PPE ย่อมาจาก Pruritic Papular Eruption in HIV คือ โรคตุ่มคันในคนที่เป็น HIV ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV มีอาการแสดงหลายระดับขึ้นกับระยะติดใหม่ๆดูแลร่างกายดีภูมิคุ้มกันยังดีอยู่ก็จะไม่มีอาการอะไร เหมือนคนปกติทั่วไป ไม่ตรวจเลือดก็จะไม่ทราบว่าผู้นั้นมีเชื้อ HIV อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากไม่รับประทานยาหรือปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ ภูมิคุ้มกันลดลงก็จะมีการติดเชื้อ โรคฉวยโอกาส ต่างๆ ทำให้เจ็บป่วยได้ ซึ่ง ตุ่ม PPE นั้น มักพบในคนป่วยHIV ที่มีอาการมากแล้ว โดยรอยโรค PPE อาจเป็นตัวสะท้อนบอกสถานะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้ คือการมี PPE อาจหมายถึงภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำแล้ว
ลักษณะ ตุ่มPPE
ลักษณะเป็นตุ่มคัน คล้ายยุงแมลงกัด มีรอยแดงอักเสบ รอยดำหลังการอักเสบ อาจมีหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ตามมาจากการเกาพบได้ทั้งในและนอกร่มผ้า โดยพบที่บริเวณนอกร่มผ้าได้บ่อยกว่าพบในระยะที่ภูมิคุ้มกันต่ำคืออาการของHIV เป็นค่อนข้างมากแล้วมีอาการเรื้อรัง มีอาการคันมากจึงพบมีรอยเกาและมีรอยดำ รอยแผลเป็นหลังเกาอยู่ มักเป็นที่แขนขา มากกว่าที่ใบหน้า
ตุ่ม PPE ติดต่อได้ไหม ?
PPE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่HIVเป็นโรคติดต่อ หากเราต้องพบหรือสัมผัสกับผู้ป่วย HIV ที่มีอาการ PPE ข้อควรระวัง คือไม่ควรสัมผัสเลือดหนองจากแผล เพราะเชื้อ HIV สามารถติดต่อทางสารคัดหลั่งต่างๆจากร่างกาย เข้าทางผิวหนังที่มีแผลของเราได้
หากติดเชื้อเอชไอวีแล้วไม่ได้รักษาจะเกิดอะไรขึ้น
- เชื้อไวรัสทำลายระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่ออแอ จนไม่สามารถต่อต้านไวรัสได้
- เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เอดส์ อาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้
ตุ่ม PPE วิธีป้องกัน
การป้องกันตุ่ม PPE นั้นสามารถทำได้โดยการตรวจเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ และเริ่มการรักษาด้วย ยาต้านไวรัส ทันทีที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติม เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
การรักษาตุ่ม PPE
- รับประทานยาต้านไวรัส
- ห้ามเกา
- รับประทานยาแก้แพ้
- ทายาสเตียรอยด์
- ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้ง
อย่างไรก็ตาม การรักษาตุ่ม PPE เป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ ควรรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณเชื้อในร่างกาย และป้องกันไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้