เช็กด่วน HIV ใกล้ตัวมากแค่ไหน สัญญาณเตือน การป้องกัน และการใช้ชีวิต

ติดเชื้อ HIV

การ ติดเชื้อ HIV ที่หลายคนรู้จัก คือเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่ทำการรักษาก็จะเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า โรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของ การติดเชื้อ hivs ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคแทรกซ้อนได้ โดยที่เชื้อ hiv จะเข้าไปทำลาย กินเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซีดีโฟร์ (CD4) บางคนไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง และมีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรค ปอดบวม เป็นต้น และหากไม่ได้ทำการรักษาอาจมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

ติดเชื้อ HIV มีสาเหตุมาจาก

ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ประมาณ 14-28 วัน จะมีอาการคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป หรือคล้ายกับอาการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เป็น เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่อง ทำให้ร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายมากกว่าคนปกติ ซึ่งเชื้อเอชไอวี (HIV) ในปัจจุบันถูกค้นพบมากกว่า 10 สายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วโลก โดยสายพันธ์ุดั้งเดิม แบ่งตามลักษณะทางพันธุกรรมออกเป็น 2 ชนิด คือ​

  • HIV-1 : พบมากในประเทศแถบ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง
  • HIV-2 : พบมากในประเทศอินเดีย และแอฟริกาตะวันตก

เชื้อเอชไอวี (HIV) จะมี p24 antigen หรือสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน หรือ แอนติบอดี (Antibody) ต่อไวรัสนี้ และส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย หากร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีแล้วจะไม่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีออกไปได้ ซึ่งเชื้อเอชไอวีจะคงอยู่ตลอดไป

อาการ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวี ประมาณ 14-28 วัน จะมีอาการคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป หรือคล้ายกับอาการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์ และจะไม่แสดงอาการอีกในระยะเวลาหลายปี เป็นช่วงที่ผู้ติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • อาการไอเรื้อรัง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดเมื่อย เมื่อยล้าตามตัว
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ผิวหนังเป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ รอยฟกช้ำเป็นจุด
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ

หากพบว่ามีอาการดังกล่าวไม่ควรปล่อยปละละเลย ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดเพื่อความแน่นอน และหากผลการตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสเอชไอวี จะได้ทำการรักษา และป้องกันการกระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้อย่างทันท่วงที

เอชไอวี มีกี่ระยะ?

อาการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ปรากฎขึ้น เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว จะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ​

ติดเชื้อ HIV ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV infection)

อาจเรียกได้ว่าเป็นระยะติดเชื้อปฐมภูมิ หรือ อาการ ติด เชื้อ hiv ระยะเริ่มต้น ผู้ติดเชื้อในระยะนี้ จะแสดงอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย เป็นระยะที่ร่างกายเพิ่งติดเชื้อ hiv ใหม่ๆ ในระยะนี้ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวีขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับเชื้อ ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก อาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถึงประมาณ 28 วัน แล้วหายไปได้เอง ทั้งนี้ถือเป็นระยะที่วินิจฉัยได้ค่อนข้างยาก จึงต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อหา เชื้อ hiv จึงจะมีความชัดเจนมากที่สุด

ติดเชื้อ HIV ระยะแฝง (Latent HIV infection)

หรือระยะสงบทางคลินิกตามการแพทย์นิยมเรียก ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายยังคงมีเชื้อไวรัส เอชไอวี อยู่ แต่เชื้อจะแบ่งตัว และทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวในปริมาณที่น้อยมาก ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการใดๆ ในระยะนี้ และอาจกินเวลานานหลายปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ และสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ติดเชื้อเอง

ติดเชื้อ HIV ระยะเรื้อรัง (Chronically infected with HIV)

เป็นระยะมีการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างรุนแรง ผู้ป่วยในระยะนี้จะแสดงอาการที่ชัดเจนมากขึ้น แต่อาการมักจะไม่มีความรุนแรง เช่น วัณโรค ปอดกำเริบ มีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น โรคงูสวัด โรคเริม เป็นต้น โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวี จะแทรกตัวในต่อมน้ำเหลือง และม้าม ซึ่งจะทำระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยในระยะนี้จะไม่มี hiv อาการ ผิดปกติที่เด่นชัด

ติดเชื้อ HIV ระยะสุดท้าย หรือระยะเอดส์ (AIDS)

เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันโรคของผู้ติดเชื้อถูกทำลายจนอ่อนแอลงมาก ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วย hivอาการ แทรกซ้อนอื่นๆ ผู้ป่วยในระยะนี้จะแสดงอาการที่รุนแรงอย่างชัดเจน เช่น อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ท้องร่วงเรื้อรัง วัณโรค เชื้อราในสมอง มะเร็งบางชนิด ฯลฯ ระยะเอดส์ มักเริ่มขึ้นเมื่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ลดลงต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตรของเลือด

“ประเด็นสำคัญ! ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ยังไม่เรียกว่าเป็นผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์“

เอชไอวี (HIV) ติดต่อทางไหนบ้าง?

การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน

การสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งต่างๆ ของติดเชื้อเอชไอวี เช่น น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำนมแม่ เป็นต้น

การติดเชื้อผ่านบาดแผลเปิด แผลเริม และแผลติดเชื้อ

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้เข็มเจาะหู และการสักลงบนผิวหนัง

การติดต่อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

  • คือการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่ที่ติดเชื้อไปยังลูกในระหว่างการตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรือหลังคลอดบุตร การติดเชื้อเอชไอวีสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธีในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ผ่านทางรก ผ่านทางสายสะดือ หรือผ่านทางสารคัดหลั่งของแม่ที่สัมผัสกับทารกขณะคลอด การติดเชื้อเอชไอวียังสามารถเกิดขึ้นได้หลังคลอด ผ่านทางน้ำนมแม่
  • ความเสี่ยงในการติดต่อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ระดับปริมาณไวรัสในเลือดของแม่ ระยะของการตั้งครรภ์ สุขภาพของทารก และการได้รับยาต้านไวรัสของแม่
  • หากแม่ที่มี อาการติดเชื้อhiv ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ทารกที่เกิดจากแม่ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวีถึงร้อยละ 25-40 อย่างไรก็ตาม หากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ความเสี่ยงในการติดต่อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สามารถลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 2 ได้
  • ยาต้านไวรัสสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเอชไอวีแพร่กระจายจากแม่ไปยังลูกได้ โดยยาต้านไวรัสจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวีในร่างกายแม่ ทำให้ปริมาณไวรัสในเลือดของแม่ลดลง จนแทบไม่ตรวจพบได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดต่อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก นอกจากนี้ การวางแผนการคลอดที่ดี และการดูแลทารกหลังคลอดอย่างเหมาะสม ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้อีกด้วย
  • หากคุณแม่มีความเสี่ยงในการติดเอชไอวี ควรไปตรวจเลือดเพื่อรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษา และการดูแลทารกหลังคลอดอย่างเหมาะสม

ขั้นตอนตรวจการ ติดเชื้อhiv

วิธีการป้องกัน การติดเชื้อ hiv

การป้องกันการ ติดเชื้อ hiv สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยการตระหนัก และปฏิบัติตามวิธีต่างๆ ดังนี้

  • สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรส แฟน คนรัก หรือไม่มีอะไรกับคนที่ไม่รู้จัก
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาเสพติดชนิดเข้าเส้นร่วมกับคนอื่น
  • หากต้องการสักตามผิวหนัง หรือเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ต้องมั่นใจว่าสถานบริการนั้นๆ ปลอดภัยไว้ใจได้
  • ตระหนักไว้เสมอว่า ไม่ว่าใครก็มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ทั้งสิ้น จึงไม่ควรไว้วางใจคนที่เป็นคู่นอน และป้องกันตัวเองอย่างรอบคอบ
  • ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของทั้งคู่ไม่มีการติดเชื้อ หรือเป็นโรคอื่นๆ ที่สามารถแพร่สู่คู่สมรสได้
  • เข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
  • การใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวี (Pre-Exposure Prophylaxis) ที่ช่วยป้องกัน ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
  • อย่าลืม ตรวจ HIV กันเป็นประจำนะครับ ค้นหาสถานที่ตรวจทั่วประเทศคลิกที่นี่ love2test.org/th/clinic

การรักษา ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ในปัจจุบันเอชไอวียังไม่สามารถรักษาให้หายขาดไปจากร่างกายได้ มีเพียงการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะควบคุมเชื้อ

  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับเพียงพอ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกบุหรี่ เลิกเหล้าเบียร์
  • การดูแลสุขภาพจิตให้ผ่องใสไม่เครียด

กล่าวโดยสรุปคือ การ ติด เชื้อ hiv (เอชไอวี) เป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ด้วยการรักษา การดูแล และการสนับสนุนที่เหมาะสม การตรวจพบการ ติด เชื้อ hiv ตั้งแต่เนิ่นๆ การรับประทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัด และสม่ำเสมอ การเลือกวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ และการสนับสนุนทางอารมณ์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการใช้ชีวิตร่วมกับเชื้อ HIV

ด้วยการลดการตีตรา ส่งเสริมความตระหนักรู้ และรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการรักษา อาการติดเชื้อhiv เราจะสามารถมุ่งสู่โลกที่เอชไอวีไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิตทุกคนอีกต่อไป แต่เป็นโรคที่สามารถจัดการได้ซึ่งช่วยให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเองได้ จำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวในการเดินทางครั้งนี้ และยังมีความหวังสำหรับอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า