ออสเตรเลีย ฉลองครบรอบ 5 ปีกฎหมายการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน

กฎหมายการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันในออสเตรเลีย

เป็นเวลาห้าปีแล้วที่ ออสเตรเลีย ออกกฎหมายให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากผลการสำรวจทางไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2017 พระราชบัญญัติการแต่งงานได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีความเท่าเทียมกันในคู่รักเพศเดียวกันในปี พ.ศ.2010 ออสเตรียอนุญาตให้คู่รัก Gay และ Lesbian สามารถจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต หรือ Civil Partnership ได้ก่อนที่ในปี พ.ศ.2019 จะประกาศกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันมีสถานภาพสมรสได้

สารบัญ

1. GAYBY BABY ผลงานกำกับของ มายา นีเวลล์ (Maya Newell) ซึ่งพูดถึงเด็กชาว ออสเตรเลีย 4 คน ครอบครัวที่มีพ่อสองคนที่เป็นเกย์

2. ผลสำรวจของ Easy Weddings พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงานแต่งของจำนวนคู่สมรสเพศเดียวกันคิดเป็นปริมาณเงินในธุรกิจวิวาห์ ถึง 170 ล้านดอลลาร์ฯ

3. เรื่องราวของ Karen และ Bronte ที่เธอกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าการลงมติให้การแต่งงานเพศเดียวกันถูกกฎหมาย

4. นักรณรงค์เพื่อสิทธิเกย์กล่าวว่าในช่วงทศวรรษ 1980 ความรุนแรงต่อกลุ่ม LGBTQ นั้น “มันไม่ยุติธรรมเลย”

GAYBY BABY ผลงานกำกับของ มายา นีเวลล์ (Maya Newell) ซึ่งพูดถึงเด็กชาว ออสเตรเลีย 4 คน ครอบครัวที่มีพ่อสองคนที่เป็นเกย์

อีกแรงขับเคลื่อนสำคัญในปี ค.ศ.2015 คือภาพยนตร์สารคดี GAYBY BABY ที่เกี่ยวกับเด็กชาวออสเตรเลีย 4 คน ครอบครัวของพวกเขาทั้งที่มีพ่อสองคนที่เป็นเกย์ หรือแม่สองคนที่เป็นเลสเบี้ยน หนังเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับของ มายา นีเวลล์ (Maya Newell) ซึ่งเธอก็เป็นเด็กที่เติบโตมากับการมีแม่ สองคนเหมือนกับเหล่าเด็กๆ ที่เธอเฝ้าติดตามกว่า 4 ปี คำถามคือ “ลูกที่อยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัวหลากหลายเพศควรมีชีวิตอย่างไร และได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร หนังเรื่องนี้เข้าชิงรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์หลายเทศกาล อาทิรางวัล

  • รางวัล Best Feature Length Documentary จากเทศกาล The Australian Academy of Cinema and Television Arts (AACTA) Awards,
  • รางวัล Best Documentary (Local or International) จาก Australian Film Critics Association Awards
  • รางวัล Best Documentary จาก Sydney Film Festival 

ซึ่งสะท้อนเสียงของครอบครัวยุคใหม่จากครอบครัวที่มีพ่อแม่เป็นเพศเดียวกัน ในออสเตรเลียได้เป็นอย่างดี

ผลสำรวจของ Easy Weddings พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงานแต่งของจำนวนคู่สมรสเพศเดียวกันคิดเป็นปริมาณเงินในธุรกิจวิวาห์ ถึง 170 ล้านดอลลาร์ฯ

จากผลสำรวจของ Easy Weddings บริษัทผู้ให้บริการด้านงานแต่ง ซึ่งเก็บข้อมูลจากชาวออสเตรเลียกว่า 3,300 คน ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปี ค.ศ.2017 พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงานแต่งเฉลี่ยของชาวออสเตรเลียนั้นอยู่ที่ 31,368 ดอลลาร์ออสเตรเลีย จำนวนคู่สมรสเพศเดียวกัน 5,420 คู่ จึงอาจคิดเป็นปริมาณเงินในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานวิวาห์ ถึง 170 ล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็นเงินไทยเกือบ 3,800 ล้านบาท

ในส่วนของคู่สมรสเพศเดียวกันชาว ออสเตรเลีย นั้น คาดว่าความเป็นจริงมีจำนวนมากกว่าข้อมูลที่เปิดเผย

เนื่องจากแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์เพื่อการสมรส (Notice of Intended Marriage) ของ ออสเตรเลีย จะต้องเลือกระบุเพศจาก 3 ตัวเลือก คือ เพศชาย เพศหญิง และ X (ไม่ประสงค์จะระบุเป็นทั้งหญิง และชาย) และตัวเลขการจดทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกันนั้นก็นับเพียงคู่ที่ระบุว่าเป็นเพศชายทั้งคู่ หรือเพศหญิงทั้งคู่เท่านั้น ไม่นับรวมคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เลือกจะระบุเพศ

ในปี 2016 สำมะโนประชากร และเคหะออสเตรเลีย พบว่ามีคู่รักเพศเดียวกันที่อาศัยอยู่ด้วยกันในออสเตรเลียถึง 46,800 คู่ คิดเป็น 0.9 เปอร์เซ็นต์ของปคู่รักทั้งหมดที่อาศัยอยู่ด้วยกันในประเทศ และเชื่อว่าตลาดงานวิวาห์ในออสเตรเลียจึงยังมีศักยภาพที่จะโตได้อีก

สำหรับคู่รักหลายพันคู่ การปฏิรูปได้เปลี่ยนแปลงชีวิต และนำไปสู่การยุติการรณรงค์ และการเลือกปฏิบัติกฎหมายออสเตรเลียให้คำจำกัดความการแต่งงานว่าเป็น “การที่คนสองคนอยู่รวมกันโดยไม่แยกจากคนอื่นๆ โดยสมัครใจตลอดชีวิต”

เรื่องราวของ Karen และ Bronte ที่เธอกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าการลงมติให้การแต่งงานเพศเดียวกันถูกกฎหมาย

Karen Pack แต่งงานกับ Bronte คู่หูของเธอในซิดนีย์เมื่อปีที่แล้วต่อหน้าเพื่อนฝูง และญาติๆ เธอบอกกับสื่อท้องถิ่นเมื่อวันพฤหัสบดีว่าการลงมติให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกกฎหมาย“หลายๆ คู่เข้ามาบอกกับเราว่า ขอบคุณที่เล่าเรื่องของคุณ ขอบคุณที่กล้าทำสิ่งที่คุณทำ เพราะสิ่งที่คุณทำให้เกิดขึ้นทำให้ฉันไม่ต้องเสียเวลาอีก 20 ปีข้างหน้า” หลายปีที่ต้องรับมือกับบาดแผลทางจิตใจที่เราเผชิญมา “เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับเรามาก” เธอกล่าว

คณะกรรมการพิเศษในรัฐนิวเซาท์เวลส์กำลังสืบสวนคดีจากความเกลียดชังคนรักเพศเดียวกันที่อยู่ในกระบวนการ และยังไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 จนถึง ค.ศ.2010

นักรณรงค์เพื่อสิทธิเกย์กล่าวว่าในช่วงทศวรรษ 1980 ความรุนแรงต่อกลุ่ม LGBTQ นั้น “มันไม่ยุติธรรมเลย”

นักรณรงค์เพื่อสิทธิเกย์กล่าว โรคเกลียดกลัวคนที่มีความหลากหลายทางเพศในช่วงแรกๆ ของการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS เป็นการเหมารวมโดยสิ้นเชิง การสอบสวนดังกล่าวถือเป็นการไต่สวนคดีประเภทนี้ครั้งแรกในโลก และจัดตั้งขึ้นในเดือนเมษายนตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการรัฐสภา มีกำหนดจะรายงานให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนหน้า

  • 60% ของชาวออสเตรเลีย เท่านั้นที่ลงคะแนนเห็นชอบให้มีการปฏิรูปการแต่งงาน
  • ในขณะที่ 38.4% ของผู้ตอบแบบสำรวจทางไปรษณีย์ในปี 2560 ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ
  • โดยเกือบ 80% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในออสเตรเลียมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียง

ยังคงมีการต่อต้านการแต่งงานของชาวเกย์จากผู้นำคริสตจักรบางแห่ง แต่วันครบรอบการลงคะแนนเสียงในปี ค.ศ.2017 กำลังได้รับการเฉลิมฉลอง และมันเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ และหลังจากที่มีกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกันนี้เกิดขึ้นในออสเตรเลีย ตัวเลขอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่ามีการแต่งงานเพศเดียวกันเกือบ 18,000 ครั้งนับตั้งแต่มีการแก้ไขกฎหมายมา นักรณรงค์กล่าวว่าออสเตรเลียยังมีงานที่ต้องทำเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางศาสนา และสิทธิของคนข้ามเพศ ซึ่งในปัจจุบันกว่า 33 ประเทศได้ออกกฎหมายให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ที่การสมรสของคู่รักเพศเดียวกันยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ชี้ให้เห็นว่าขบวนการขับเคลื่อนเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ยังคงเป็นการต่อสู้บนเส้นอีกยาวไกล แต่ปรากฏการณ์การเรียกร้อง #สมรสเท่าเทียม ที่เกิดขึ้นในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานี้ ก็นับเป็นสัญญาณอันดีที่ทำให้เห็นว่า การยอมรับ LGBTIQ กำลังเกิดความเท่าเทียมเพิ่มขึ้นในอีกหลายพื้นที่ทั่วโลก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า