จากความกลัวสู่ความเข้าใจ เรื่องจริงของเอชไอวี การรักษา และการป้องกัน

เชื้อเอชไอวี

ยังมีคนไทยจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการติด เชื้อเอชไอวี (HIV) หลายคนยังคิดว่าการติดเชื้อเอชไอวีก็เท่ากับว่าคนๆ นั้นได้ติดโรคเอดส์ไปเรียบร้อยแล้ว หลายคนกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ จนทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมกับ เชื้อเอชไอวี ถูกสังคมรังเกียจ ทว่าในความเป็นจริง หากลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี ให้มากขึ้นจะรู้ว่าจริงๆ แล้วเรื่องต่างๆ หรือข้อมูลที่เคยรู้มาอาจไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องทั้งหมด และไม่ว่าใครก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกายได้

เอชไอวี กับ เอดส์ ไม่ใช่โรคเดียวกันทั้งหมด

เชื้อเอชไอวี (HIV) มาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสประเภทหนึ่งที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ แต่สำหรับโรคเอดส์ (AIDS) มาจากคำว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome อันหมายถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากการโดนเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้ระบบภายในร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้เมื่อมีเชื้อโรคต่างๆ พยายามเข้ามาสู่ร่างกาย ร่างกายของผู้ป่วย เมื่อมีภูมิต้านทานน้อยก็ไม่สามารถต่อสู้ หรือกำจัดอาการป่วยใดๆ ได้เลย จนท้ายที่สุด ผู้ที่ไม่ได้ทำการรักษาก็จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากไวรัสเอชไอวี

จากความหมายข้างต้นของทั้ง 2 สิ่งที่กล่าวมานี้ จึงบอกได้ว่า โรคเอดส์ มีสาเหตุจากเชื้อเอชไอวีที่เข้ามาสู่ร่างกายบุคคลๆ นั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีภายในร่างกาย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการดูแลร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร

พื้นฐานความเข้าใจหลักๆ สำหรับการติดเชื้อเอชไอวีก็คือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายๆ คนโดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, ติดจากแม่สู่ลูกตอนมีครรภ์ เป็นต้นทว่าหากอธิบายอย่างเป็นทางการ เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อระหว่างบุคคลได้หากมีสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อในร่างกายเข้าไปสู่ร่างกายของคนปกติ เช่น เลือด, อสุจิ, ของเหลวจากช่องคลอด แม้กระทั่งนมแม่ก็สามารถติดต่อเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีต้นเหตุมาจากการกระทำที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นนั่นเอง แต่นอกเหนือจาก 3 ข้อนี้แล้วก็ยังมีอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้เข็มสัก, เข็มเจาะร่วมกัน, การได้รับเลือด เป็นต้น

ระยะของอาการเมื่อได้รับเชื้อเอชไอวี

ความจริงหลังจากการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยนอกจากการตรวจเลือดเท่านั้น แต่ภายในร่างกายของเราหากได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี มันจะเริ่มแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนออกมาในเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายเรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) และแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ระยะแรกที่ได้รับเชื้อเอชไอวีมานี้ อาจเกิดเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ อาจมีอาการไม่ค่อยสบายเหมือนอาการเป็นไข้หวัด มีผื่น เบื่ออาหาร มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เจ็บคอ เหงื่อออกในเวลากลางคืน เป็นแผลในปาก ในหลอดอาหาร หรืออวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับบางคน แต่อาจจะไม่เกิดกับทุกคน

หลังจากช่วงเวลานี้ อาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาให้เห็นเลย แต่เชื้อไวรัสเอชไอวีก็ยังคงทำหน้าที่ของมันไปเรื่อยๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่ายมาก

มีเพียงการตรวจเท่านั้นที่จะทราบว่าผู้นั้นติดเชื้อ หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทราบโดยเร็วว่าบุคคลผู้นั้นติดเชื้อ หรือไม่ เนื่องจากการรักษาสามารถป้องกันระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ให้อ่อนแอ และถูกทำลายลงได้ สรุปดังนี้

  • เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อเอชไอวีในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก จะถูกเรียกว่า ระยะฉับพลัน มักรู้สึกเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ผื่นขึ้นตามลำตัว ปวดเมื่อย
  • ระยะต่อมาเป็นช่วงที่หากรู้ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้มีอายุยืนยาว เรียกกันว่า ช่วงระยะสงบ ตอนนี้จะไม่มีการแสดงออกใดๆ ทั้งสิ้น หากไม่มีการตรวจร่างกายเลยก็จะอยู่ในระยะนี้เป็น 10 ปี ซึ่งยังไม่ถูกเรียกว่า ผู้ป่วยเอดส์
  • ระยะสุดท้าย นี่คือช่วงการติดเชื้อที่ถูกเรียกเป็น โรคเอดส์ อย่างชัดเจน เนื่องจากเชื้อมีการพัฒนาแบบเต็มขั้นสู่การเป็นเอดส์เรียบร้อย ภูมิคุ้มกันมีการบกพร่อง ไม่ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย จนในที่สุดมักเสียชีวิตจากโรคเหล่านั้น มากกว่าเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์

การกระทำที่ไม่เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

ยังมีคนที่เข้าใจผิดอยู่ไม่น้อย เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อรู้ว่าคนรอบข้าง หรือต้องอยู่ใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อจะมีความเป็นกังวลมาก จึงอยากอธิบายให้เข้าใจว่าการติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่ติดกันง่ายๆ หากไม่ได้มีการกระทำที่เสี่ยง โดยหากคุณต้องทำสิ่งเหล่านี้ ยืนยันว่าไม่มีทางติดได้แน่นอน

  • ต้องใช้ภาชนะต่างๆ ร่วมกับผู้ติเชื้อไม่ว่าจะเป็นจาน, ช้อน, ส้อม, แก้ว, ขันน้ำ ฯลฯ เนื่องจากเชื้อเอชไอวีไม่สามารถติดต่อผ่านภายนอก หรือของเหลวในร่างกายจำพวกน้ำลาย, น้ำตา ได้
  • หากมีผู้ติดเชื้อ ไอ, จาม, จูบ, หอม, ถ่มน้ำลาย ก็ไม่เสี่ยงเช่นกัน
  • การนอนหลับบนเตียงเดียวกันกับผู้ป่วย
  • การโดนยุงกัด

อาการเบื้องต้นของผู้ที่เริ่มติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับคนที่ใช้ชีวิตเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่กล้าไปตรวจเอชไอวีหากเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงได้

  • ถ่ายท้องแบบท้องเสียมาเป็นเวลานานมากกว่า 1 สัปดาห์
  • มักมีไข้อยู่เป็นประจำทั้งที่สภาพแวดล้อมปกติ
  • มีอาการปอดอักเสบ
  • รู้สึกว่าตนเองมีความจำลดลง เสียความทรงจำในบางเรื่อง เริ่มรู้สึกมีอาการซึมเศร้า หรืออาการอื่นๆ ในระบบประสาท
  • เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ, ทวารหนัก, ริมฝีปากแบบไม่มีสาเหตุ
  • บริเวณผิวหนัง เปลือกตา จมูก ปาก มีผื่นขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณขาหนีบ คอ รักแร้
  • น้ำหนักลงเฉียบพลันทั้งๆ ที่ทานอาหารปกติ
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติที่เคยเป็นมา
  • มักมีเหงื่อออกในตอนกลางคืน แม้จะเปิดแอร์ หรือพัดลมก็ตาม

อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย และใช้ชีวิตปกติได้เป็น 10 ปี จะรู้ว่าตนเองติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีการตรวจเลือดเท่านั้น

การป่วยเพราะติดเชื้อเอชไอวีไมได้น่ากลัว และอันตรายอย่างที่คิด หากรู้สึกว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงแนะนำให้พบแพทย์ตรวจเลือด ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงๆ ก็อย่าเครียด กังวลใจ เพราะโรคนี้สามารถดูแลตนเอง และใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ เผลอๆ อาจมีชีวิตได้ยาวนานกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า