ชาวสิงคโปร์ออกมาชุมนุมทำกิจกรรมแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ+ ที่ชื่อว่า Pink Dot เพื่อกระตุ้นให้เกิดการยอมรับทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการรับรองด้านกฎหมาย สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง และพัฒนาประเทศหนึ่ง แต่ทัศนคติทางสังคมยังคงมีความอนุรักษ์นิยม เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันยังคงผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้จะไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจังก็ตาม
จุดเริ่มต้นของสัญลักษณ์แสดงการสนับสนุนการไม่แบ่งแยกความหลากหลายทางเพศ
การจัด พิงค์ ดอท ถือกำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2552 เพื่อร่วมกันสร้าง การรวมตัวของผู้คนในชื่อที่ใช้เรียกแทนสัญลักษณ์ จุดสีชมพู เป็นสัญลักษณ์แสดงการสนับสนุนการไม่แบ่งแยกความหลากหลายทางเพศ และการมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมในสิงคโปร์ แม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านจากผู้ไม่เห็นด้วยที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในสังคมอยู่บ้างก็ตาม
เราจะเห็นผู้คนนับพันคนในชุดสีชมพู ออกมารวมตัวกันในวันเสาร์ เดินโบกธงสีรุ้งไปตามถนนเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานที่รวมตัวกันในสวนสาธารณะ มีการถือป้ายแสดงความคิดเห็นเพื่อการสนับสนุนสิทธิทางเพศ และการสนับสนุนให้มีการยอมรับการเป็น LGBTQ+ เฉกเช่นในพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนที่เป็นเดือน Pride Month หรือ เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศ
ในปี 2023 ได้มีโครงการริเริ่มที่มุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนครอบครัวในชุมชน การสร้างครอบครัวของ LGBTQ+
มีคนกล่าวถึงกิจกรรมนี้ว่า ความก้าวหน้าทางด้านสิทธิทางเพศของสิงคโปร์นั้น หรือทำกิจกรรมแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ+ หรือ พิงค์ดอทถือว่ายังล้าหลังหากเทียบกับความก้าวหน้าของประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน โดยปัจจัยหลักมาจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่มีแนวคิดแบบยุคอาณานิคมของอังกฤษ ที่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายด้วยกัน และกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีบทบาทในการคว่ำกฎหมายสิทธิทางเพศหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยยืนหยัดให้รักษากฎหมายเดิมไว้ แต่จะไม่บังคับใช้อย่างจริงจังในทางปฏิบัติ
ในคำปราศรัยของเขาในการเปิดการชุมนุม นาย Siew กล่าวว่า “ฉันเชื่อมาโดยตลอดว่าการยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นในชีวิตของฉัน ในที่สุดปีที่แล้ว ความรักก็เอาชนะอคติได้”
Clement Tan โฆษกของ Pink Dot กล่าวกับสื่อก่อนงานเริ่มว่าการชุมนุมในปีนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่หัวข้อเรื่องครอบครัว
- เพื่อขจัดความคิดที่ว่าการยกเลิก 377A จะนำไปสู่การล่มสลายของค่านิยมของครอบครัว
- ก่อนที่จะมีการยกเลิกกฎหมายมาตรา 377A เราเห็นผู้คนจำนวนมากในสังคม โดยเฉพาะกลุ่ม ออกมารณรงค์ที่เรียกร้องให้มีการคุ้มสถาบันครองครอบครัว ถึงเวลาที่รัฐธรรมนูญต้องแก้ไขเพื่อป้องกันการขัดขวางทางกฎหมายต่อคำจำกัดความของการแต่งงานในยุคปัจจุบัน
- เราเห็นผู้นำทางการเมืองของเราจำนวนมากเข้าร่วมการประชุมในรัฐสภา โดยพูดถึงว่าความเท่าเทียมของ LGBTQ เป็นภัยคุกคามต่อค่านิยมของครอบครัวอย่างไร
- ครอบครัวที่เราเลือกเองที่เราพบในกลุ่มของ LGBTQ+ หรือครอบครัวที่เราเกิดมาเหล่านี้คือครอบครัวที่สมควรได้รับการยอมรับ การสนับสนุน และการรับรอง มันไม่สำคัญว่าครอบครัวจะเป็นลักษณะใด เป็นอย่างไร ณ ตอนนี้ สิงคโปร์ ยังไม่ได้เล็งเห็นว่ามันควรค่าแก่การยอมรับในทางกฎหมาย
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐสภาผ่านร่างกฎหมาย 2 ฉบับให้ยกเลิกมาตรา 377A ของประมวลกฎหมายอาญา พร้อมทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องคำจำกัดความของการแต่งงานระหว่างชาย และหญิงไปพร้อมๆ กัน นอกเหนือจากครอบครัวทางสายเลือดที่พวกเขาเกิดมาแล้ว Clement Tan ยังกล่าวว่ายังมี “ครอบครัวที่เราเลือกเอง” ภายในชุมชน LGBTQ+
เรื่องราวของผู้คนที่เคยเข้าร่วมงาน Pink Dot ที่สนับสนุนความเท่าเทียมของชุมชน LGBTQ+
- คุณ Jonathan Poh สถาปนิกวัย 43 ปี เคยมาที่นี่มาก่อน แต่นี่เป็นปีแรกที่เขามาเป็นอาสาสมัครในงานนี้ เขากล่าวว่ามันเป็นเรื่อง น่ายินดี ที่รู้ว่าได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครจากชุมชน LGBTQ+ เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ระบุว่าเป็น LGBTQ+ คนทั่วไปที่สนับสนุนความเท่าเทียมอีกด้วย
- นางรูธ ชาน วัย 22 ปี นักเรียนที่เข้าร่วมงานเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2018 กล่าวว่าการชุมนุมเป็นสถานที่ที่ไม่มีการตัดสิน “ฉันร้องไห้ที่นี่ทุกปี ทุกครั้งในงานที่ที่มีแสงไฟ มีการส่งข้อความที่จะสื่อกับสังคมจากคนกลุ่มนี้ ฉันจะร้องไห้ เธอกล่าว
ไฟที่เธอเธอหมายถึงการประดับไฟอันเป็นเอกลักษณ์ของงานในช่วงท้ายของการชุมนุม โดยผู้เข้าร่วมชูไฟฉายเพื่อสร้างคำที่ส่องสว่าง ซึ่งปีนี้เป็นคำว่า “ครอบครัว”
อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนกลุ่มเพศที่หลากหลายในสิงคโปร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคมในหมู่คนรุ่นใหม่ และการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติจำนวนมาก การเปิดประตูให้แก่นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่มาที่สิงคโปร์ก็มีผลในการสนับสนุนกลุ่มเพศที่หลากหลาย การมีคนต่างชาติเข้ามาในประเทศนี้มีการส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้น การเรียนรู้จากประสบการณ์ และวัฒนธรรมของคนอื่นช่วยให้สิงคโปร์เข้าใจ และยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น