เพศและอคติ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

พระเอก Wednesday และพื้นที่ของเพศและอคติในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

ประวัติ ฮันเตอร์ ดูฮาน หรือไทเลอร์ พระเอก Wednesday พื้นที่ของ เพศและอคติ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ของเนทฟลิกซ์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีกับซีรีย์ Wednesday แม่สาววันพุธในเวอร์ชัน 2022 ที่ได้แตรียมตัวกันมาเป็นเวลานานนอกจากความฮอตที่ทำให้เพลงประกอบฉากไอคอนนิคอย่าง bloody mary กลับมาติดชาร์ตกันอีกครั้ง ก็ยังผลักดันให้ ฮันเตอร์ ดูฮาน หรือ ไทเลอร์พระเอกของเรื่องนี้ได้รับความนิยมถล่มทะลายยอดฟอลโลเวอร์ไอจีพุ่งตามความนิยมของซีรีย์ไปติด ๆ

ฮันเตอร์ ดูฮาน เติบโตมากับสายละครเวทีตามการศึกษาของตนเองที่เลือกในความสนใจเกี่ยวกับด้านการแสดง ล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายปี ฮันเตอร์เล่าว่าเขาต้องทำงานทุกอย่างในลอสแองเจลิสเพื่อประทังชีวิตระหว่างหาการแคสงานแสดงไปด้วย จนกระทั้งได้มีโอกาสเฉิดฉายในเรื่อง Truth Be Told: The Poison of Truth ในบทวอร์เรน (ตอนเด็ก) จนโด่งดังเป็นพลุแตก และเปลี่ยนชีวิตจากนักแสดงที่ต้องตะลอนแคสงานต่องาน ให้กลายเป็นดาราท่านหนึ่งที่มีฝีมือในวงการการแสดง

ส่วนชีวิตจริงของหนุ่มฮันเตอร์เองนั้นก็ปังไม่แพ้กัน เพราะเพิ่งจัดงานแต่งงานกับแฟนหนุ่ม จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกกฎหมายในประเทศบ้านเกิดของตน พร้อมภาพสวีทที่ชวนทำเอาบรรดาแฟนคลับต้องคอมเม้นท์อวยพรกันอย่างออกรสออกชาติ รวมไปถึงเพื่อนร่วมวงการที่แสดงความยินดีให้กับความรักที่สุกงอมในครั้งนี้

เป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่คนในวงการสื่อหรือภาพยนตร์ไม่จำเป็นต้องปิดบังเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศของตัวเองด้วยหน้าที่การงานบังคับเหมือนกับสมัยแต่ก่อนที่ไม่ว่าคุณจะเป็นอะไรก็ตามแต่ แต่คุณต้องเก็บไว้ในใจเพื่ออาศัยฐานแฟนคลับในการทำงานต่อไป จนกระทั่งโลกเราหมุนมาถึงจุดที่ทุกคนสามารถรับทราบได้ว่าอาชีพนักแสดงเองก็เป็นแค่บทบาทสมมติอีกใบ คุณสามารถแสดงเป็น bottom (ฝ่ายถูกกระทำ) ได้ในขณะที่ชีวิตจริงคุณจะแต่งงานกับภรรยาและมีลูกถึงสองแล้วก็ตาม

ถึงแม้จะเกิดกระแสความหลากหลายขึ้นบนพื้นที่สื่อของทั่วโลก แต่เราก็ยังปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่ายังมีการเลือกปฏิบัติทางเพศเกิดขึ้นทั้งกับเพศทางเลือกและนักแสดงนำหญิงหลายท่านที่เคยออกมาให้ข้อมูลหลายอย่างเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเพราะมาจากเพศสภาพและรสนิยมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของพวกเขาเหล่านั้น โดยหนึ่งในนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นปัญหาอันดับต้น ๆ ของการทำงานร่วมกัน เกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ไม่สมเหตุสมผลและสู้ “นักแสดงนำชาย” ไม่ได้ เพราะพื้นที่ของคนทำสื่อ คนที่อำนาจในการตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย

ในประเทศไทยเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับรายได้ของนักแสดงชายและหญิงเหมือนกัน หากไม่นับดาราระดับตำนานอย่างอั้ม พัชราภาที่ได้ค่าตอบแทนต่อการเล่นละครเรื่องหนึ่งเป็นราคาเหมา 3 ล้านบาทต่อเรื่อง เมื่อไล่เรียงกันมาดูแล้วก็จะพบว่า ค่าตัวนักแสดงนำชายต่อนักแสดงนำหญิงนั้น สูงมากกว่ากันเกือบเท่าตัว ทั้ง ๆ ที่บทบาทหน้าที่ในขอบเขตการทำงานนั้นก็ใกล้เคียงกัน

ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะแค่ที่ประเทศไทยเท่านั้นแต่หลายที่ทั่วโลกเคยเกิดปรากฎการณ์ช็อคโลกกันมาแล้ว เช่นปรากฎการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อโซนี่ถูกแฮกฯและแสดงค่าตัวรายได้ของนักแสดงชายหญิงในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ซึ่งผลนี้ก็เคยทำให้ เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์’ เคยปรี๊ดแตกได้ออกมาเขียนบทความผ่านเว็ปไซต์ Lenny แสดงความไม่พอใจอคติทางเพศในวงการฮอลลีวูดโดยเฉพาะเรื่องค่าตัวนักแสดงที่เธอ ไม่ได้รับค่าตัวเท่าเทียมกับนักแสดงชายในหนังเรื่องดังกล่าว

แม้ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวจะได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากคนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่ก็ยังเกิดปัญหาค่าแรงไม่เท่ากันทั้ง ๆ ที่บทฉันก็แบกหนังเรื่องนี้ไม่แพ้เธอเสมอ หลายค่ายภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์พยายามปรับตัวด้วยการทำงานให้โปร่งใสมากขึ้น นักแสดงนำมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ค่าเหนื่อยและต่อรองได้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการที่จะปรับปรุงปฏิวัติวงการกันต่อไป

นอกเหนือจากค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันแล้ว “บทบาท” ในภาพยนตร์หลายเรื่องก็ยังซ้ำซากกับการสร้างค่านิยมผิด ๆ แก่ตัวละคร เช่น คนผิวดำต้องเป็นคนหยาบคาย เพศทางเลือกต้องเป็นคนตลก ผู้หญิงจะไม่เก่งเกินหน้าเกินตาผู้ชาย หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือการ “ไม่มีบท” ในภาพยนตร์เรื่องนั้นเลยด้วยซ้ำ แม้ค่าเฉลี่ยของความหลากหลายของตัวละครเพศทางเลือกจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปีตามรายงานสื่อชั้นนำของอเมริกา แต่สิ่งที่น่ากังวลคือตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา วงการฮอลิวูดไม่มีภาพยนตร์ที่มีตัวละครเป็นคนข้ามเพศเลยแม้แต่เรื่องเดียว

เรื่องนี้มองในมุมมองคนทั่วไปก็อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะมีตัวละครเป็นเพศทางเลือกหรือคนข้ามเพศ แต่หากเราลองสมมติว่าสิ่งที่หายไปเป็นชายจริงหญิงแท้ตามอุดมคติของคนในสังคมบางส่วน เราก็คงจะรู้สึกแปลกใจไม่น้อยเพราะการมีตัวตนแล้วถูกลบให้หายไป มันทำให้คนสังเกตเห็นง่ายมากกว่าการไม่ให้พื้นที่กันเลยตั้งแต่แรก หรือในบางครั้งแล้วมีบทบาทที่เหมาะสมแต่ไม่สามารถแคสนักแสดงตรงบทบาทได้ก็มี เช่น กรณีของภาพยนตร์เรื่อง The Danish Girl ที่มีพล็อตหลักเกี่ยวกับคนข้ามเพศ แต่ก็ยังเลือกที่จะแคสนักแสดงนำเป็นผู้ชายเพื่อรับบทบาทดังกล่าว แม้หลายคนจะบอกว่า เอ๊ดดี้ เรดเมย์นมีส่วนอย่างมากในการทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ดังถล่มทะลายก็ตามแต่ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้แต่มีบทบาทแล้วก็ยังไม่สามารถเป็นเจ้าของได้

วงการบันเทิงกับเรื่อง เพศและอคติ

ในปี 2023 ที่จะถึงนี้ จะเป็นอีกปีสำคัญที่วงการภาพยนตร์จะส่งผลกระทบถึงพื้นที่ของทุกคนในสังคมที่ถูกกดทับจากค่านิยมหรือความเชื่อผิด ๆ หลายคนคิดว่าการยัดตัวละครข้ามเพศหรือเพศทางเลือกนั้นทำไปเพราะเป็น “การตลาด” แต่ในอีกทาง “สื่อ” ก็ยังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อคนในสังคมอยู่ดี ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตามแต่ พื้นที่ของสื่อช่วยทำให้สังคมรับรู้ถึงการมีตัวตนของพวกเขา ทำให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้น ผู้เขียนเองก็คาดหวังว่าในปีใหม่ที่จะถึงนี้ จะมีภาพยนตร์ของเพศทางเลือกและคนข้ามเพศ เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่ความเข้าใจของกันและกันต่อไป

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา Cookies policy ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า