คำถามที่พบบ่อย

ค้นหาคำตอบที่คุณต้องการ ได้ในส่วนของคำถามที่พบบ่อย ที่ครอบคลุมของเรา

ไม่ได้ เอชไอวีไม่สามารถติดโดยการกอด และการจูบได้ เพราะการกอด หรือจูบ ไม่สามารถทำให้สารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ เข้าสู่ร่างกายของผู้ติดเชื้อได้

ไม่ติด หากผู้กระทำ (คนโมก คนอม) ไม่มีแผลในช่องปาก หรือลำคอ แต่ว่ามีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองใน ซิฟิลิส เริม

คือช่วงเวลาที่ยังอาจตรวจไม่พบการติดเชื้อ โดยทั่วไป การตรวจเลือดไม่ได้ใช้วิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยตรง แต่เป็นการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น หรือ “แอนติบอดี้” ถ้าเราได้รับเชื้อเอชไอวีจริง ร่างกายจะค่อยๆ สร้างสารชนิดนี้ออกมาเพื่อต่อต้าน หรือกำจัดเชื้อเอชไอวี

ซึ่งโดยปกติร่างกายจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนในการสร้างแอนติบอดี้ จนมีปริมาณมากพอที่จะตรวจพบการติดเชื้อฯ จึงจะให้ผลเป็นบวก แต่ถ้าเราประเมินความเสี่ยงครั้งสุดท้ายผิดพลาด ก็จะทำให้การนับระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ผลอาจออกมาเป็นลบ แม้ว่าร่างกายจะมีเชื้อเอชไอวีอยู่ก็ตาม

PrEP เป็นชื่อย่อของ PreExposure Prophylaxis คือการให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัส โดยการรับประทานยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

การตรวจ ในประเทศไทย ปัจจุบันมี 3 วิธี

  1. Antibody เป็นวิธีตรวจหาภูมิคุ้มเคยต่อเชื้อ สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยตรวจด้วยชุดตรวจ forth generation ซึ่งสามารถตรวจหาได้ทั้งตรวจหาภูมิคุ้นเคย (Antibody) และการตรวจหาชิ้นส่วนของเชื้อ (Antigen)
  2. NAT เป็นบริการเสริมที่ใช้ตรวจร่วมกับการตรวจ Antibody โดยตรวจหาสายพันธุกรรมของเชื้อ HIV สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยง 5 วันขึ้นไป
  3. PCR เป็นการวิธีตรวจหาสารพันธุกรรมในตัวเชื้อเอชไอวี สามารตรวจได้หลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ทุกคนที่มี หรือเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทั้งเพศสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชาย หญิง-หญิง หรือชาย-หญิง
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • ผู้ที่ มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ผู้ที่เคยตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่ฉีดยาเสพติดด้วยการฉีดยาเข้าเส้น

“ไม่ใช่” ผู้มีเชื้อเอชไอวีกับผู้ป่วยเอดส์แตกต่างกัน ผู้ป่วยเอดส์จะต้องมีอาการแสดงของโรคเอดส์ และได้รับการวินิจฉัยจากหมอแล้ว สำหรับผู้มีเชื้อ บางคนอาจกินยาต้านไวรัส บางคนอาจไม่ต้องกินเพราะ CD4 ยังสูงอยู่

การกลืนน้ำอสุจิ ไม่เสี่ยงแน่นอน เพราะในกระเพาะอาหารเรานั้นมีกรดที่สามารถฆ่าเชื้อ HIV ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าในช่องปากเราไม่มีแผล และสะอาด ถ้าหากไม่แน่ใจ ควรไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อปกป้องได้ทันทวงที

PEP ย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis คือ ยาต้านไวรัส ที่จ่ายให้ทันทีที่คนไข้เพิ่งไปสัมผัสเชื้อเอชไอวีมา เหตุผลที่ต้องทานยานี้ให้เร็วที่สุด ก็เพื่อให้ยาเข้าไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส และให้คนไข้สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกัน เอชไอวี ก่อนที่เชื้อจะแพร่ในคนนั้นๆ ดังนั้น การทานยา เป๊ป จึงจำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา

สามารถจัดการได้ โดย – รีบพบแพทย์ รู้เร็ว รักษาเร็ว สุขภาพแข็งแรง ชีวิตยืนยาว การรีบพบแพทย์จะทำให้เราเข้าถึงการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น และเข้าถึงยาต้านไวรัสได้เร็วขึ้น – หากลุ่มช่วยเหลือด้านจิตใจ ทุกวันนี้ มีหน่วยงาน และกลุ่มอาสาสมัครที่ช่วยเหลือด้านจิตสังคมมากมาย อีกทั้งยังให้คำแนะนำเรื่องการเข้าถึงยาต้านไวรัส – ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเอชไอวี และการอยู่ร่วมกับเชื้อ

การได้ทราบข้อมูลที่มีประโยชน์จะช่วยคลายกังวลได้มาก หากเพื่อนไม่มีเน็ต ก็สามารถสอบถามไปยังองค์กรที่ช่วยเหลือ (โทร. 1663) ได้ – ดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่รับเชื้อเพิ่ม ไม่แพร่เชื้อ อย่าลืมว่าผู้มีเชื้อคนอื่นอาจมีเชื้อดื้อยา หากรับเชื้อมาอาจทำให้เราดื้อยาต้านไวรัส หรือเราอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก็ได้ ดังนั้นต้องใช้ถุงยางทุกครั้งกับทุกคน

ไม่เสี่ยง แต่ถ้ามีดโกนมีเลือดติดอยู่เต็มมีด แล้วนำมาใช้ต่อทันที และเกิดบาดมีแผลเลือดออก ก็อาจมีโอกาสเสี่ยง

ผลการตรวจหาเชื้อ HIV = Non Reactive หมายความว่า ไม่พบ แอนติบอดีต่อเชื้อ HIV ในเลือดของคุณ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายความว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อ HIV อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ผลตรวจอาจเป็น Non Reactive ทั้งที่ติดเชื้อ เช่น อยู่ในช่วงระยะฟักตัวของเชื้อ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยง และพิจารณาการตรวจซ้ำในอนาคต

ตรวจเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือถ้าไม่มั่นใจในคู่ของคุณก็ควรตรวจทันที หรือตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง

ระยะฟักตัวของเชื้อเอชไอวี แต่ยังตรวจไม่พบ ทำให้ช่ไม่สามารถตรวจเจอเชื้อได้ จะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือน

ทั้งสองแบบความแม่นยำไม่แตกต่างกันมาก จะต่างกันตรงที่ Anti-HIV สามารถตรวจได้หลังเสี่ยง 14 วันขึ้นไป ส่วน NAT สามารถตรวจได้หลังเสี่ยง 7 วันขึ้นไป

ในปัจจุบันยาต้านไวรัส HIVที่ใช้กันนั้น มี 6 กลุ่ม

  1. Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)
  2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)
  3. Protease Inhibitors (PIs)
  4. Entry Inhibitors
  5. Integrase Inhibitors
  6. Multi-Class Combinations

เนื่องจากยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นยาที่ค่อนข้างแรง ทำให้บางรายที่รับไปทาน อาจมีผลข้างเคียงในช่วงเริ่มทานได้ อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้จะมีดังนี้

  • อาการท้องเสีย
  • วิงเวียนศรีษะ
  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกอ่อนแรง

CD4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells คือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ มีหน้าที่ในการสร้างสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส โดยคนปกติปกติค่า CD4 จะอยู่ระหว่าง 500–1,500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร

CD4 ที่ระดับน้อยกว่า 200 ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเข้าสู่สภาวะเอดส์ AIDS ได้ ซึ่งรุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

เอชไอวี และเอดส์ มีผู้คนมากมายที่ยังเข้าใจผิด และยังไม่ทราบว่า สองสิ่งนี้ มีความแตกต่างกันอยู่ ไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเราแล้ว มันจะมุ่งไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์ที่เป็นเป้าหมายหลักโดยตรงของไวรัสเอชไอวี คือ เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์ (Lymphocyte) ทีเซลล์ (T-cell) ชนิด ซีดี 4 (CD4) ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายแล้วนำไปทำลาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย จึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก

โดยโรคเอดส์ เป็นเพียงระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น เอชไอวี และเอดส์ จึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

ไม่ใช่ทุกคนที่แสดงอาการของโรคซิฟิลิสทันที ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความแข็งแรง และโอกาสเสี่ยงที่มีบ่อย หรือไม่ เพราะเมื่อคนเราได้รับเชื้อไปแล้ว อาจอยู่ในระยะแฝงตัวได้นานหลายปี ทางที่ดีเมื่อรู้ว่าเสี่ยง ให้รีบตรวจ และรีบรักษา

  • งดมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา
  • เข้ารับการรักษาตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
  • หมั่นรักษาสุขอนามัยร่างกาย และบริเวณที่พบรอยโรค
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น สูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอ
  • ควรรีบพบแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติ หรือ มีอาการรุนแรงมากขึ้น
  • ควรให้คู่นอนทำการตรวจรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

วิธีการป้องกันการติดเชื้อหนองในเทียมที่ได้ผลดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ไม่จริง เพราะการสวมถุงยางอนามัยสองชั้น อาจจะทำให้เกิดการเสียดสีของถุงยางอนามัยแต่ละชั้นไปมา ขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์อยู่ กลายเป็นเพิ่มโอกาสทำให้ถุงยางอนามัยแตก หรือรั่วซึมได้ ซึ่งจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้มากขึ้น ดังนั้นควรสวมถุงยางอนามัยเพียงชั้นเดียวเท่านั้น

ราคาค่าบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันนั้น สามารถเข้ารับการตรวจฟรีในโรงพยาบาลรัฐ หรือสถานพยาบาลภายใต้ระบบประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลเอกชน ศูนย์สุขภาพ แล็ปตรวจโรค คลินิกพิเศษ รวมถึงคลีนิคนิรนามตามจังหวัดต่างๆ โดยราคาในการตรวจจะเริ่มตั้งแต่ 200 – 1,500 บาท ทั้งนี้ควรสอบถามสถานพยาบาลนั้นๆ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อนเข้ารับบริการ