เชื้อ เอชไอวี (HIV) คืออะไร ?
เชื้อ เอชไอวี (HIV) คืออะไร ?

เอชไอวี ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus แปลเป็นไทยว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นไวรัสที่สามารถส่งต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือด, น้ำอสุจิ, น้ำเหลือง, และน้ำนมแม่
ปกติเชื้อเอชไอวีเมื่อเข้าไปสู่ร่างกายแล้ว จะทำการจับตัวกับเม็ดเลือดขาวและฝังตัวเองลงในเม็ดเลือดขาว จากนั้นก็ใช้สารอาหารต่าง ๆ ในเม็ดเลือดขาวเพื่อทำการแบ่งตัวลูกหลานมันออกมา และทำซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ ตัวเม็ดเลือดขาวเมื่อไม่มีสารอาหารอยู่ภายในตัวก็จะค่อย ๆ ตายลงไปจนลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และด้วยธรรมชาติของเม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่หลักคือสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย หากไม่มีเม็ดเลือดขาว ก็ไม่มีตัวสู้กับเชื้อโรค ทำให้ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและติดเชื้อได้ง่าย ยิ่งติดเชื้อเอชไอวีไปนาน ๆ เม็ดเลือดขาวก็จะยิ่งน้อยลง ทำให้ติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติหลายหมื่นเท่า
เมื่อเม็ดเลือดขาวลดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงเกณฑ์อันตราย คน ๆ นั้นจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นเอดส์และจำเป็นต้องเข้ารักษาอย่างเร่งด่วน จึงสรุปได้ว่าสองโรคนี้ถึงคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะต้องใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี กว่าที่เอชไอวีจะกลายไปเป็นเอดส์
เรียนรู้เกียวกับเอชไอวี (HIV)
- เอชไอวี ติดต่อทางไหนได้บ้าง?
- อาการเอชไอวี มีอาการอะไรบ้าง?
- การป้องกันเอชไอวี?
- จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นเอชไอวี
- การรักษาเอชไอวี (HIV)
เอชไอวี ติดต่อทางไหนได้บ้าง?
เชื้อเอชไอวีสามารถส่งต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือด, น้ำอสุจิ, น้ำเหลือง, และน้ำนมแม่ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันได้อีกด้วยอาการเอชไอวี มีอาการอะไรบ้าง?

อาการเอชไอวี มีอาการอะไรบ้าง?
ด้วยธรรมชาติของเชื้อเอชไอวีที่เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวในร่างกายคนอย่างช้า ๆ ทำให้อาการของเอชไอวีเกิดขึ้นได้ยากเพราะร่างกายมนุษย์ตราบใดที่เม็ดเลือดขาวยังมีปริมาณที่พอเหมาะก็ยังสามารถต้านเชื้อโรคได้ปกติ แต่ในบางกรณีพิเศษ เช่น คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก่อนแล้ว หรือ คนที่ทานยาเพื่อลดภูมิคุ้มกันจะมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคเอชไอวีเฉียบพลันได้ เช่น
- มีไข้
- อ่อนเพลีย
- เจ็บคอ คออักเสบ
- ปวดศีรษะ
- มีผื่นคล้ายหัด
- ปวดตามข้อ
- มีแผลในช่องปาก อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก
- ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องเสีย ถ่ายเหลว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- คอแข็ง (ไม่สามารถก้มคอลงมาชิดหน้าอกได้)
หากราที่มีอาการดังกล่าวร่วมกันอย่างน้อยสามอาการขึ้นไป สามารถเข้าตรวจเลือดดูผลเอชไอวีได้ตามสถานพยาบาลทั่วไป แต่ทั้งนี้มีโอกาสน้อยมากที่คนร่างกายแข็งแรงดีจะมีอาการเหมือนอย่างที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นที่อาจพบร่วมกันผู้มีเชื้อเอชไอวีก็คือผื่น PPE (Pruritic Papular Eruption) แต่อาการนี้ส่วนมากจะเป็นในกรณีโรคเอชไอวีระยะสุดท้าย หรือคนที่เป็นเอดส์แล้ว
การป้องกันเอชไอวี?
เอชไอวีเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อได้เกือบทุกชนิดทั้งยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย วิธีป้องกันอีกแบบหนึ่งคือการทานยาที่เรียกว่า PrEP ซึ่งจะเป็นยาที่ทานดักไว้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยา PrEP นี้จะสามารถป้องกันได้แค่โรคเอชไอวีเท่านั้น หากอยากป้องกันให้ครบถ้วนก็ควรใช้ถุงยางอนามัยอยู่ดี


จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นเอชไอวี
เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ด้วยการตรวจเลือดที่ถือเป็นวิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าเรามีเชื้อหรือไม่ เพราะเอชไอวีปกติแล้วจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยทำให้หลายคนไม่รู้ตัวและเพิ่งรู้เมื่อถึงระยะอันตรายแล้ว ฉะนั้นสำหรับใครรู้ว่าเคยไปมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันมาก่อนก็ควรไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีไว้จะดีที่สุด
การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีสามารถทำได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลส่วนมากก็สามารถรักษาโรคเอชไอวีได้ด้วย ทางเลือกอื่นนอกจากโรงพยาบาลจะเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย
บทความเกี่ยวกับเอชไอวี
- วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อ HIV ทำได้อย่างไร
- การรักษาเอชไอวี
- การตรวจเอชไอวี (HIV) มีกี่วิธี
- ข้อดีของการตรวจเอชไอวี
การรักษาเอชไอวี (HIV)
รักษาเอชไอวีได้ไหม? อย่างที่หลายคนรู้กันดีคือเอชไอวีนั้นรักษาไม่หาย ที่ไม่หายเพราะการรักษาทุกวันนี้ทำได้แค่รักษาระดับในร่างกายเท่านั้น แต่เชื้อเอชไอวีสามารถแพร่เชื้อไปได้ถึงระดับดีเอ็นเอ ทำให้ยารักษาไม่หายขาด สิ่งที่ทำได้หากเป็นแล้วคือการกินยาไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะมีวิธีรักษาแบบที่สะดวกกว่าในอนาคต