STi โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันดีกว่ารักษา

โรคไวรัสตับอักเสบบี นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ในระดับประเทศไทย แต่ยังขยายรุกลามไปถึงเพื่อนบ้านในละแวกนี้ทั้งหมดอีกด้วย โดยล่าสุดมีประชากรไทยในปัจจุบันถึงประมาณร้อยละ 3 ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกาย

สาเหตุของ โรคไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี สามารถถ่ายทอดผ่านทางเลือด จากแม่สู่ลูก และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ปัญหาหลักของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีคือ ไม่รู้ตัวว่าเป็น หรือตนเองมีพาหะของเชื้อซึ่งสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ เนื่องจากส่วนน้อยจะแสดงอาการ และปัญหาของผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวนี่เอง เมื่อไปพบแพทย์ด้วยอาการโรคอื่น หากได้รับยาประเภทสเตียรอยด์จะมีฤทธิ์ไปกดภูมิร่างกาย และเมื่อหยุดยา โรคไวรัสตับอักเสบบีก็จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น

“ไวรัสตับอักเสบบีไม่ติดต่อกันผ่านทางน้ำลายหรือการจูบ”

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการเริ่มแรกของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี คือ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลือง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียผิดปกติ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลันส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเรื้อรัง บางคนอาจจะไม่แสดงอาการเลย หรือบางคนไวรัสอาจจะทำลายตับหรือแพร่กระจายอยู่ในตับเป็นเวลานาน กว่าจะแสดงอาการ ขึ้นอยู่กับร่างกายและสภาพแวดล้อมของแต่ละคน ซึ่งจำนวนไวรัสที่มีมากในตับจะก่อให้เกิดโรคตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด

วิธีการรักษา โรคไวรัสตับอักเสบบี

การรักษามี 2 วิธี ได้แก่

  • การฉีดยา เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน ฉีดเข้าใต้ผิวหนังอาทิตย์ละครั้ง และฉีดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี
  • การทานยา เพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและการแพร่กระจายของเชื้อ

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ฉีดวัคซีนป้องกัน ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือหากมีเพศสัมพันธ์ให้ป้องกันด้วยถุงยางอนามัยหรือยาเพร็พ (PrEP) เสมอ หากผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น โอกาสเป็นโรคตับแข็งก็ลดลงหรือสามารถหายจากอาการตับแข็งได้ และยังลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอีกด้วย

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ โรคไวรัสตับอักเสบบี

Love Foundation