ไขข้อข้องใจ PrEP กับ PEP เหมือน หรือต่างกัน ป้องกัน HIV ได้จริงหรือ

PrEP กับ PEP

PrEP กับ PEP เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ป้องกันเอชไอวี โดยการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่มีจุดประสงค์ และวิธีใช้ที่แตกต่างกัน PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสที่รับประทานทุกวัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับเชื้อเอชไอวี โดยสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 100% หากรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ PEP (Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสที่จะต้องรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังสัมผัสกับเชื้อ ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี โดยสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้กว่า 80% หากรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

PrEP กับ PEP คืออะไร ?

เพร็พ PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)

  • ยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนมีความเสี่ยง
  • กินทุกวัน ตรงเวลา วันละ 1 เม็ด
  • ควรใช่ร่วมกับถุงยางอนามัย จะได้ป้องกันทั้งเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • สามารถหยุดได้ เมื่อพบว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงแล้ว

เป็ป PEP (Post-Exposure Prophylaxis)

  • ยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือถุงยางอนามัยหลุด ถุงแตก ถุงรั่ว
  • จะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง
  • รับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน

PrEP และ PEP เหมาะกับใคร ?

เพร็พ PrEP

  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ชายผู้มีเพศสัมพันธ์กับชาย
  • ผู้ที่มีประวัติเคยรับบริการ PEP บ่อยๆ
  • ผู้ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

เป็ป PEP

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่ถุงยางอนามัยหลุด ถุงแตก ถุงรั่ว
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่เพิ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะที่ไม่ได้สติ
  • ผู้ที่มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

PrEP และ PEP ราคาเท่าไหร่ ?

เพร็พ PrEP

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศสิทธิประโยชน์ใหม่ที่สำคัญสำหรับประชาชนชาวไทย โดยได้บรรจุยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในบริการที่ครอบคลุมภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของเอชไอวีในประเทศไทย และส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมสำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง

ในประเทศไทย ยาเพร็พมีให้บริการอย่างแพร่หลายและสามารถเข้าถึงได้ผ่านผู้ให้บริการด้านสุขภาพ คลินิก และองค์กรต่าง ๆ โดยมีตัวเลือกดังนี้:

  • โรงพยาบาลประจำจังหวัด: โรงพยาบาลรัฐบาลในเมืองหลักและจังหวัดต่าง ๆ มีบริการยาเพร็พ
  • องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)
  • คลินิกเอกชน
  • หรือจองคิวออนไลน์ผ่าน Love2test ฟรีที่นี่

เป็ป PEP

  • PEP เป็นยาต้านฉุกเฉิน และมีราคาที่ต่างกัน ตามสถานบริการโดยราคาเริ่มต้นที่ 1200 – 20,000 บาท แล้วแต่ชนิดของยา และดุลพินิจของแพทย์

วิธีทานยา PrEP และ PEP

เพร็พ PrEP

  • Daily PrEP (เพร็พรายวัน)
  • ทานก่อนมีความเสี่ยง 7 วัน
  • ทานวันละ 1 เม็ด
  • ทุกวัน และทานให้ตรงเวลา

On Demand PrEP (เพร็พเมื่อต้องการ)

  • ทาน 2 เม็ดแรก ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2 – 24 ชั่วโมง
  • ทาน 1 เม็ด หลังทานยาครั้งแรก 24 ชั่วโมง
  • ทานอีก 1 เม็ด หลังทานยาครั้งแรก 48 ชั่วโมง

PEP  (เป๊ปยาต้านฉุกเฉิน)

  • ทานให้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง
  • ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลาเดิม
  • ทานติดต่อกันนาน 28 วัน

ผลข้างเคียงของ PrEP และ PEP

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis):

  • ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในช่วงเริ่มต้น ได้แก่ คลื่นไส้ ปวดหัว ท้องเสีย และอ่อนเพลีย ซึ่งมักจะดีขึ้นหลังจากร่างกายปรับตัวเข้ากับยา
  • ในบางกรณีอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและกระดูกได้ แต่พบได้ไม่บ่อยและมักเกิดกับผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานาน แพทย์จะติดตามการทำงานของไตอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงนี้

PEP (Post-Exposure Prophylaxis):

  • ผลข้างเคียงของ PEP คล้ายกับ PrEP เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย และปวดหัว
  • บางคนอาจรู้สึกเวียนหัวหรือมีปัญหาทางเดินอาหารในช่วงระยะเวลาที่ใช้ยา ซึ่งยานี้ต้องใช้เป็นเวลา 28 วัน

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สรุปคือ PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) และ PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV ที่มีประสิทธิภาพ PrEP ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ โดยต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในขณะที่ PEP ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หลังจากที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยต้องเริ่มภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัส ทั้งสองวิธีช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV แต่ควรใช้ร่วมกับการป้องกันอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า