เอชไอวี (HIV) ไวรัสร้าย ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน

เอชไอวี hiv ย่อ มา จาก Human Immunodeficiency Virus ไวรัสนี้ส่งผลกระทบ และเป็นปัญหาด้านสุขภาพทั่วโลก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี สาเหตุ การแพร่เชื้อ อาการ การป้องกัน และการรักษา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ บทความนี้มุ่งหวังเพื่อให้คุณมีความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับไวรัส hiv นี้

เอชไอวี(HIV) คืออะไร ?

เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus  แปลเป็นไทยว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ โดยมีลักษณะเป็นไวรัสที่สามารถส่งต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำเหลือง และน้ำนมแม่ หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ได้

เอชไอวี ติดต่อทางไหนได้บ้าง?

เอชไอวีสามารถติดต่อได้ ผ่านการสัมผัสเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือน้ำนมแม่ ช่องทางการติดต่อเชื้อเอชไอวี ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ทารกที่ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร หรือการให้นมแม่

ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1: ระยะเฉียบพลัน : ระยะนี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ หลังจากติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้ออาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต และผื่น ระหว่างระยะนี้ จำนวนเอชไอวีในเลือดสูงมาก และไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย
  • ระยะที่ 2: ระยะแฝง : ระยะนี้เกิดขึ้นหลังจากระยะที่ 1 เป็นเวลาหลายปี ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย ระหว่างระยะนี้ จำนวนเอชไอวีในเลือดต่ำกว่าในระยะที่ 1 แต่ไวรัสยังคงแพร่กระจายได้
  • ระยะที่ 3: เอดส์ : ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายอย่างรุนแรง ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส และโรคร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิต

เอชไอวีและเอดส์ ต่างกันอย่างไร ?

เอชไอวี (HIV) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus คือ ไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้

เอดส์ (AIDS) ย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome คือ ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรคต่างๆ ได้ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

สรุปง่ายๆคือ เอชไอวีและเอดส์ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้อง

การป้องกันเอชไอวี

hiv คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ชนิดหนึ่ง ฉะนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อได้เกือบทุกชนิด ทั้งยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย วิธีป้องกันอีกแบบหนึ่ง คือการทานยาที่เรียกว่า PrEP ซึ่งจะเป็นยาที่ทานดักไว้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยา PrEP นี้จะสามารถป้องกันได้แค่โรคเอชไอวีเท่านั้น หากอยากป้องกันให้ครบถ้วนก็ควรใช้ถุงยางอนามัยอยู่ดี​

จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดเอชไอวี

วิธีเดียวที่จะรู้อย่างแน่ชัด ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ คือ “การตรวจเอชไอวี” เพราะเอชไอวีปกติแล้วจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยทำให้หลายคนไม่รู้ตัว ฉะนั้นสำหรับใครที่ผ่านความเสี่ยงมา ควรรีบตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยเร็วที่สุด

การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลส่วนมากก็สามารถรักษาโรคเอชไอวีได้ด้วย ทางเลือกอื่นนอกจากโรงพยาบาลจะเป็น คลินิกเฉพาะทาง ด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย

การตรวจเอชไอวี มีประโยชน์มากมาย

ป้องกันการแพร่เชื้อ เอชไอวี

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือการสัมผัสเลือดหรือน้ำอสุจิของผู้อื่นที่ติดเชื้อ หากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็สามารถลดปริมาณเชื้อในร่างกายลงได้มาก ทำให้โอกาสในการแพร่เชื้อลดลงตามไปด้วย

วางแผนป้องกันตนเอง

ผู้ที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองแล้ว จะสามารถวางแผนป้องกันตนเองและคู่นอน จากการติดเชื้อได้ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น

รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมปริมาณเชื้อในร่างกายให้อยู่ในระดับต่ำได้ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ลดโอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี

ในประเทศไทย การตรวจเอชไอวีถือเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพที่ทุกคนสามารถรับการตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง โดยสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง

การรักษาเอชไอวี (HIV)

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถ รักษาเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้ผู้ป่วย มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือด ให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส (Antiretroviral therapy) ยาต้านไวรัส จะช่วยลดการทำลายเซลล์ CD4 และช่วยให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาต้านไวรัส อย่างต่อเนื่องไปตลอด จนกว่าจะมีวิธีรักษที่ดีกว่านี้ในอนาคต

บทความเกี่ยวกับเอชไอวี

เอชไอวี เป็นโรคที่รักษาได้แต่ยังไม่หายขาด ผู้ป่วยควรรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือด ช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตอยู่ได้นาน ไม่ต่างกับคนทั่วไป