ตรวจHIV ก่อนไปทำงานต่างประเทศ จำเป็น หรือไม่ และประเทศไหนบ้าง

ตรวจHIV

หลายคนคงมีความสงสัยว่า หากต้องการตรวจสุขภาพก่อนเดินทาง ไปทำงานต่างประเทศ จำเป็นต้อง ตรวจHIV ด้วย หรือไม่? ซึ่งสิ่งนี้ เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศทุกคน ในเกือบทุกที่ทั่วโลกไม่อาจเลี่ยงได้ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยตรง ไม่ว่าท่านจะเดินทางไปทำงานที่ประเทศไหน การตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพก่อนออกเดินทางถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ และเป็นการยืนยันว่ามีคุณมีสุขภาพโดยรวมที่ดี ไม่เป็นโรคต้องห้ามสำหรับบางประเทศ และบางลักษณะงาน อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่อาจมีขึ้นได้ระหว่างที่คุณทำงานในต่างแดนนั่นเอง

สารบัญ

1. ความสำคัญของการตรวจสุขภาพก่อน ไปทำงานต่างประเทศ

Love2Test

2. ทำไมจึงต้องตรวจสุขภาพก่อน ไปทำงานต่างประเทศ

3. ไปทำงานต่างประเทศ ต้องตรวจอะไรบ้าง?

4. ราคาค่าตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

5. รวมโรคต้องห้ามในการทำงานแต่ละประเทศ

6. สถานที่ตรวจสุขภาพก่อนไปทำงานต่างประเทศ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพก่อน ไปทำงานต่างประเทศ

การไปทำงาน หรือเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำหรับหลายๆ คน เนื่องจากมีค่าตอบแทนที่น่าพอใจ และอัตราการจ้างงานสูง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญในการเดินทางไปต่างประเทศ คือ สุขภาพ เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง อาจจะทำให้การเดินทาง และการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ มีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น ข้อสำคัญที่สุด คือ ควรที่จะต้องศึกษาก่อนว่า ประเทศที่คุณสนใจจะเดินทางไปนั้น มีโรคต้องห้ามใดๆ อยู่ หรือไม่ เพื่อที่จะได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ตรงกับโรคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของประเทศนั้นๆ เพราะการเดินทางไปยังต่างประเทศ หรือต่างถิ่นที่อยู่ไกลๆ อาจมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่คาดคิดได้

ซึ่งการไปทำงานต่างประเทศนั้น มีวิธีการที่ไปได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะไปติดต่อกับบริษัทจัดหางาน เพื่อจัดส่งไป หรือติดต่อกรมการจัดหางาน แม้กระทั่งคุณติดต่อหางานได้ด้วยตัวเอง เป็นต้น

ทำไมจึงต้องตรวจสุขภาพก่อน ไปทำงานต่างประเทศ

ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบที่สำคัญประการหนึ่งนั่นคือ การตรวจสุขภาพ หรือตรวจโรคก่อนไปทำงานยังประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สำหรับวัตถุประสงค์ของการตรวจสุขภาพก่อนไปทำงานต่างประเทศ มีดังนี้

เป็นการตรวจความพร้อมด้านสุขภาพ ก่อนที่เราจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยการตรวจสุขภาพจะทำให้ทราบว่าตัวเราเองมีสุขภาพที่แข็งแรง หรือไม่ และสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงทางด้านภาวะสุขภาพของเราได้ เช่น ทำให้ทราบว่าเรามีสุขภาพแข็งแรงพร้อมสำหรับการทำงานแต่ละประเภทงานได้ หรือไม่ เพราะหากสุขภาพไม่พร้อม ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ซึ่งหากเกิดการล้มป่วย หรือบาดเจ็บย่อมเป็นปัญหาต่อการทำงานได้ และที่สำคัญนายจ้างก็คงไม่อยากต้องมานั่งรับผิดชอบดูแล หากเราเกิดการเจ็บป่วยระหว่างที่ทำงาน หากมีอุปสรรคด้านสุขภาพ จะได้คิดวางแผนการชีวิตที่เหมาะสมต่อไป ว่าควรเดินทางไปทำงาน หรือไม่

สำหรับบางประเทศ การมีโรคประจำตัว จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน โดยเฉพาะหากงานที่ต้องทำนั้น เป็นงานที่ค่อนข้างใช้แรงงาน การมีโรคประจำตัว อาจจะส่งผลให้อาการกำเริบรุนแรง เมื่อใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ดังนั้น หากตรวจพบว่าบุคคลนั้นมีโรคประจำตัวอาจจะส่งผลต่อการไปทำงานได้ สำหรับโรคต้องห้ามของการตรวจสุขภาพไปต่างประเทศส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วย โรควัณโรค โรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และโรคเอดส์ หรืออาจจะเป็นโรคต้องห้ามอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขของแต่ละประเทศ หากไม่เป็นโรคต้องห้ามใดๆ ที่กำหนดไว้ ก็มีสิทธิ์เข้าไปทำงานในประเทศ นั้นๆ ได้

ไปทำงานต่างประเทศ ต้องตรวจอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการตรวจจะคล้ายกับการตรวจร่างกายทั่วไป คือ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดส่วนสูง วัดสายตา ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ เอ็กซเรย์ปอด และคัดกรองโรคต่างๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคส่วนมากที่ต่างประเทศเน้นย้ำให้ตรวจก่อนเดินทางไปทำงาน คือโรคติดต่อที่อาจแพร่กระจายได้ เช่น โรคเรื้อน เท้าช้าง พยาธิ โรคปอด วัณโรคปอด (ในระยะแพร่กระจาย) โรคซิฟิลิส และเอชไอวี

การฉีดวัคซีน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยป้องกันโรคต้องห้ามในแต่ละประเทศ

ในการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ คือ อีกวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ ตัวอย่าง เช่น ประเทศไต้หวัน จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) และให้ยาถ่ายพยาธิ นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิด ที่จำเป็นต้องฉีดหากต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยพิจารณาจากประเทศที่ไป กิจกรรม หรือลักษณะงานที่ทำ และระยะเวลาอยู่อาศัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ

  1. วัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับก่อนการเดินทาง (Required vaccine) เป็นไปตามกฏอนามัยระหว่างประเทศ (WHO IHR) โดยในปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือ วัคซีนไข้เหลือง ซึ่งผู้ที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศในแถบแอฟริกา และอเมริกาใต้ จำเป็นต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน
  2. วัคซีนที่แนะนำให้ใช้ในผู้เดินทางตามความเหมาะสม (Recommended vaccine for travelers) โดยแพทย์จะพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น ความเสี่ยงในการติดเชื้อในประเทศ หรือสถานที่ที่จะไป ระยะเวลาที่จะไป กิจกรรม หรือลักษณะงานที่จะไปทำ ตลอดจนต้องพิจารณาถึงตัวผู้เดินทาง และตัวโรคด้วย

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ

สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ใบ

รูปถ่ายสี หรือขาวดำ 1 นิ้วครึ่ง หรือ 2 นิ้ว 2 ใบ (หากต้องการใบรับรองแพทย์มากกว่า 1 ชุด กรุณาเตรียมรูปมาเพิ่ม 1 ใบ/ชุด)

เขียนข้อมูลเหล่านี้ลงใน สำเนาบัตรประชาชน ให้ชัดเจน

  • ประเทศที่จะไปทำงาน
  • เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ชื่อบริษัทที่รับทำงาน

ราคาค่าตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

โปรแกรมตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ จะมีราคาตั้ง แต่ 500-1,500 บาท ขึ้นอยู่กับรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น

ประเทศ รายการละเอียดการตรวจ ราคา (บาท)
ยุโรป
  1. CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด)
  2. UA (ตรวจปัสสาวะทั่วไป)
  3. STOOL (ตรวจอุจจาระ)
  4. VDRL (ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส)
  5. HIV ( ตรวจHIV)
  6. CXR (เอกซเรย์ปอด)
  7. ตรวจร่างกายโดยแพทย์
850
สหรัฐอเมริกา
  1. CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด)
  2. UA (ตรวจปัสสาวะทั่วไป)
  3. STOOL (ตรวจอุจจาระ)
  4. VDRL (ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส)
  5. CXR (เอกซเรย์ปอด)
  6. ตรวจร่างกายโดยแพทย์
560
เกาหลี
  1. CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด)
  2. Blood group , RH (หมู่เลือด)
  3. MALARIA (ตรวจหาเชื้อมาลาเลีย)
  4. UA (ตรวจปัสสาวะทั่วไป)
  5. STOOL (ตรวจอุจจาระ)
  6. HBsAg (ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี)
  7. VDRL,TPHA (ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส)
  8. CXR (เอกซเรย์ปอด)
  9. CHO (ตรวจไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด)
  10. SGOT,SGPT,GGT (ตรวจการทำงานของตับ)
  11. FBS (ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด)
  12. ตรวจการได้ยิน
  13. วัดสายตา ตรวจตาบอดสี
  14. Pregnancy Test ตรวจปัสสาวะหาการตั้งครรภ์ (ผู้หญิง)
  15. ตรวจร่างกายโดยแพทย์
1500

รวมโรคต้องห้ามในการทำงานแต่ละประเทศ

คุณควรที่จะต้องศึกษาก่อนว่า ประเทศที่สนใจจะเดินทางไปมีโรคต้องห้ามใดๆ อยู่ หรือไม่ เพื่อที่จะได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ตรงกับโรคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของประเทศนั้นๆ

ประเทศไต้หวัน (Taiwan)

  • กามโรค (ซิฟิลิส) รวมถึงได้รับการรักษาแล้ว ผล TPHA บวก
  • วัณโรค รวมถึงกรณีปอดเป็นจุด ปอดผิดปกติมีแผลเป็นเนื่องจากเคยเป็น และรักษาหายแล้ว
  • พยาธิ (ยกเว้นพยาธิในลำไส้จะอนุญาตให้อยู่รักษาในไต้หวันภายในเวลา 1 เดือน)
  • โรคเรื้อน

ประเทศฮ่องกง (Hongkong)

  • กามโรค (ยกเว้นได้รับการรักษาแล้ว)
  • วัณโรค
  • ไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • โรคเอดส์ (HIV)
  • โรคพยาธิ
  • การตั้งครรภ์
  • โรคอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง

เกาะไซปัน (Saipan)

  • โรคเอดส์ (HIV)
  • วัณโรค
  • โรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ

ประเทศซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates), ประเทศกาตาร์ (Qatar), ประเทศโอมาน (Oman), ประเทศคูเวต (Kuwait) และประเทศบาห์เรน (Bahrain)

กลุ่มโรคติดต่อ

  • โรคเอดส์ (HIV)
  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • โรคมาเลเรีย
  • โรคเรื้อน
  • วัณโรค, ฝีในปอด
  • กามโรค เช่น ซิฟิลิส

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ

  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคตับเรื้อรัง
  • โรคหัวใจ
  • โรคเครียด
  • โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • โรคมะเร็ง
  • โรคจิต, วิกลจริต
  • พิการอื่นๆ เช่น ตาบอดสี (สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถ) หูหนวก เป็นต้น
  • การตั้งครรภ์ (จะต้องมีการตรวจร่างกายคนงานหญิงทุกคนที่จะเข้าไปทำงาน)

ประเทศลิเบีย (Libya)

  • โรคซิฟิลิส ตรวจโดย VDRL
  •  ตรวจHIV (HIV)
  • การตรวจอุจจาระ โดยวิธี Stool RIB
  • การตรวจปัสสาวะ (Urine)
  • วัณโรค
  • โรคไวรัสตับอักเสบทุกประเภท (Hepatitis Virus)

ประเทศสิงค์โปร์ (Singapore)

  • กามโรค (ยกเว้นได้รับการรักษาแล้ว)
  • วัณโรคปอด
  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • โรคเอดส์ (HIV)

ประเทศกรีซ (Greece)

  • โรคเอดส์ (HIV)
  • อหิวาตกโรค (Cholera)
  • โรคมาลาเรีย หรือไข้จับสั่น (Malaria)

ประเทศอิสราเอล (Israel)

  • วัณโรค
  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • โรคซิฟิลิส
  • กามโรค
  • โรคเอดส์ (HIV)
  • โรคตาบอดสี

ประเทศญี่ปุ่น (Japan)

  • โรคระบาด และโรคติดต่อ
  • โรคไข้เลือดออกอีโบล่า (Ebola hemorrhagic fever)
  • โรคไข้เลือดออกไครเมียน – คองโก Crimean-Congo haemorrhagic fever (CCHF)
  • โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)
  • กาฬโรค (Plague)
  • โรคมาร์บูร์ก (Marburg virus disease)
  • โรคไข้ลัสสา (Lassa virus)
  • อหิวาตกโรค (Cholera)
  • โรคซาร์ล (Sars)
  • โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
  • โรคมาลาเรีย หรือไข้จับสั่น (Malaria)
  • โรคไข้เหลือง (Yellow fever)
  • มีปัญหาสุขภาพจิต

ประเทศเกาหลี (Korea)

  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • โรคเอดส์ (HIV)
  • กามโรค เช่น ซิฟิลิส
  • วัณโรค
  • กระดูกสันหลังคด, นิ้วมือนิ้วเท้าขาด, กระดูกแขนขาโก่ง
  • โรคหัวใจทุกชนิด
  • โรคคุดทะราด (Treponema pertenue)
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคประสาท (Psychiatric IIness)
  • โรคตาบอดสี, สายตาสั้น (ต้องไม่เกิน 400)
  • โรคหูตึง
  • โรคเลือด

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

  • โรคเอดส์ (HIV)
  • วัณโรค
  • โรคเรื้อน
  • กามโรค
  • โรคลมบ้าหมู ลมชัก (Epilepsy)
  • โรคประสาท (Psychiatric IIness)
  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • ผลการตรวจHIV พบ HIV Antibody (Elisa), HbsAg หรือ VDRL/TPHA
  • ติดยาเสพติด (Opiates/Cannabis)
  • การตั้งครรภ์ (จะต้องมีการตรวจร่างกายคนงานหญิงทุกคนที่จะเข้าไปทำงาน)

ประเทศบรูไน (Brunei)

  • วัณโรค
  • กามโรค
  • โรคเอดส์ (HIV)
  • โรคลมบ้าหมู ลมชัก (Epilepsy)
  • โรคประสาท (Psychiatric IIness)
  • โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C
  • การใช้ยาเกินขนาด เพื่อกระทำอัตวินิบาตกรรม (History of drug abuse)
  • โรคความดันสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหอบหืด
  • โรคมะเร็ง
  • โรคหัวใจ

ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย

  • ตรวจHIV
  • วัณโรค
  • โรคเรื้อน
  • โรคซิฟิลิส

สถานที่ตรวจสุขภาพก่อนไปทำงานต่างประเทศ

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยถือเป็น 1 ใน 4 สถานพยาบาลในกรุงเทพฯ ที่ได้รับการอนุมัติให้สามารถตรวจสุขภาพ และออกใบรับรองการตรวจสุขภาพได้ทุกประเทศทั่วโลก จึงสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าท่านจะต้องการเดินทางไปประเทศใดๆ ก็ตาม โดยทางโรงพยาบาลได้จัดตั้งคลินิกตรวจสุขภาพขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการได้รับความสะดวก และรวดเร็ว ตั้งอยู่ที่ 1873 ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 02-256-4000
  • ศูนย์ตรวจสุขภาพเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์บริการทางการแพทย์โรงเรียนเรวดี ตั้งอยู่ที่ 108 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 091-774-6463, 064-585-0941 และ 064-585-0940
  • ศูนย์ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ อาคาร 4 ชั้น 2 โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 โทร.02-514-4141 ต่อ 2312, 2315

กล่าวโดยสรุป โรคต้องห้ามในการทำงานของแต่ละประเทศนั้น มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน โดยทั่วไปแล้ว โรคต้องห้ามในการทำงานมักเป็นโรคติดต่อ หรือโรคเรื้อรังที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้

นอกจากนี้ ยังมีบางประเทศที่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจหาโรคต้องห้ามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย โดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน จะดำเนินการโดยแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่งจะพิจารณาเลือกการตรวจที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติงานครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า