเป็นการแสดงออกถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขบวนไพรด์อยู่บ้าง ต่อไปนี้คือความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับขบวนไพรด์:

ขบวนไพรด์เป็นงานลามก หรือเสื่อมทราม

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองที่หลากหลาย มีการแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแต่งกาย ศิลปะ ดนตรี และการแสดง การแสดงออกบางประการอาจดูท้าทายขนบธรรมเนียมทางสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าขบวนไพรด์เป็นงานลามก หรือเสื่อมทราม

ขบวนไพรด์เป็นงานเฉพาะสำหรับสมาชิกชุมชน LGBTQ+

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานสำหรับทุกคนที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเพศตรงข้าม หรือ LGBTQ+ ก็เข้าร่วมขบวนไพรด์ได้

ขบวนไพรด์เป็นงานที่แสดงออกถึงความเกลียดชังต่อกลุ่มต่างๆ

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ และเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ ขบวนไพรด์ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศที่จัดขึ้นทั่วโลกทุกปี มักจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ เป็นโอกาสสำหรับสมาชิกชุมชน LGBTQ+ ที่จะออกมาแสดงความเป็นตัวเอง และเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ขบวนไพรด์ยังถือเป็นการแสดงออกถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขบวนไพรด์อยู่บ้าง ต่อไปนี้คือความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับขบวนไพรด์:

ขบวนไพรด์เป็นงานลามก หรือเสื่อมทราม

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองที่หลากหลาย มีการแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแต่งกาย ศิลปะ ดนตรี และการแสดง การแสดงออกบางประการอาจดูท้าทายขนบธรรมเนียมทางสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าขบวนไพรด์เป็นงานลามก หรือเสื่อมทราม

ขบวนไพรด์เป็นงานเฉพาะสำหรับสมาชิกชุมชน LGBTQ+

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานสำหรับทุกคนที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเพศตรงข้าม หรือ LGBTQ+ ก็เข้าร่วมขบวนไพรด์ได้

ขบวนไพรด์เป็นงานที่แสดงออกถึงความเกลียดชังต่อกลุ่มต่างๆ

  • ความจริงแล้ว ขบวนไพรด์เป็นงานเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ และเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ ขบวนไพรด์ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจ บริษัท และแบรนด์ ต้องใส่ใจ และเข้าใจหัวใจของการเดินขบวน มากกว่าใช้พื้นที่โปรโมทแบรนด์ หรือสินค้า เพราะการกระทำแบบนั้นก็ไม่ต่างกับการใช้สีรุ้งเพื่อการตลาดเพียงอย่างเดียว Rainbow Washig หรือ Queer Baiting

สิ่งที่เห็นได้ชัดในการจัด World Pride

ผู้จัดจะต้องเป็นองค์กรณ์ภาคสังคม ไม่ใช่บริษัท และแบรนด์ภาคธุรกิจ ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีหาแนวทางร่วมกันในการจัดขบวน Pride ในปีต่อๆ ไป เพื่อให้เข้าใจจุดมุ่งหมาย และการสนับสนุนแบบยั่งยืนต่อกลุ่มคน LGBTQAIN+ เป็นมิตรกับคนทุกเพศ ทุกวัย และให้ความใส่ใจสำหรับผู้พิการ สิทธิของคนข้ามเพศ เรื่องการเลือกใช้คำนำหน้า ต่างๆ ว่าเขายังต้องการการสนับสนุนอะไรอีกบ้างในประเด็นอะไรบ้างในสังคมไทย

World Pride คืองานสัปดาห์ความสามัคคีของ LGBTQ+ ที่ไม่ได้เน้นเพียงการเฉลิมฉลอง การแต่งตัวสีรุ้ง หรือการขายสินค้าเท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่หลึกหลัง และมีนวัตกรรมในการนำเสนอประเด็นสังคมอันสำคัญออกมา งานนี้ส่งเสริมการหารือ และเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับความแตกต่างของทุกคนในสังคม

การจัด World Pride ช่วยให้สามารถยกข้อความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของ LGBTQ+ สู่ศาสตร์สารคดี โดยการจัดกิจกรรมเช่นสัมมนา สัมภาษณ์ และการแสดงอาศัยที่เน้นถึงประเด็นที่สำคัญ เช่น ความเท่าเทียมในสังคม การยุติธรรม และสิทธิ และความเป็นมนุษย์ของทุกคน

นอกจากนี้ งาน World Pride ยังเป็นโอกาสที่สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างรัฐบาล และองค์กรที่สนับสนุนความเป็นอยู่ของ LGBTQ+ โดยการร่วมมือกันในการสร้างสรรค์งานนี้ เราสามารถสร้างสังคมที่เป็นกันเอง และเสรีภาพได้มากยิ่งขึ้น จากนั้น เราจึงเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายแท้จริงของ World Pride ไม่ได้รับการสังเกตแค่ในด้านบันเทิง แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการเข้าใจ และการรับรู้ในสังคม เพื่อสร้างความเท่าเทียม และความยุติธรรมให้กับทุกคนในสังคมของเราทั้งหมด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า