ยา PEP (เป๊ป) ทานภายใน 72 ชั่วโมง
ยา PEP (เป๊ป) Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสกรณีฉุกเฉิน หรือเรียกติดปากว่า ยาต้านฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังมีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อ โดยจำเป็นต้องกินยาเป๊ปให้เร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง เพื่อต้านไวรัสและลดโอกาสการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต้องกินยาเป๊ปอย่างต่อเนื่องติดต่อกันนาน 28 วัน
ยา PEP (เป๊ป) ประกอบด้วยยาชนิดไหนบ้าง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาเลือกใช้สูตรยาเป๊ป PEP ตามความเหมาะสมของแต่ละรายบุคคลซึ่งยาเป๊ปประกอบด้วยยาต้านไวรัสทั้งหมด 3 ชนิด ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรยาที่รวมทั้ง 3 รายการไว้ในเม็ดเดียวกัน หรือแยกเม็ด แล้วแต่แพทย์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้สะดวกขึ้น และลดปัญหาการลืมกินยา ป้องกันการดื้อยาในอนาคต
ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป PEP

ยาเป็ป ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี หรือ คาดว่าเพิ่งมีการสัมผัสเชื้อเอชไอวีโดยจะต้องปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องกินยาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่ควรได้รับยาเป๊ปมักมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่สวมถุงยางอนามัยแต่ถุงยางอนามัยแตก ฉีกขาด หลุด
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่เพิ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะที่ไม่ได้สติ
- ผู้ที่มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
ขั้นตอนการรับยาเป๊ป PEP ต้องทำอย่างไร
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ ยาเป๊ป ในการต้านไวรัสฉุกเฉิน จะต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการซักประวัติความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาความเหมาะสมในการจ่าย ยา PEP โดยจะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่าผู้รับยาไม่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีภายในร่างกาย ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจการทำงานของตับและไตเพื่อให้มั่นใจว่ามีความพร้อมรับยาเป๊ปจริงๆ ซึ่งในระหว่างหลังกินยาครบ 28 วัน ผู้รับยาจะต้องตรวจเอชไอวีอีกครั้งในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือน เพื่อยืนยันผล
ความแตกต่างของ ยาเพร็พ PrEP และ ยาเป๊ป PEP
PrEP | PEP |
---|---|
ยาต้านเชื้อไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ | ยาต้านเชื้อไวรัสหลังการสัมผัสเชื้อ |
ยับยั้งไม่ให้เกิดการแบ่งตัวของไวรัสในร่างกาย | สร้างระบบภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัส ก่อนเชื้อจะแพร่ในร่างกาย |
กินเฉพาะก่อนที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยง | ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสกับเชื้อ |
รับประกินทุกวัน วันละ 1 เม็ด | รับประกินวันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่อง 28 วัน |
เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี | เหมาะกับผู้ที่เพิ่งผ่านความเสี่ยงติดเชื้อ |
ยาเป๊ป PEP ต้องกินนานแค่ไหน
การกินยาเป๊ปต้องกิน 1 ครั้งทุกวัน ตามสูตรยาที่แพทย์กำหนดให้แต่ละบุคคล และต้องกินติดต่อกันนาน 28 วัน
ยาเป๊ป PEP ราคาเท่าไหร่
ยาเป็ป เป็นยาที่มีราคาแพง โดยราคาเริ่มต้นที่ 1200- 20000 บาท แล้วแต่ชนิของยา และดุลพินิจของแพทย์ และมีหลายองค์กรใช้บริการฟรี ตามกลุ่มเสี่ยงและโครงการ
ยา PEP (เป๊ป) มีผลข้างเคียงหรือไม่

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาเป๊ป PEP มักจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายรุนแรง เนื่องจากยามีความปลอดภัยต่อร่างกายและเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ซึ่งในกรณีของผู้ที่มีภาวะข้างเคียงจะมีอาการดีขึ้นหลังกินยาผ่านประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะแสดงอาการที่เห็นได้ชัด เช่น
- คลื่นไส้
- วิงเวียนศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- ท้องเสีย
ยาเป๊ป PEP สามารถป้องกันเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์
PEP มีความสามารถในการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีได้กว่า 80% หากได้รับยาอย่างทันท่วงที หรือภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากได้รับยาเร็วเท่าไหร่ ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพต่อร่างกายมากเท่านั้น และที่สำคัญขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้รับยาด้วยเช่นกัน
กรณีกินยาเป๊ป PEP ครบกำหนดแล้วจำเป็นต้องมาหาหมออีกหรือไม่?
เมื่อกินยาเป๊ป PEP ครบระยะเวลา 1 เดือนแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับยาจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังจากผ่านไป 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าการกินยาเป๊ปมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสเอชไอวีในร่างกายได้
กรณีกินยาเป๊ป PEP ไม่ครบตามกำหนดจะเสี่ยงติดเชื้อหรือไม่?
หากกินยาไม่ครบ 28 วัน หรือ มีบางวันที่ลืมกินยา จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส ลดน้อยลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง และหากมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนี้ ควรสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จนกว่าแพทย์จะทำการยืนยันผลการตรวจเลือด ว่าไม่มีการติดเชื้อ
ยาเป๊ป PEP ต้องกินตลอดไปหรือไม่

ตามที่กล่าวมาข้างต้นยาเป๊ปใช้สำหรับหลังมีความเสี่ยงได้รับเชื้อเอชไอวี ควรใช้ในกรณีฉุกเฉินหลังมีความเสี่ยงภายในเวลา 72 ชั่วโมงเท่านั้น หากมีการใช้ชีวิตที่ค่อนข้างเสี่ยงเป็นประจำ แนะนำให้ใช้ ยาเพร็พ PrEP เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อก่อนการสัมผัสเชื้อจึงจะเป็นวิธีที่ดีกว่า
ยา PEP ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ 100% ดังนั้น จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ