คุณแพ้ถุงยางอนามัยหรือเปล่า ?

ถุงยางอนามัยมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด ในปัจจุบัน มีการผลิต และพัฒนาถุงยางอนามัยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งที่มีสีสัน ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ มีกลิ่น และรสผลไม้ รวมทั้งมีรูปทรงที่แปลกตามากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป

ถุงยางอนามัยคือ?

ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะที่รองรับ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยฝ่ายชายเป็นฝ่ายใช้สวมครอบอวัยวะเพศของตนเอง  และเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับช่วยป้องกันการคุมกำเนิด และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต และพัฒนาถุงยางอนามัยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งที่มีสีสัน ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ มีกลิ่น และรสผลไม้ รวมทั้งมีรูปทรงที่แปลกตามากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป

ถุงยางอนามัยมีกี่ประเภท

  • ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา ข้อดี คือ ราคาถูก หาซื้อง่าย นอกจากคุมกำเนิดได้ดี และมีประสิทธิภาพแล้ว ยังป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ข้อเสีย คือ ต้องใช้ร่วมกันกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำเท่านั้น ห้ามใช้ร่วมกับน้ำมัน เช่น เบบี้ออยล์ โคลด์ครีม โลชั่น ปิโตรเลียมเจล น้ำมันพืชทุกชนิด ฯลฯ เพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อม เกิดการฉีกขาดได้ขณะใช้งาน
  • ถุงยางอนามัยที่ทำจากเยื่อธรรมชาติ ถุงยางอนามัยชนิดนี้ มีจำหน่ายอยู่ในตลาดไม่ถึง 5% โดยผลิตจากลำไส้ของแกะ มีข้อดีต่างจากถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพาราตรงที่สามารถใช้ได้กับสารหล่อลื่นทุกชนิด โดยไม่ทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพ ข้อเสียคือ หาซื้อได้ยาก ไม่ค่อยมีขายทั่วไป อีกทั้งลำไส้สัตว์ที่นำมาใช้ผลิต ยังมีรูพรุนเล็กๆ ที่มองไม่เห็น ซึ่งเชื้อไวรัสต่างๆ อาจจะผ่านเข้าไปได้ การคุมกำเนิดและป้องกันโรคจึงไม่ได้ผลดีเท่ากับถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา
  • ถุงยางอนามัยที่ทำจากสารสังเคราะห์ เช่น Polyurethane, Nitrile มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดประมาณ 15% ส่วนใหญ่จะเป็นถุงยางอนามัยของผู้หญิงที่จะทำจากสารประเภทนี้ ข้อดีคือ ไม่ทำแพ้และระคายเคืองง่าย สามารถใช้กับสารหล่อลื่นทุกชนิดได้เช่นกันกับถุงยางอนามัยที่ทำจากเยื่อธรรมชาติ แต่มีอายุการใช้งานที่นานกว่า นอกจากช่วยคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี คล้ายถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา ข้อเสียคือ เวลาเสียดสีมักมีเสียงดัง

ข้อดีของการใช้ถุงยางอนามัย

  • หาซื้อง่าย ไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ ถุงยางอนามัย มีแจกจ่ายตามโรงพยาบาลและที่สาธารณะทั่วไปไม่มีผลข้างเคียงในการใช้คุมกำเนิดเหมือนการทานยาคุมกำเนิดของผู้หญิง
  • ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะน้ำอสุจิ เชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่าง ๆ ไม่สามารถทะลุผ่าน ถุงยางอนามัย ได้ยกเว้น ถุงยางอนามัย ที่ผลิตมาจากลำไส้ของสัตว์เท่านั้น
  • สามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ฝ่ายหญิงมีประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่าฝ่าไฟแดงได้ (แต่ไม่แนะนำ)
  • ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกให้แก่ฝ่ายหญิง
  • ราคาถูกและปลอดภัยกว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นการสวมใส่ และใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ถึง 98%
  • มีหลายรูปทรง หลายกลิ่น หลายสี สามารถเพิ่มพูนความสุขระหว่างร่วมรักได้ง่าย

อาการแพ้ถุงยางอนามัยเกิดได้จากสองสาเหตุหลักๆ คือ

  • อาการแพ้สารเคลือบถุงยางอนามัย เช่น สารหล่อลื่นต่างๆ หากแพ้สารเคลือบ การเปลี่ยนยี่ห้อถุงยางอนามัยก็อาจจะทำให้อาการแพ้หายไปได้
  • อาการแพ้ยางพารา ในแรกเริ่มมักจะมีอาการคัน เจ็บ แสบ เป็นผื่นคล้ายลมพิษ หรือผื่นแดงหนาบริเวณผิวที่สัมผัสถุงยางอนามัย หากเป็นรุนแรง (ซึ่งพบได้น้อยมาก) ในบางคนจะมีอาการหายใจไม่ออก หลอดลมหดเกร็ง จนถึงขั้นเป็นลม หน้ามืด หรือชักได้

การเลือกซื้อถุงยางอนามัย ควรเลือกตามวิธีดังนี้

  • ควรอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เพราะการอ่านฉลากเพื่อให้ได้รู้ว่าสินค้าตัวนั้น ๆ ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ รวมถึงข้อมูลด้านอื่น ๆ เช่น วันหมดอายุ หรือ ต้องใช้ก่อนวันที่เท่าไหร่ เป็นต้น
  • การเลือกประเภทของถุงยาง สำหรับในประเทศไทยโดยทั่วไปเราจะสามารถพบเห็นขนาดของถุงยางอนามัยที่วางขายในขนาด 49 มม. 51 มม. และ 52 มม. ซึ่งการเลือกซื้อเพื่อมาใช้งานควรเลือกขนาดของถุงยางให้เหมาะสม เพื่อให้การป้องกันเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากเลือกไม่ถูกขนาดอาจทำให้ ถุงยางแตกได้
  • การบรรจุ และการจัดวางสินค้า ก่อนซื้อเราควรตรวจดูว่ากล่องที่บรรจุถุงยางอนามัยชำรุด หรือฉีกขาดบ้างหรือไม่ เพราะตัวสินค้าภายในอาจมีความชำรุด ซึ่งไม่ควรนำมาใช้งาน นอกจากนี้ตัวสินค้ายังต้องถูกเก็บรักษาให้พ้นจากแสงแดดอีกด้วย 
  • ในปัจจุบันมีการผลิตถุงยางในรูปแบบต่าง ๆ มากมายเพื่อให้เลือกใช้งาน แต่ยังมีอยู่หลายแบบที่ไม่ได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากคณะกรรมการอาหารและยา เราจึงควรคำนึงถึงจุดนี้ให้มาก ๆ เพราะแทนที่จะได้รับความปลอดภัยจากการมีเพศสัมพันธ์อาจจะได้รับอันตรายแทนได้

หากสงสัยว่าคุณเกิดอาการแพ้ถุงยางอนามัย ถ้าเป็นไม่มาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ หรือทายาแต่หากนานวันไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านผิวหนังหรือแพทย์เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะส่วนใหญ่ของคนที่มีอาการแสบๆ คันๆ ที่อวัยวะเพศหลังจากใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่ใช่อาการแพ้ถุงยางอนามัย แต่คือการติดเชื้อรา เชื้อเริม หรือติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่กำเริบ หรืออาการรุนแรงขึ้น หลังจากโดนเสียดสีได้

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า